Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
Discussion Paper ล่าสุด
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
aBRIDGEd ล่าสุด
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
งานประชุมเชิงปฏิบัติการต่อไป
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
งานสัมมนาล่าสุด
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ
ป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
ประกาศล่าสุด
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
BOT Symposium 2023pages
Conferences
QR code
บทความที่ 2

พลวัตและความท้าทายของตลาดแรงงานไทย

หลายภาคส่วนได้คาดการณ์ว่าความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และนโยบายสร้างแรงจูงใจเพื่อดึงดูดอุตสาหกรรมเป้าหมายของไทย เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ จะส่งผลให้มีความต้องการแรงงานระดับปริญญาตรีขึ้นไปมากขึ้น ส่วนกลุ่มที่ทำงานที่เป็นงานลักษณะซ้ำ ๆ (routine) ก็มีความเสี่ยงที่จะถูกทดแทนด้วยเทคโนโลยี อย่างไรก็ดี ภาพของพลวัตค่าจ้างและการจ้างงานในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงการลงทุนในประเทศที่ชะลอตัวอย่างมาก ดูจะยังไม่ได้สะท้อนแนวโน้มดังกล่าว บทความนี้นำเสนอภาพของพลวัตตลาดแรงงานไทยในช่วงกว่า 30 ปีที่ผ่านมา และใช้ Knowledge Economy Ecosystem ของธนาคารโลก ซึ่งคำนึงถึงปัจจัยหลาย ๆ ด้าน เช่น โครงสร้างพื้นฐานด้านต่าง ๆ คุณภาพของภาครัฐ รวมถึงทุนมนุษย์ มาอธิบายว่าทำไมการลงทุนและอุปสงค์ต่อแรงงานทักษะสูงในไทยยังไม่เพิ่มสูงเท่าที่คาดหวังไว้

ผู้เขียนบทความ

dilaka

ดร.ดิลกะ ลัทธพิพัฒน์

นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส (การศึกษา) ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก
ธนาคารโลก

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านวิศวกรรมเครื่องกลจาก University College London สหราชอาณาจักร ปริญญาเอกด้านเศรษฐศาสตร์จาก Australian National University ประเทศออสเตรเลีย ดร.ดิลกะ รับผิดชอบงานวิจัยด้านพื้นฐานการศึกษา เช่น การบริหารแบบใช้โรงเรียนเป็นฐาน การบริหารจัดการการเงินของโรงเรียน ความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา ตลาดแรงงาน และการประเมินผลกระทบของโครงการ ก่อนร่วมงานกับธนาคารโลก ดร.ดิลกะ เคยทำงานเป็นนักวิจัยประจำโครงการด้านเศรษฐศาสตร์ที่สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย และได้รับทุนไปทำวิจัยที่ศูนย์เศรษฐศาสตร์แรงงาน ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ University of California, Berkeley

nada

ดร.นฎา วะสี

ผู้อำนวยการวิจัย
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระดับปริญญาเอกด้านเศรษฐศาสตร์จาก University of California, San Diego ก่อนที่จะมาร่วมงานกับสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ดร.นฎา เป็นอาจารย์ที่ Institute for Social Research, University of Michigan และมีประสบการณ์เป็นนักวิจัยที่ประเทศออสเตรเลีย ดร.นฎา มีความถนัดในเชิง Labor Economics, Health Economics และ Consumer Choice Models โดยผลงานตีพิมพ์ของ ดร.นฎา ส่วนใหญ่จะเป็นการใช้ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ร่วมกับเครื่องมือทางสถิติ เช่น งานศึกษาเรื่องการตัดสินใจทำงานของแรงงานใน Economic Journal และ Labour Economics และการพัฒนาแบบจำลองเพื่อเข้าใจการตัดสินใจของผู้บริโภคใน Journal of Applied Econometrics

nuttaporn

ณัฐพร อุดมเกียรติกูล

เศรษฐกรอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค
ธนาคารแห่งประเทศไทย

