การพัฒนาทุนมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพการศึกษาและคุณภาพการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครอง การยกระดับคุณภาพการศึกษาปฐมวัยด้วยการอบรมเชิงปฏิบัติการในสถานที่จริง ซึ่งเป็นการอบรมครูที่เจาะจงแนวทางการสอนแบบใดแบบหนึ่งโดยเฉพาะ และมีรายละเอียดกิจกรรมและเนื้อหาที่ครบถ้วนสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสอนของครูปฐมวัยได้จริง ขณะเดียวกัน งานวิจัยจากต่างประเทศ พบว่า การพัฒนาการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครองผ่านการเยี่ยมบ้านก็เป็นกิจกรรมที่มีประสิทธิภาพช่วยให้ผู้ปกครองมีความพร้อมในการพัฒนาเด็กปฐมวัยมากขึ้น ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำเอาบทเรียนที่ได้จากงานวิจัยทั้งสองกลุ่มไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบนโยบายเพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพ
ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจาก University of Chicago ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ และผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย (Research Institute for Policy Evaluation and Design: RIPED) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เคยดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ที่ University of California at Santa Barbara งานวิจัยหลักประกอบไปด้วย ทฤษฎีสัญญา (Contract Theory) การพัฒนาทุนมนุษย์ เศรษฐศาสตร์มหภาค เศรษฐศาสตร์การพัฒนา และเศรษฐศาสตร์แรงงานและการศึกษา มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ เช่น Journal of Political Economy, Journal of Human Capital, Economics of Education Review, Journal of Economic Theory, Economic Theory และได้รับรางวัลป๋วย อึ๊งภากรณ์ สำหรับนักเศรษฐศาสตร์รุ่นใหม่ที่มีผลงานดีเด่น ประจำปี 2558 นอกจากนี้ ยังให้ความสนใจเกี่ยวกับการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยในฐานะนักวิจัย ดร.วีระชาติ ดำรงตำแหน่งหัวหน้าโครงการลดความเหลื่อมล้ำด้วยการศึกษาปฐมวัยที่มีคุณภาพ (RIECE Thailand) ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาและวิจัยเกี่ยวกับการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างสังคมที่มีความเสมอภาคในอนาคต
อาจารย์แพทย์ด้านเวชศาสตร์วัยรุ่น ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
เจ้าของเพจ “เลี้ยงลูกนอกบ้าน”
สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) และวุฒิบัตรกุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และประกาศนียบัตรแพทย์ประจำบ้านต่อยอดสาขาเวชศาสตร์วัยรุ่น จาก University of California, San Francisco (UCSF) ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอาจารย์แพทย์ด้านเวชศาสตร์วัยรุ่น หัวหน้าคลินิกวัยรุ่น ผู้อำนวยการคลินิกเพศหลากหลาย และผู้ช่วยคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
อาจารย์ประจำภาควิชาการหลักสูตรและการสอน และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและโท ด้านการศึกษา และระดับปริญญาเอกด้าน Environment, Development and Sustainability จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีประสบการณ์การสอน การวิจัยและร่วมเป็นคณะทำงานในด้านการพัฒนาครู นวัตกรรมด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน การศึกษาเพื่อความเสมอภาค การศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองประชาธิปไตยและพลเมืองโลก ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาสังคม และเครือข่ายทางวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเป็นที่ปรึกษาโครงการให้กับ UNESCO Bangkok, UNDP Thailand, UNICEF Thailand และ APCEIU, South Korea นอกจากนี้ ยังมีบทบาทในการขับเคลื่อนนโยบายทางการศึกษาของกรุงเทพมหานคร และทำหน้าที่นักการศึกษาสื่อสารประเด็นทางการศึกษาสู่สาธารณะอย่างต่อเนื่อง
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาเอกด้านเศรษฐศาสตร์จาก Cornell University มีความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์การพัฒนา งานวิจัยของ ดร.โสมรัศมิ์ ใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ และการวิจัยภาคสนามในการเข้าใจเศรษฐศาสตร์ของการพัฒนาที่ยั่งยืน การพัฒนาระบบการเงินไทย และการใช้นวัตกรรมทางการเงินเพื่อการพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกลุ่มเกษตรกร มีประสบการณ์วิจัยในประเทศกําลังพัฒนาหลายประเทศในเอเชียและแอฟริกา ดร.โสมรัศมิ์ เคยทำงานกับธนาคารโลก และเป็นอาจารย์ประจําที่ Australian National University และเป็นผู้ได้รับรางวัลนักเศรษฐศาสตร์ดาวรุ่ง ประจำปี 2560 จากสมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ และเป็นผู้ได้รับรางวัลป๋วย อึ๊งภากรณ์ สำหรับนักเศรษฐศาสตร์รุ่นใหม่ที่มีผลงานดีเด่น ประจำปี 2564
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
โทรศัพท์: 0-2283-6066
Email: pier@bot.or.th
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2568 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
เอกสารเผยแพร่ทุกชิ้นสงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license
รับจดหมายข่าว PIER