Mobile Underclass: A Challenge to the Development of Digital Economy in Thailand
เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2564 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ้งภากรณ์ ได้รับเกียรติจาก ผศ. ดร.รุ่งเกียรติ รัตนบานชื่น จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ดร.อัครพัชร์ เจริญพานิช จากธนาคารแห่งประเทศไทย มาบรรยายในงาน PIER Research Exchange ออนไลน์ ในหัวข้อ “Mobile Underclass: A Challenge for the Development of Digital Economy in Thailand”
ในงานวิจัยชิ้นนี้ คณะผู้วิจัยได้ศึกษาถึงผลกระทบของทักษะความสามารถและความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (digital literacy) ในประเทศไทย ปัจจัยที่กำหนด digital literacy และนโยบายซึ่งอาจยกระดับ digital literacy ของคนไทย งานวิจัยพบว่า digital literacy มีความสำคัญต่อความกินดีอยู่ดีของคนไทย และประเทศไทยกำลังประสบปัญหา Mobile Underclass เพราะการเพิ่มขึ้นของการใช้อินเทอร์เน็ตในช่วงที่ผ่านมา ไม่ได้มาจากการใช้งานผ่านอุปกรณ์หลายประเภท (multimodal users) หรือใช้อินเทอร์เน็ตผ่านหลากหลายช่องทาง แต่เกิดจาการเพิ่มขึ้นของการใช้งานผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่เท่านั้น (mobile/tablet only users) แต่ปัญหาคือผู้ใช้เหล่านี้จะมีแนวโน้มที่จะมีระดับ digital literacy ต่ำกว่า multimodal users
นอกจากนี้ คณะผู้วิจัยได้นำเสนอว่าเพื่อที่จะยกระดับ digital literacy ของคนไทย ภาครัฐควรที่จะสนับสนุนให้มี multimodal users มากขึ้น โดยจะสังเกตได้ว่า multimodal users จะมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ (cognitive skills) ที่ดีกว่าผู้ใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่เท่านั้น ดังนั้นภาครัฐอาจส่งเสริมให้คนไทยมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ที่ดีขึ้น เพราะจะเป็นการเพิ่มจำนวน multimodal users โดยอัตโนมัติ ซึ่งอาจจะทำได้ด้วยสองวิธีพร้อม ๆ กัน คือ
- เพิ่ม cognitive tasks ในระบบเศรษฐกิจไทย โดยสนับสนุนให้มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้น
- ส่งเสริมให้คนไทยมีความพร้อมที่จะทำ cognitive tasks เมื่อโอกาสมาถึง