Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
Discussion Paper ล่าสุด
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
aBRIDGEd ล่าสุด
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
งานประชุมเชิงปฏิบัติการต่อไป
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
งานสัมมนาล่าสุด
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ
ป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
ประกาศล่าสุด
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
PIER Research Briefsbriefs
QR code
Year
2024
2023
2022
2021
...
/static/4da240fee413d01c5d2f290e46770691/41624/photo.jpg
20 ตุลาคม 2565
20221666224000000

กับดักหนี้ กับการพัฒนาเศรษฐกิจการเงินครัวเรือนฐานราก

กับดักหนี้ กับการพัฒนาเศรษฐกิจการเงินครัวเรือนฐานราก

เนื้อหาการบรรยายในงาน PIER Research Brief นี้ ถูกกลั่นกรองจากบทความ กับดักหนี้ กับการพัฒนาเศรษฐกิจการเงินครัวเรือนฐานราก

เศรษฐกิจการเงินของครัวเรือนฐานรากของไทยมีความซับซ้อน หลากหลาย และท้าทายไม่แพ้ครัวเรือนกลุ่มอื่น ๆ ของประเทศ งานวิจัยของ ดร.โสมรัศมิ์ จันทรัตน์ ดร.ลัทธพร รัตนวรารักษ์ สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ และ ผศ. ดร.ชญานี ชวะโนทย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ร่วมกับการสำรวจภาคสนามเพื่อศึกษาพัฒนาการทางเศรษฐกิจการเงินของครัวเรือนเกษตรกรไทยกว่า 6 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีปัญหาหนี้สินกันในวงกว้าง และศึกษากลไกการติดกับดักหนี้ ซึ่งกำลังจะกลายเป็นกับดักแห่งการพัฒนาของครัวเรือนกลุ่มนี้ โดยพบว่า 3 ปัญหาท้าทายการบริหารจัดการทางการเงินของครัวเรือนเกษตรกรไทย ได้แก่

  1. รายได้น้อย ไม่พอใช้จ่ายจำเป็น และไม่พอชำระหนี้
  2. รายได้ไม่สม่ำเสมอ ทำให้มีปัญหาสภาพคล่องในหลายเดือนต่อปี และ
  3. รายได้ทั้งในและนอกภาคเกษตรมีความไม่แน่นอนสูง และมีความเสี่ยงเชิงระบบที่อาจบริหารจัดการยาก เช่น ความเสี่ยงด้านภัยพิบัติและความเสี่ยงด้านราคาสินค้าเกษตร ซึ่งโดยเฉลี่ยเกิดขึ้นทุก ๆ 3 ปี และอาจเกิดบ่อยและรุนแรงขึ้นจากภาวะโลกร้อนและความไม่แน่นอนที่สูงขึ้นในอนาคต

โดยข้อมูลพฤติกรรมการเงินรายเดือนแสดงให้เห็นว่า ครัวเรือนเกษตรกรกว่า 18% มีรายได้ไม่พอจ่ายในทุก ๆ เดือน ขณะที่ 67% มีปัญหาสภาพคล่องระหว่างเดือน และมีเพียง 15% เท่านั้นที่ยังคงมีรายได้พอจ่ายทุกเดือน แต่ทุกกลุ่มก็มีรายได้ที่ไม่แน่นอน และเปราะบางสูง เครื่องมือทางการเงินยังไม่ตอบโจทย์ แต่กลับนำมาซึ่งปัญหาหนี้ โดยครัวเรือนเกษตรกรมีความตระหนักรู้ทางการเงินน้อย และยังไม่สามารถใช้การออมและประกันภัยมาช่วยจัดการปัญหาการเงินได้ ครัวเรือนส่วนใหญ่ออมน้อย และไม่ได้ออมเป็นสินทรัพย์ทางการเงิน ทำให้ผลตอบแทนต่ำ มีความเสี่ยงสูง หรือสภาพคล่องต่ำ การทำประกันภัยก็ยังไม่ครอบคลุมความเสี่ยงของรายได้ ที่ผ่านมาครัวเรือนจึงใช้สินเชื่อเป็นเครื่องมือหลักในการบริหารจัดการทางการเงิน และสามารถเข้าถึงสินเชื่อได้จากสถาบันการเงินที่หลากหลายทั้งในและนอกระบบ ทำให้กว่า 90% มีหนี้สิน มีหนี้เฉลี่ยปริมาณมากถึง 450,000 บาท และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โดยหนี้ที่เพิ่มขึ้นมาจากหนี้เดิมที่ชำระไม่ได้ และหนี้ใหม่ที่ก่อเพิ่มทุกปี แสดงให้เห็นว่าครัวเรือนเกษตรกรกำลังใช้สินเชื่อกันอย่างไม่ยั่งยืน

