Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
Discussion Paper ล่าสุด
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
aBRIDGEd ล่าสุด
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
งานประชุมเชิงปฏิบัติการล่าสุด
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
งานสัมมนาล่าสุด
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ
ป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
ประกาศล่าสุด
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
Policy Forumsforums
QR code
Year
2025
2022
2021
2020
...
/static/69f36cef650f052fa3e7c53bbdbbef4f/e9a79/cover.png
12 พฤศจิกายน 2563
20201605139200000
Restructuring the Regional Economy Series

การสร้างงานและพัฒนาทักษะแรงงานในบริบทภาคอีสาน

สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ธนาคารแห่งประเทศไทย
บทสรุปผู้บริหาร
  • ภาคอีสานเป็นแหล่งกำลังแรงงานสำคัญของประเทศ เนื่องจากมีประชากรมากถึง 1 ใน 3 ของประเทศ โดยประชากร 9.3 ล้านคนอยู่ในวัยทำงาน ซึ่งกว่าครึ่งหนึ่งทำงานในภาคเกษตรกรรม นอกจากนี้ แรงงานจำนวนมากยังกระจายไปทำงานในหัวเมืองหลักต่าง ๆ ของประเทศ ดังนั้น แรงงานอีสานจึงมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

  • ตลาดแรงงานอีสานเผชิญความท้าทายเชิงโครงสร้างมากขึ้น สัดส่วนแรงงานสูงอายุและผู้อยู่นอกกำลังแรงงานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผลิตภาพแรงงานต่ำ นอกจากนี้ ทักษะแรงงานในปัจจุบันยังไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยตลาดมีความต้องการแรงงานสายอาชีพสูง ในขณะที่แรงงานที่เข้าสู่ตลาดส่วนใหญ่เป็นระดับอุดมศึกษา แรงงานส่วนหนึ่งจึงต้องทำงานต่ำกว่าระดับ

  • สถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้แรงงานจำนวนมากถูกเลิกจ้างและย้ายกลับถิ่นภูมิลำเนา แต่ความสามารถของภาคเกษตรกรรมของภาคอีสานในการดูดซับแรงงานลดลงเมื่อเทียบกับในอดีต เนื่องจากรูปแบบการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเปลี่ยนไปจากเดิมที่เกษตรกรหรือครอบครัวเป็นเจ้าของที่ดินกลายเป็นผู้เช่าหรือรับจ้างทำการเกษตรและส่วนใหญ่ยังเป็นเพียงผู้ผลิตต้นน้ำ

  • การยกระดับตลาดแรงงานอีสานเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อรองรับความท้าทายทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยในระยะสั้น

    1. ปรับมาตรการช่วยเหลือเยียวยาเป็นมาตรการสร้างงานและพัฒนาทักษะแรงงานที่มีความยืดหยุ่น สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น
    2. ประชาสัมพันธ์ platform การจ้างงานและพัฒนาทักษะของภาครัฐ “ไทยมีงานทำ” ให้ทั่วถึง และปรับข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะตำแหน่งงานในภูมิภาค
    3. เพิ่มบทบาทหน่วยงานรัฐในท้องถิ่นเพื่อความคล่องตัวและความรวดเร็ว

    ส่วนในระยะยาว

    1. ให้ความสำคัญกับการพัฒนา soft skills ควบคู่ไปกับ hard skills โดยเฉพาะทักษะในการเรียนรู้ด้วยตัวเอง
    2. ให้ความสำคัญกับการสร้าง job creators และ change agents เปลี่ยนจากการบ่มเพาะคนให้หางานทำ เป็นการบ่มเพาะคนเพื่อสร้างงาน
    3. เปลี่ยนวัฒนธรรมการรับรู้ของสังคมมาให้คุณค่ากับการศึกษาในสายอาชีพที่ตลาดแรงงานมีความต้องการจ้างงานสูงมากขึ้น
    4. มีแผนแม่บทการพัฒนาเมืองที่ชัดเจน เพื่อให้สามารถประเมินความต้องการแรงงานและทักษะที่จำเป็นในแต่ละสาขาเศรษฐกิจในอนาคตได้ ซึ่งจะช่วยในการวางแผนการ reskill/upskill แรงงานในท้องถิ่นให้ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด

โครงสร้างและผลกระทบจากโควิด-19 ต่อตลาดแรงงานอีสาน

  • ภาคอีสานเป็นแหล่งกำลังแรงงานที่สำคัญของประเทศ เนื่องจากเป็นภูมิภาคที่มีจำนวนประชากรมากที่สุด (คิดเป็น 1 ใน 3 ของประเทศ) โดยประชากรกว่า 9.3 ล้านคนอยู่ในวัยทำงาน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานในภาคเกษตรกรรม (ร้อยละ 52) รวมถึงภาคบริการ (ร้อยละ 20) ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในระยะหลัง นอกจากนี้ แรงงานอีสานจำนวนมากยังกระจายไปทำงานในภูมิภาคอื่น ๆ รวมถึงในต่างประเทศ เนื่องจากประเภทของงานมีความหลากหลายและได้รับรายได้สูงกว่าเมื่อเทียบกับการทำงานในท้องถิ่น

