Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
Discussion Paper ล่าสุด
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
aBRIDGEd ล่าสุด
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
งานประชุมเชิงปฏิบัติการต่อไป
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
งานสัมมนาล่าสุด
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ
ป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
ประกาศล่าสุด
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
BOT Symposium 2023pages
Conferences
QR code
บทความที่ 3

การสร้างคุณภาพชีวิตที่ดียามชราภาพ โดยเน้นผู้สูงวัยเป็นศูนย์กลาง

การเตรียมความพร้อมรับมือสังคมสูงวัยเป็นเรื่องสำคัญและเร่งด่วน ที่ต้องคำนึงถึงการดูแลกลุ่ม “ผู้สูงวัยในปัจจุบัน” ควบคู่ไปกับการรองรับกลุ่ม “ผู้สูงวัยในอนาคต” โดยยึดหลักคิดที่มีผู้สูงวัยเป็นศูนย์กลางและออกแบบบริบททางเศรษฐกิจสังคมต่าง ๆ ให้สอดรับ แม้ว่าที่ผ่านมารัฐบาลได้ขับเคลื่อนงานผู้สูงอายุหลายระดับ เช่น การจัดทำแผนระดับชาติและกลไกบูรณาการงานผู้สูงอายุ แต่สังคมไทยยังมีความเห็นที่ไม่ลงตัวในการให้ “คุณค่า” ต่อแนวคิดต่าง ๆ เช่น สิทธิขั้นพื้นฐานหรือการสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส ซึ่ง “คุณค่า” นี้เองที่เป็นหัวใจในการกำหนดทิศทางของนโนยบายคุ้มครองทางสังคม นอกจากนี้ ไทยยังมีความไม่ชัดเจนในบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและแนวทางการสร้างหลักประกันด้านรายได้ยามชราภาพของไทย ความท้าทายเหล่านี้ล้วนเป็นอุปสรรคที่ต้องก้าวข้ามเพื่อนำพาผู้สูงวัยไทยไปสู่เป้าหมายคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน

ผู้เขียนบทความ

worawet

ศ. ดร.วรเวศม์ สุวรรณระดา

อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านเศรษฐศาสตร์ จาก Osaka University ประเทศญี่ปุ่น เคยดำรงตำแหน่งอาจารย์และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ที่บัณฑิตวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์ Osaka University และเคยดำรงตำแหน่งบริหารเป็นคณบดีวิทยาลัยประชากรศาสตร์ และคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดร.วรเวศม์ ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติสาขาเศรษฐศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2562 ปัจจุบันยังดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ เป็นวาระที่สอง ดร.วรเวศม์ ทำงานวิจัยเชิงนโยบายเน้นประเด็นหลักประกันด้านรายได้สำหรับผู้สูงอายุ การคุ้มครองทางสังคม และการคลังสาธารณะ ผลงานวิจัยได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทั้งในและต่างประเทศ

ผู้ร่วมเสวนา

somchai

ดร.สมชัย จิตสุชน

ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

สำเร็จการศึกษาปริญญาเอกด้านเศรษฐศาสตร์ จาก University of British Columbia ประเทศแคนาดา เป็นนักวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์ที่มีผลงานวิจัยหลากหลายสาขา เช่น ด้านนโยบายเศรษฐกิจมหภาค การวางแผนเศรษฐกิจประเทศระยะยาว การค้าระหว่างประเทศ ความยากจน ความเหลื่อมล้ำ ระบบสวัสดิการและความคุ้มครองทางสังคม นอกจากนี้ ดร.สมชัย มีประสบการณ์ทำงานร่วมกับภาครัฐในหลากหลายฐานะ เช่น เป็น กรรมการนโยบายการเงิน กรรมการคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข กรรมการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการสังคมแห่งชาติ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในองค์การมหาชน ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมาธิการและคณะอนุกรรมาธิการของรัฐสภา รัฐบาล องค์กรอิสระ กรรมการธนาคารออมสิน

prasarn

ประสาน อิงคนันท์

กรรมการผู้จัดการบริษัท บุญมีฤทธิ์ มีเดีย จำกัด
เจ้าของเพจ “มนุษย์ต่างวัย”

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านศิลปะศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และปริญญาโทด้าน Interactive Multimedia จาก University of The Arts London ผ่านการทำงานด้านสื่อสารมวลชนมาอย่างต่อเนื่อง เชี่ยวชาญการผลิตเนื้อหาเกี่ยวกับประเด็นทางสังคม ผลงานที่เป็นที่รู้จักคือผู้ดำเนินรายการและผู้ควบคุมการผลิตรายการ คนค้นคน กบนอกกะลา นอกจากนี้ ยังเป็นวิทยากรและอาจารย์บรรยายหลักสูตรด้านการผลิตสื่อ และด้านการคิดอย่างสร้างสรรค์ให้กับองค์กรและสถาบันการศึกษาชั้นนำหลายแห่ง ทั้งนี้ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริษัท บุญมีฤทธิ์ มีเดีย จำกัด บริษัทสื่อที่เชื่อว่าความรู้และความคิดสร้างสรรค์ เมื่อผสมผสานกันอย่างลงตัวจะกลายเป็นเครื่องมือที่สามารถสร้างการเรียนรู้ ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจ เป็นตัวกลางในการประสานเชื่อมร้อย และขับเคลื่อนโน้มนำสังคม ไปสู่การสร้างสรรค์สังคมที่ดีงามร่วมกัน นอกจากนี้ ยังเป็นผู้ก่อตั้งเพจ มนุษย์ต่างวัย สื่อออนไลน์ที่มีผู้ติดตามกว่า 1.4 ล้านผู้ติดตาม และมีเป้าหมายสื่อสารประเด็นสังคมสูงวัยและเรื่องราวความสัมพันธ์ของคนต่างวัยเพื่อให้คนทุกวัยร่วมกันสร้างสังคมสูงวัยที่มีคุณภาพ

ผู้ดำเนินการเสวนา

suparit

สุพริศร์ สุวรรณิก

หัวหน้ากลุ่มงานวิจัย
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทด้านเศรษฐศาสตร์ จาก University of Michigan, Ann Arbor ภายใต้ทุนการศึกษาจากธนาคารแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยปริญญาโทด้านรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาตรีด้านการธนาคารและการเงิน (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คุณสุพริศร์ มีประสบการณ์การทำงานทั้งด้านเศรษฐกิจมหภาค นโยบายการเงิน และตลาดการเงินในธนาคารแห่งประเทศไทย งานด้านบริหารการเงินในธนาคารพาณิชย์ งานด้านวิชาการในสถาบันวิจัยต่างประเทศ และเป็นอาจารย์พิเศษของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีความสนใจในด้านการเงินครัวเรือน นโยบายสาธารณะ เศรษฐศาสตร์มหภาค และเศรษฐกิจดิจิทัล ปัจจุบัน คุณสุพริศร์ยังเป็นคอลัมน์นิสต์ประจำของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ คอลัมน์ “บางขุนพรหมชวนคิด” อีกด้วย

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

โทรศัพท์: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

เงื่อนไขการให้บริการ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2568 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

เอกสารเผยแพร่ทุกชิ้นสงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

รับจดหมายข่าว PIER

Facebook
YouTube
Email