สามปัญหาสำคัญของระบบการเงินฐานราก ที่กำลังฉุดรั้งการใช้สินเชื่อเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของครัวเรือน คือ

  1. ปัญหาการขาดแคลนข้อมูล ทำให้สถาบันการเงินไม่รู้ศักยภาพและนิสัยที่แท้จริงของเกษตรกร และไม่มีข้อมูลระหว่างสถาบันการเงินด้วยกัน ทำให้การปล่อยสินเชื่ออาจยังไม่ทั่วถึงและตอบโจทย์ทุกกลุ่มได้ และที่สำคัญอาจไม่เหมาะสมกับความเสี่ยงและเกินศักยภาพของครัวเรือน งานวิจัยพบว่า ครัวเรือนยังมีความต้องการสินเชื่อเพิ่มโดยเฉพาะเพื่อทำเกษตรและลงทุน ขณะที่ 57% มีหนี้สินรวมจากทุกแหล่งสูงเกินศักยภาพในการชำระ และมีพฤติกรรม ‘การหมุนหนี้’ กันในวงกว้าง

  2. ปัญหาการออกแบบสัญญาชำระหนี้ ที่อาจไม่ได้ตั้งอยู่บนความเข้าใจปัญหาการเงินเกษตรกร จึงไม่ได้อยู่ในวิสัยที่จูงใจและเหมาะสมกับศักยภาพ ทำให้เมื่อกู้ไปแล้ว ครัวเรือนไม่สามารถชำระและปลดหนี้ได้จริง และ

  3. ปัญหาในการติดตามและบังคับชำระหนี้ โดยเฉพาะเจ้าหนี้รายใหญ่อย่างสถาบันการเงินของรัฐ ที่งานวิจัยพบว่าครัวเรือนมักจะเลือกผิดนัดเป็นอันดับแรก ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับสถาบันการเงินชุมชนหรือนอกระบบ ซึ่งอาจใกล้ชิดกับเกษตรกรและมีกลไกการบังคับชำระหนี้ที่เข้มข้นกว่า นอกจากนี้ เมื่อศึกษาสินเชื่อที่ใช้การค้ำประกันกลุ่มกว่า 303,779 กลุ่มทั่วประเทศ ซึ่งเคยเป็นนวัตกรรมของกลไกการบังคับชำระหนี้ในอดีต ก็พบว่ากลับมีปัญหาการชำระหนี้ในวงกว้าง และกำลังกลายเป็น ‘สินเชื่อแห่งความแตกแยก’

จากปัญหาเศรษฐกิจการเงินครัวเรือนและปัญหาของระบบการเงินฐานราก สู่กับดักหนี้และกับดักแห่งการพัฒนา งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงกลไกการติดกับดักหนี้ที่เริ่มจากปัญหาของครัวเรือนเกษตรกร การใช้เครื่องมือทางการเงินที่ไม่เหมาะสมในการจัดการกับปัญหาทางการเงิน ประกอบกับความไม่มีประสิทธิภาพของระบบการเงินฐานราก จนทำให้ครัวเรือนใช้สินเชื่อกันจนเกินศักยภาพและมีปัญหาหนี้ ซึ่งย้อนกลับมาทำให้ปัญหาเศรษฐกิจการเงินครัวเรือนรุนแรงขึ้น จนกลายเป็นวงจร นอกจากนี้ การติดกับดักหนี้ ทำให้ภูมิคุ้มกันของครัวเรือนลดลง ฉุดรั้งการเข้าถึงโอกาสในการเพิ่มศักยภาพ การพัฒนาคุณภาพชีวิต และกำลังกลายเป็นกับดักแห่งการพัฒนา

