Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Building Thailand’s Beveridge Curve: New Insights of Thailand’s Labour Markets with Internet Job Platforms
Discussion Paper ล่าสุด
Building Thailand’s Beveridge Curve: New Insights of Thailand’s Labour Markets with Internet Job Platforms
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
aBRIDGEd ล่าสุด
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
World Bank x PIER Climate Finance Policy Forum
งานประชุมเชิงนโยบายล่าสุด
World Bank x PIER Climate Finance Policy Forum
Market Design in Practice
งานสัมมนาล่าสุด
Market Design in Practice
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ
ป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
ประกาศล่าสุด
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
PIER Research Exchangesexchanges
QR code
Year
2025
2024
2023
2022
...
/static/4a78512357d9a15fe2acb7a68af9194e/41624/cover.jpg
23 พฤษภาคม 2565
20221653264000000

Trust in Digital Financial Services

ห้องประชุม Auditorium / Microsoft Teams
Trust in Digital Financial Services

เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2565 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ได้รับเกียรติจาก Melissa Tan ซึ่งเป็น Research Fellow จาก Tech For Good Institute มานำเสนองานศึกษาในหัวข้อเรื่อง “Trust in Digital Financial Services” ร่วมกับ Ming Tan และ Matin Mohdari ในงาน Special PIER Research Exchange ซึ่งจัดในรูปแบบ hybrid ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยและทางออนไลน์

Ming Tan ได้แนะนำ Tech for Good ว่าเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะเป็น platform สำหรับงานวิจัยและการสร้างความร่วมมือเพื่อผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัล รวมถึงการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม อันจะนำไปสู่การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ทั่วถึง และเท่าเทียม ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Matin Mohdari ได้เล่าเพิ่มเติมถึงการเติบโตของ platform economy ในภูมิภาคนี้ และชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของความเชื่อมั่น (trust) ที่อาจเป็นอุปสรรคหนึ่งที่ส่งผลต่อการใช้บริการทางการเงินดิจิทัล (Digital Financial Services หรือ DFS) จึงเป็นที่มาของงานศึกษาชิ้นนี้ ที่ต้องการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในผู้ให้บริการทางการเงินแบบดิจิทัลทั้งธนาคารและสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร และความเชื่อมั่นดังกล่าวมีผลต่อการใช้บริการจริง (adoption) อย่างไร โดย Melissa Tan ได้เล่าในรายละเอียดของงานศึกษาว่า ใช้ข้อมูลจากการสำรวจออนไลน์ใน 6 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม และไทย รวมประมาณ 6,000 ตัวอย่าง ซึ่งประกอบด้วยคนที่เข้าไม่ถึง (unbanked) หรือเข้าถึงบริการทางการเงินเพียงบางอย่าง (underbanked) อยู่ประมาณร้อยละ 30 โดยบริการทางการเงินดิจิทัลที่ศึกษาได้แก่ e-wallet และบริการอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ e-wallet (การลงทุน ประกัน และการกู้ยืม)

เนื่องจากความเชื่อมั่นเป็นสิ่งที่วัดได้ยาก งานศึกษาจึงใช้เทคนิค Structural Equation Modeling ในการวัดความเชื่อมั่นต่อผู้ให้บริการ DFS จากปัจจัย 5 ด้าน ได้แก่ การสื่อสารกับลูกค้า ความสามารถของผู้ให้บริการ ความซื่อสัตย์และมีหลักกการ (integrity) ชื่อเสียง และแนวโน้มที่จะเชื่อมั่นในเทคโนโลยีตั้งแต่ต้น รวมถึงมีการพิจารณาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ด้วย เช่น เพศ อายุ การจ้างงาน และรายได้ ที่อาจมีผลต่อทั้งความเชื่อมั่นและการใช้บริการจริง

ผลการศึกษาพบว่า ผู้ใช้บริการมีความเชื่อมั่นในผู้ให้บริการ DFS ในระดับที่สูงในทั้ง 6 ประเทศ โดยปัจจัยที่ส่งผลบวกต่อความเชื่อมั่นของผู้ใช้งานทั้ง 6 ประเทศ คือ ความซื่อสัตย์และมีหลักการของผู้ให้บริการ การสื่อสารต่อเนื่องเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ และทิศทางในการทำธุรกิจ รวมถึงการตอบกลับลูกค้าที่รวดเร็ว แต่ในกรณีของไทย ชื่อเสียงและความสามารถของผู้ให้บริการมีความสำคัญต่อความเชื่อมั่นเช่นกัน นอกจากนี้ ผลวิจัยยังพบว่าความเชื่อมั่นต่อผู้ให้บริการ DFS ส่งผลบวกต่อการใช้บริการทางการเงินแบบดิจิทัลในหลายประเทศ แต่ผลในกรณีของไทยกลับพบว่าความเชื่อมั่นที่สูงขึ้นส่งผลทางลบต่อการใช้บริการทางการเงินในกลุ่มที่ไม่ใช่ e-wallet ซึ่งเป็นประเด็นที่จะต้องศึกษาเพิ่มเติมต่อไป ทางด้านปัจจัยทางประชากรศาสตร์ งานศึกษานี้พบว่าระดับความรู้ทางการเงิน (financial literacy) และความรู้ทางดิจิทัล (digital literacy) เป็น 2 ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อทั้งความเชื่อมั่นและการเข้าใช้บริการ ผลการศึกษาที่ได้จึงมีประโยชน์ต่อทั้งผู้ออกนโยบายด้านการพัฒนาและการเข้าถึงบริการทางการเงิน และผู้ให้บริการที่อยากเพิ่มฐานลูกค้า

หลังจบการบรรยาย ได้มีช่วงถามตอบแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่น่าสนใจหลายประการทั้งจากผู้เข้าร่วมในห้องสัมมนาและจากทางออนไลน์ เช่น ปัจจัยที่มีผลต่อความเชื่อมั่นแต่ละด้านอาจจะมีความสัมพันธ์กันเอง ภูมิทัศน์ด้านการเงินดิจิทัลอาจแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ และความเชื่อมั่นในรัฐบาลและหน่วยงานกำกับดูแล เช่น การรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูล น่าจะส่งผลกระทบต่อการเลือกใช้บริการทางการเงินดิจิทัลด้วย

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

  • เอกสารนำเสนอ
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความนี้เป็นความเห็นของผู้เขียน ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
Melissa Tan
Melissa Tan

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

โทรศัพท์: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

เงื่อนไขการให้บริการ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2568 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

เอกสารเผยแพร่ทุกชิ้นสงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

รับจดหมายข่าว PIER

Facebook
YouTube
Email