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านเศรษฐศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเศรษฐกรอาวุโส สำนักวิเคราะห์เศรษฐกิจด้านอุปทาน สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย มีความเชี่ยวชาญด้าน Labor and Demographic Economics

jirath

จิรัฐ เจนพึ่งพร

ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค
ธนาคารแห่งประเทศไทย

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปริญญาบัณฑิตด้านการประเมินราคาทรัพย์สิน และปริญญาโทด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวมทั้งปริญญาโทด้านรัฐประศาสนศาสตร์ และปริญญาโทด้านเศรษฐศาสตร์จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ คุณจิรัฐมีประสบการณ์และความสนใจด้านเศรษฐกิจจริง โดยเฉพาะเกษตรกรรม พลังงาน และ อสังหาริมทรัพย์ สำหรับผลงานด้านนโยบายเคยได้รางวัลลำดับสูงสุดจากวุฒิสภา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และ ธปท. ร่วมกับ 6 สถาบันการศึกษา

ผู้ร่วมเสวนา

buranin

ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ

ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านอุตสาหกรรมเกษตร จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาเอกด้านวิชาการจัดการ จากมหาวิทยาลัยศิลปากร ดร.บุรณิน ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัทอินโนบิก (เอเซีย) จำกัด (Innobic) กรรมการบริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) (TOP) และกรรมการบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (OR) ตลอดจนตำแหน่งหน้าที่สำคัญในองค์กรอื่น ๆ เช่น นายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย กรรมการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย รองประธานคณะกรรมการงานส่งเสริมสนับสนุนอุตสาหกรรม ที่ปรึกษา คณะกรรมการสถาบันวิจัยแสงซินโครตอน อนุกรรมการขับเคลื่อนเครือข่ายความร่วมมือการวิจัยและใช้ประโยชน์เทคโนโลยีแสงซินโครตอน

akkanut

อรรคณัฐ วันทนะสมบัติ

นักวิจัย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านวิศวกรรมเครื่องกล จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปริญญาโทด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ) และนิสิตปริญญาเอกด้านไทยศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คุณอรรคณัฐ มีความสนใจด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองของเศรษฐกิจดิจิทัลและงานในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม และผลกระทบด้านการคุ้มครองทางสังคม งานวิจัยในระยะหลังมุ่งสนใจการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในภาคบริการ การเงินและสถาบันการเงิน และภาคการผลิต นอกจากนี้ ยังเป็นที่ปรึกษาระดับประเทศด้านเศรษฐกิจสังคมสมานฉันท์ประจำประเทศไทยขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ และที่ปรึกษาระดับประเทศของประเทศไทยสำหรับการศึกษาระดับภูมิภาคเกี่ยวกับผลกระทบของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ต่อกลุ่มบุคคลชายขอบและกลุ่มผู้ด้อยโอกาส องค์กรอาเซียนเฉพาะสาขาด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนา

ผู้ดำเนินการเสวนา

suwatchai

สุวัชชัย ใจข้อ

ผู้อำนวยการ ฝ่ายบริหารข้อมูลและดาต้าอนาไลติกส์ ธนาคารแห่งประเทศไทย

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านการเงินและการธนาคาร จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาโทสาขาการเงินจาก Lancaster University สหราชอาณาจักร มีประสบการณ์ในการทำงานกับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ก่อนจะเข้ามาเป็นพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยในตำแหน่งงานที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจด้านอุปทาน เศรษฐกิจต่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สถิติเศรษฐกิจการเงิน และดาต้าอนาไลติกส์ เคยดำรงตำแหน่งในคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด และคณะอนุกรรมการวิชาการและกลั่นกรองการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ ปัจจุบันรับผิดชอบการวิเคราะห์ดาต้าอนาไลติกส์ ซึ่งมีการศึกษาการใช้ข้อมูลทางเลือกเพื่อติดตามตลาดแรงงาน และการเข้าถึงบริการทางการเงินของกลุ่มเปราะบาง

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

โทรศัพท์: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

เงื่อนไขการให้บริการ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2568 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

เอกสารเผยแพร่ทุกชิ้นสงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

รับจดหมายข่าว PIER

Facebook
YouTube
Email