Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
Discussion Paper ล่าสุด
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
aBRIDGEd ล่าสุด
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
งานประชุมเชิงปฏิบัติการต่อไป
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
งานสัมมนาล่าสุด
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ
ป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
ประกาศล่าสุด
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
BOT Symposium 2024pages
Conferences
QR code
บทความที่ 2

ธุรกิจ กับ "หนี้" สิ่งแวดล้อม

ธุรกิจต้องบริหารจัดการทรัพยากรข้ามช่วงเวลาภายใต้ข้อจำกัด การนำทรัพยากรในอนาคตมาใช้ในระดับที่เหมาะสม จะช่วยให้ธุรกิจดีทั้งในปัจจุบันและในอนาคตอย่างยั่งยืน อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมา ธุรกิจนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ขับเคลื่อนธุรกิจและสร้างผลกำไรในปัจจุบันมากเกินไป โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบในอนาคตจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งเกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของภาคธุรกิจ นำไปสู่ปัญหา “หนี้” ด้านสิ่งแวดล้อม บทความนี้พยายามทำความเข้าใจต้นตอของปัญหา “หนี้” ด้านสิ่งแวดล้อมและปัญหาการมองสั้นด้านสิ่งแวดล้อมของภาคธุรกิจ รวมถึงนำเสนอกลไกที่จะช่วยให้ธุรกิจมองยาวขึ้นด้านสิ่งแวดล้อม

ผู้เขียนบทความ

kannika

ดร.กรรณิการ์ ธรรมพานิชวงค์

หัวหน้ากลุ่มงานวิจัย สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาโทและปริญญาเอกด้านเศรษฐศาสตร์จาก University of Warwick ประเทศสหราชอาณาจักร ดร.กรรณิการ์ มีความเชี่ยวชาญในด้านเศรษฐศาสตร์การเงินระหว่างประเทศ เศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมและเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม โดยเฉพาะนโยบายการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและการพัฒนาสีเขียว ในด้านประสบการณ์ทำงาน ดร.กรรณิการ์ เคยเป็นนักวิชาการอาวุโสที่สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย และเคยเป็นอาจารย์ประจำ School of Economics and Finance ณ University of St Andrews

kanis

รศ. ดร.คณิสร์ แสงโชติ

อาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านเศรษฐศาสตร์จาก London School of Economics and Political Science สหราชอาณาจักร ปริญญาโทด้าน MBA จากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาเอกด้านการเงินจาก Kellogg School of Management, Northwestern University ประเทศสหรัฐอเมริกา ดร.คณิสร์ เป็นที่ปรึกษาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยด้านการพัฒนาความรู้ผู้ประกอบการและความรู้ผู้ประกอบวิชาชีพ มีส่วนร่วมในการวิจัยตลาดทุนกับ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุน และเป็นผู้เขียนหนังสือ “เงิน: อดีต ปัจจุบัน และอนาคต” และ “การเงินบนบล็อกเชน” งานวิจัยของ ดร.คณิสร์ เน้นการใช้ข้อมูลจุลภาค เช่น ข้อมูลบล็อกเชน ข้อมูลเครดิตบูโร และข้อมูลบริษัทจดทะเบียน เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการลงทุนและก่อหนี้จากมุมมองเศรษฐศาสตร์การเงิน โดยผลงานเผยแพร่ภายใต้สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุน และในวารสารวิชาการนานาชาติ

talatchanant

ถลัชนันท์ ตันติเวชวุฒิกุล

นักเรียนทุน ธนาคารแห่งประเทศไทย

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีภาควิชาการธนาคารและการเงิน จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และระดับปริญญาโท Master of Arts in Quantitative Economics จาก University of California, Los Angeles (UCLA) ประเทศสหรัฐอเมริกา ในด้านประสบการณ์การทำงาน เคยเป็นนักวิเคราะห์ความเสี่ยงสินเชื่อบัตรเครดิตที่ Citibank Thailand และเคยเป็นนักศึกษาฝึกงานด้าน Business and Sustainability Development ที่สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ปัจจุบันเป็นนักศึกษาฝึกงานอยู่ที่สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

ผู้ร่วมเสวนา

ekniti

ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ

อธิบดีกรมสรรพสามิต

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระดับปริญญาโทจาก University of Illinois at Urbana-Champaign ประเทศสหรัฐอเมริกา และระดับปริญญาเอกจาก Claremont Graduate University ประเทศสหรัฐอเมริกา ดร.เอกนิติ ผ่านการบริหารงานที่หลากหลายทั้งภาครัฐ เอกชน และองค์กรระหว่างประเทศ เช่น ประธานบริษัทการบินไทย ประธานธนาคารกรุงไทย Senior Advisor ของ World Bank และกรรมการบริหาร Tax Inspector without Border ของ OECD & UNDP ผลงานที่โดดเด่นในอดีต คือ เป็นผู้นำระบบ digital ในการยกระดับกรมสรรพากรและสรรพสามิตในการบริการประชาชน เช่น นำระบบ blockchain มาคืนภาษี vat ให้นักท่องเที่ยวเป็นที่แรกของโลก จนได้รับรางวัล Thailand Digital Transformation Award และ Digital Government Award in Asia & OCEANIA และในฐานะนักเศรษฐศาสตร์เคยเป็นผู้จัดตั้งกองนโยบายเศรษฐกิจมหภาคและออกแบบระบบการวิเคราะห์เศรษฐกิจและแบบจำลองเศรษฐกิจการคลังให้แก่กระทรวงการคลัง ในด้านวิชาการมีผลงานระดับนานาชาติ เคยเป็นอาจารย์พิเศษในหลักสูตร Graduation School of Management ที่ Kyoto University ประเทศญี่ปุ่น และมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศไทยหลายแห่ง นอกจากนี้ ดร.เอกนิติ มีผลงานหนังสือและสิ่งพิมพ์ทางวิชาการในวารสารชั้นนำมากมาย

dan

แดน ปฐมวาณิชย์

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน)

ในปี พ.ศ. 2560 คุณแดน ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการของบริษัทอาหารหลายแห่ง และยังได้ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) (NRF) โดยมีจุดประสงค์ที่จะเปลี่ยนแปลงระบบอาหารเพื่อความยั่งยืน ด้วยเหตุนี้ จึงมีการริเริ่มโครงการด้านความยั่งยืนอย่างมากมาย เพื่อปูทางไปสู่การเป็น "ธุรกิจสีเขียว" มากไปกว่านั้น NRF ยังได้เข้าไปเป็นพันธมิตรกับ UN Global Compact (UNGC) ด้วยความมุ่งมั่นและแรงขับเคลื่อนที่จะเปลี่ยนแปลงโลก ทำให้ คุณแดน ได้รับตำแหน่งเป็นคณะอนุกรรมการด้านสิ่งแวดล้อมของ Global Compact Network Thailand (GCNT) ซึ่งทำให้ NRF ให้เป็นหนึ่งบริษัทไทยชุดแรกที่ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการควบคุมก๊าซเรือนกระจกของโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส (ข้อตกลงปารีส) และยังเป็นผู้ผลิตอาหารแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองว่าเป็นบริษัทที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) อีกด้วย

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

โทรศัพท์: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

เงื่อนไขการให้บริการ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2568 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

เอกสารเผยแพร่ทุกชิ้นสงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

รับจดหมายข่าว PIER

Facebook
YouTube
Email