  • ตลาดแรงงานอีสานเผชิญความท้าทายเชิงโครงสร้างมากขึ้น สะท้อนจากสัดส่วนแรงงานสูงอายุและผู้อยู่นอกกำลังแรงงานที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผลิตภาพแรงงานอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะในภาคเกษตรกรรมที่มีสัดส่วนแรงงานสูงอายุมากกว่าภาคเศรษฐกิจอื่น ส่วนหนึ่งเนื่องจากภาคอีสานมีปัญหาการเข้าถึงแหล่งน้ำ พื้นที่ชลประทานน้อย ต้องพึ่งพาน้ำฝน ทำให้ภาคเกษตรกรรมไม่สามารถเป็นแหล่งจ้างงานที่ต่อเนื่องได้ แรงงานหนุ่มสาวจึงเคลื่อนย้ายไปทำงานในภูมิภาคอื่น

  • ทักษะของแรงงานอีสานในปัจจุบันยังไม่ตรงความต้องการของตลาด (skill mismatch) ภาคเอกชนต้องการแรงงานที่มีทักษะวิชาชีพระดับ ปวช./ปวส. สูง ขณะที่แรงงานที่เข้าสู่ตลาดส่วนใหญ่กลับเป็นระดับอุดมศึกษา ส่งผลให้แรงงานส่วนหนึ่งต้องยอมทำงานต่ำกว่าระดับ สาเหตุสำคัญเกิดจากวัฒนธรรมและการรับรู้ของสังคมที่ให้คุณค่ากับการเรียนในระดับอุดมศึกษามากกว่าสายอาชีพ นอกจากนี้ สถาบันการศึกษายังมีข้อจำกัดในการปรับรูปแบบหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

  • สถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อทุกภาคธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ ทำให้แรงงานจำนวนมากถูกลดชั่วโมงการทำงานหรือถูกเลิกจ้าง และส่วนใหญ่ย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนา ซึ่งเป็นการย้ายแรงงานที่มีคุณภาพจากเมืองใหญ่กลับสู่ท้องถิ่น เป็นโอกาสให้ผู้ประกอบการในท้องถิ่นได้แรงงานที่มีคุณภาพและประสบการณ์มาช่วยพัฒนาธุรกิจ อย่างไรก็ตาม การสร้างงานและรายได้ที่เหมาะสมเพื่อรองรับแรงงานกลุ่มดังกล่าวถือเป็นความท้าทายในระยะต่อไป

  • ความสามารถของภาคเกษตรกรรมในการรองรับแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจลดลงเมื่อเทียบกับในอดีต โดยในปี 2540 ภาคเกษตรกรรมมีบทบาทสำคัญในการรองรับแรงงานที่ตกงานจากวิกฤตเศรษฐกิจ แต่บทบาทดังกล่าวในปัจจุบันลดลง เนื่องจากรูปแบบการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเปลี่ยนไปจากเดิมที่เกษตรกรหรือครอบครัวเป็นเจ้าของที่ดินกลายเป็นผู้เช่าหรือรับจ้างทำการเกษตรมากขึ้น และส่วนใหญ่ยังเป็นเพียงผู้ผลิตต้นน้ำ

  • แม้โควิด-19 จะทำให้แรงงานว่างงานเพิ่มขึ้น แต่หลายธุรกิจกลับมีปัญหาขาดแคลนแรงงาน เนื่องจาก

    1. ข้อมูลตำแหน่งงานว่างและความต้องการสมัครงานยังไม่ทั่วถึง แม้จะมีการพัฒนา platform “ไทยมีงานทำ” เพื่ออำนวยความสะดวกในการจับคู่ตำแหน่งงานและความต้องการสมัครงานระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง แต่การประชาสัมพันธ์ในภูมิภาคยังไม่ทั่วถึง ตำแหน่งงานในต่างจังหวัดมีน้อยและไม่เป็นปัจจุบัน
    2. แรงงานหันไปประกอบอาชีพอิสระมากขึ้น โดยเฉพาะแรงงานรุ่นใหม่ที่มีทักษะด้านดิจิทัล และ
    3. แรงงานตกงานบางส่วนสมัครใจว่างงาน เนื่องจากต้องการใช้สิทธิประโยชน์ทดแทนการว่างงาน (ระยะเวลา 6 เดือน)