หากจะช่วยให้ครัวเรือนเกษตรกรไทยหลุดพ้นจากกับดักเหล่านี้และสามารถใช้เครื่องมือทางการเงินเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ต้องแก้ให้ครบวงจร ทั้งปัญหาระบบการเงินฐานราก ปัญหาหนี้ และปัญหาเศรษฐกิจการเงินครัวเรือน โดยมี 6 นโยบายที่ต้องเร่งทำอย่างเร่งด่วน คือ

  1. การแก้ปัญหาระบบการเงินฐานรากให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งต้องให้ความสำคัญกับการสร้างข้อมูล และใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการใช้ข้อมูลในระบบการเงินฐานราก การออกแบบเครื่องมือทางการเงินที่ตอบโจทย์การพัฒนาของครัวเรือนกลุ่มต่าง ๆ โดยเอาความเข้าใจปัญหาของครัวเรือนเป็นตัวตั้ง และการเพิ่มบทบาทสถาบันการเงินชุมชนซึ่งมีความใกล้ชิดกับเกษตรกรในการปิดช่องว่างการเข้าถึงทางการเงินอย่างทั่วถึงและยั่งยืน

  2. การแก้หนี้เดิมเพื่อให้ครัวเรือนสามารถปลดหนี้ได้ในที่สุด ซึ่งต้องให้ความสำคัญกับการมุ่งเป้าการปรับโครงสร้างหนี้ที่เหมาะสมกับศักยภาพและเป็นธรรม การสร้างแรงจูงใจ การสร้างความตระหนักรู้และมีตัวกลางมาช่วยเกษตรกรแก้หนี้ร่วมกับสถาบันการเงิน

  3. การเติมหนี้ใหม่อย่างทั่วถึง ตอบโจทย์และยั่งยืนขึ้น โดยใช้ข้อมูลมากขึ้น และให้ความสำคัญกับการทำประกันสินเชื่อ และการทบทวนรูปแบบของสินเชื่อที่ใช้การค้ำประกันกลุ่มให้ยั่งยืนขึ้น ซึ่งต้องทำไปพร้อม ๆ กับ

  4. การเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจให้ครัวเรือน

  5. การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันและความรู้ความเท่าทันทางการเงิน และที่สำคัญคือ

  6. การปรับเปลี่ยนนโยบายช่วยเหลือของรัฐเพื่อสร้างแรงจูงใจที่ถูกต้องและสอดคล้องกัน จากนโยบายเดิม ๆ ที่เน้นการช่วยเหลือระยะสั้น เช่น การพักหนี้ที่มีมาอย่างต่อเนื่อง โดยงานวิจัยพบว่าอาจสร้างแรงจูงใจในการชำระหนี้ที่บิดเบี้ยวไปเป็นนโยบายที่เน้นช่วยให้ครัวเรือนสามารถชำระและปลดหนี้ได้ในระยะยาว

Topics: DevelopmentAgricultural and Natural Resource EconomicsFinancial Institutions
Tags: household financehousehold debtdebt trapvicious cycleinformation asymmetryjoint liability loan
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความนี้เป็นความเห็นของผู้เขียน ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
โสมรัศมิ์ จันทรัตน์
โสมรัศมิ์ จันทรัตน์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
ลัทธพร รัตนวรารักษ์
ลัทธพร รัตนวรารักษ์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

โทรศัพท์: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

เงื่อนไขการให้บริการ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2568 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

เอกสารเผยแพร่ทุกชิ้นสงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

รับจดหมายข่าว PIER

Facebook
YouTube
Email