The Role of Caregiver Time Preferences on Child Time Preferences
เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2564 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ได้รับเกียรติจาก ดร.สุภารี บุญมานันท์ จากมหาวิทยาลัยมหิดล มาบรรยายในงาน PIER Research Exchange ออนไลน์ ในหัวข้อ “The Role of Caregiver Time Preferences on Child Time Preferences”
ในงานวิจัยชิ้นนี้ คณะผู้วิจัยได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง "อัตราคิดลด" (time preference หรือ discount rate)1 ของเด็กกับของผู้ดูแลเด็ก โดยใช้ข้อมูลจากทั้ง RIECE panel data และการวัดในภาคสนาม โดยสำหรับเด็ก (ช่วงวัยอนุบาล) คณะผู้วิจัยให้เลือกระหว่างการได้ของหนึ่งชิ้นในวันนี้ หรือของชนิดเดียวกันสองชิ้นในวันรุ่งขึ้น เพื่อเป็นมาตรวัดว่าเด็กคนน้ันมีหรือไม่มีความอดทน (discount rate ต่ำ) และสำหรับผู้ดูแลเด็ก ให้เลือกระหว่างเงิน 100 บาทในหนึ่งเดือนข้างหน้า หรือเงินมากกว่านั้นในอีกสองเดือนข้างหน้า จากนั้นนำคำตอบที่ได้มาคำนวณหา discount rate ของเด็กกับของผู้ดูแลเด็ก
คณะผู้วิจัยค้นพบว่า discount rate ของเด็กกับผู้ดูแลเด็กมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ ยังมีผลการศึกษาที่น่าสนใจอื่น ๆ ได้แก่
- เด็กที่มีพ่อหรือแม่เป็นผู้เลี้ยงดูหลักจะมีโอกาสที่จะเลือก "รอ" ของสองชิ้นในวันถัดไปมากขึ้น
- เด็กผู้หญิงมีโอกาสที่จะเลือก "รอ" มากกว่าเด็กผู้ชาย
- ความสัมพันธ์ระหว่าง discount rate ของเด็กกับผู้ดูแลเด็กมากขึ้นตามอายุของผู้ดูแล
- อ่านวิธีวัดอัตราคิดลดได้ใน aBRIDGEd No. 1/2021↩