ข้อเสนอแนะเพื่อยกระดับตลาดแรงงานอีสาน

ระยะสั้น

  • ปรับมาตรการช่วยเหลือเยียวยาเป็นมาตรการสร้างงานและพัฒนาทักษะแรงงาน ซึ่งภาครัฐควรให้แรงจูงใจหรือสิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกอบการ เพื่อให้เกิดการจ้างงานในท้องถิ่น เช่น การลดหย่อนภาษีให้ผู้ประกอบการที่มีการจ้างงานเพิ่ม และให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะแรงงานตามความต้องการของท้องถิ่น (bottom-up) โดยภาครัฐ สถาบันการศึกษา และผู้ประกอบการควรร่วมกันพัฒนาหลักสูตรและแนวทางการสอนให้สอดคล้องกับภาวะปัจจุบันและความต้องการของตลาดแรงงาน

  • มาตรการสร้างงานในระยะสั้นควรมีความยืดหยุ่นและสอดคล้องกับบริบทท้องถิ่น เช่น มาตรการรัฐและเอกชนร่วมจ่ายค่าจ้าง (co-pay) ที่ปัจจุบันกำหนดค่าจ้างระดับ ป.ตรี ไว้ที่ 15,000 บาท ทำให้ผู้ประกอบการท้องถิ่นบางส่วนไม่สามารถเข้าร่วมมาตรการได้ เนื่องจากจะกระทบโครงสร้างเงินเดือนของบริษัท หากเปิดโอกาสให้นายจ้างและลูกจ้างสามารถเจรจาต่อรองค่าจ้างได้ จะทำให้ผู้ประกอบการและแรงงานท้องถิ่นได้รับประโยชน์จากมาตรการมากขึ้น

  • ประชาสัมพันธ์ platform การจ้างงานและพัฒนาทักษะของภาครัฐ “ไทยมีงานทำ” ให้ทั่วถึง และ update ข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะข้อมูลตำแหน่งงานในภูมิภาค

  • ให้อำนาจตัดสินใจหรือบทบาทของหน่วยงานภาครัฐในท้องถิ่นมากขึ้น (decentralization) เพื่อความคล่องตัวและรวดเร็วในการดำเนินมาตรการสร้างงาน เช่น ให้หน่วยงานที่จัดเก็บรายได้ในท้องถิ่นสามารถนำรายได้นั้นมาลงทุนสาธารณะประโยชน์ที่ก่อให้เกิดการจ้างงานในท้องถิ่นนั้น ๆ

ระยะยาว

  • ให้ความสำคัญกับการพัฒนา soft skills ควบคู่ไปกับ hard skills สถาบันการศึกษาควรสร้างทักษะพื้นฐาน soft skill ให้กับแรงงาน โดยเริ่มตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษา โดยเฉพาะทักษะในการเรียนรู้ด้วยตนเอง เนื่องจากความต้องการทักษะแรงงานของตลาดเปลี่ยนแปลงค่อนข้างเร็ว และหลักสูตรการสอนไม่สามารถปรับตามได้ทัน

  • ให้ความสำคัญกับการสร้าง job creators และ change agents เปลี่ยนจากการบ่มเพาะคนเพื่อให้ “หางานทำ” เป็นการบ่มเพาะคนเพื่อ “สร้างงาน” สร้างการเปลี่ยนแปลงในท้องถิ่น โดยการปลูกฝังทักษะการเป็นผู้ประกอบการให้นักเรียน นักศึกษา สามารถนำนวัตกรรมและเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้ประกอบอาชีพของตนในอนาคตได้ และคนกลุ่มนี้จะช่วยสร้างงานในท้องถิ่นต่อไป ซึ่งจะเกิดผลดีต่อระบบเศรษฐกิจในวงกว้าง

  • เปลี่ยนวัฒนธรรมการรับรู้ของสังคมมาให้คุณค่ากับการศึกษาในสายอาชีพที่ตลาดแรงงานมีความต้องการจ้างงานสูงมากขึ้น เช่น การสนับสนุน ส่งเสริม ประชาสัมพันธ์ การแข่งขันทักษะอาชีพในเวทีต่าง ๆ ทั้งในระดับประเทศ และระดับโลก (เทียบเท่าการแข่งขันคณิตศาสตร์/วิทยาศาสตร์โอลิมปิกของสายสามัญ) ให้เป็นที่รับรู้ของสังคมอย่างต่อเนื่อง

  • ควรมีแผนแม่บทการพัฒนาเมืองที่ชัดเจน โดยอาจนำเอารูปแบบการพัฒนา Eastern Economic Corridor (EEC) มาใช้และปรับให้สอดคล้องกับบริบทของอีสานเป็น Northeastern Economic Corridor (NEEC) เพื่อให้ทุกภาคส่วนเห็นภาพเดียวกัน และสามารถประเมินความต้องการแรงงานและทักษะที่จำเป็นในแต่ละสาขาเศรษฐกิจในอนาคตได้ ซึ่งจะช่วยในการวางแผนการ reskill/upskill แรงงานในท้องถิ่นให้ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงานได้

ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในการประชุมนี้ไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ หรือธนาคารแห่งประเทศไทย

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

โทรศัพท์: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

เงื่อนไขการให้บริการ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2568 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

เอกสารเผยแพร่ทุกชิ้นสงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

รับจดหมายข่าว PIER

Facebook
YouTube
Email