Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
Discussion Paper ล่าสุด
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
aBRIDGEd ล่าสุด
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
งานประชุมเชิงปฏิบัติการล่าสุด
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
งานสัมมนาล่าสุด
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ
ป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
ประกาศล่าสุด
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
Policy Forumsforums
QR code
Year
2025
2022
2021
2020
...
/static/6e990d474144776118590cc4d1d832ed/e9a79/cover.png
12 พฤศจิกายน 2563
20201605139200000
Restructuring the Regional Economy Series

การบริหารจัดการน้ำในบริบทภาคอีสาน

สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ธนาคารแห่งประเทศไทย
บทสรุปผู้บริหาร
  • ลักษณะทางภูมิศาสตร์ทำให้การบริหารจัดการทั้งน้ำฝน น้ำผิวดิน และน้ำใต้ดินในภาคอีสานมีข้อจำกัดสูงกว่าภาคอื่น ทั้งความสามารถในการกักเก็บน้ำ และการกระจายน้ำ ภาคอีสานกักเก็บน้ำได้น้อยเมื่อเทียบกับปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมา เนื่องจากเนื้อดินเป็นทรายไม่อุ้มน้ำและเป็นดินเค็ม พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงสลับกับพื้นที่ราบแบบลูกคลื่น ไม่มีภูเขาล้อมรอบจึงไม่เหมาะกับการสร้างเขื่อนเก็บน้ำขนาดใหญ่ นอกจากนี้ ภาคอีสานส่วนใหญ่จะกระจายน้ำจากแหล่งน้ำได้ในระยะไม่เกิน 5 กิโลเมตร และหลายพื้นที่ไม่ติดลุ่มน้ำ ทำให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งน้ำได้จำกัด

  • แนวทางการบริหารจัดการน้ำในภาคอีสานจึงควรให้ความสำคัญกับโครงการขนาดเล็กมากขึ้น อาทิ การทำแก้มลิง การขุดลอกคลอง การขุดบ่อบาดาล การขุดสระ การทำธนาคารน้ำใต้ดิน (water bank) และการทำหลุมขนมครก ทั้งนี้ รูปแบบที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับสภาพพื้นดินและภูมิประเทศของแต่ละพื้นที่ และหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องน้ำกว่า 40 หน่วยงาน จึงต้องทำงานบูรณาการร่วมกันในการวางแผนการจัดการน้ำในแต่ละพื้นที่

  • การเข้าถึงแหล่งน้ำที่จำกัดและขาดการบริหารจัดการน้ำที่ดี ทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่ทำเกษตรได้เฉพาะฤดูฝน ภาคเกษตรกรรมในภาคอีสานจึงไม่สามารถเป็นแหล่งจ้างงานที่ต่อเนื่องตลอดปี

  • การบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำได้โดย

    1. วางแผนการใช้น้ำในระดับชุมชน โดยเริ่มต้นจากการจัดทำบัญชีการใช้น้ำ
    2. ปรับพฤติกรรมและสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรเห็นความสำคัญของการจัดการน้ำ เช่น การเปลี่ยนไปปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยแต่มีมูลค่าสูงในบางพื้นที่ การยอมสละพื้นที่เพาะปลูกบางส่วนเพื่อขุดสระน้ำ เป็นต้น
    3. กำหนด zoning การปลูกพืชให้สอดคล้องกับสภาพดินและปริมาณน้ำที่มีในแต่ละพื้นที่
    4. มีกฎระเบียบที่เอื้อต่อการบริหารจัดการน้ำที่ชัดเจน เช่น สิทธิการใช้น้ำ (water rights) และการขุดดินแลกน้ำ เป็นต้น
    5. บริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง อาทิ ข้อมูลชั้นดินและคุณภาพดิน ข้อมูลปริมาณน้ำและแหล่งน้ำ ข้อมูลสภาพอากาศ ให้มีความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน และเผยแพร่ในรูปแบบที่เหมาะสมเพื่อให้เกษตรกรใช้ประกอบการตัดสินใจเพาะปลูกได้

ภาวะ ปัญหา และข้อจำกัดของการบริหารจัดการน้ำในภาคอีสาน

  • ภาคอีสานมีข้อจำกัดในการบริหารจัดการทั้งน้ำฝน น้ำผิวดิน และน้ำใต้ดิน

    • น้ำฝน
      • การทำเกษตรพึ่งพาน้ำฝนเป็นหลัก เนื่องจากภาคอีสานมีพื้นที่ชลประทานน้อยเพียง 6.3 ล้านไร่ หรือประมาณร้อยละ 10 ของพื้นที่เกษตรกรรมทั้งหมด ทำให้ภาคเกษตรไม่สามารถเป็นแหล่งจ้างงานที่ต่อเนื่องตลอดปีได้
      • ภาคอีสานกักเก็บน้ำได้น้อยเมื่อเทียบกับปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมา เนื่องด้วยข้อจำกัดทางด้านภูมิศาสตร์ ดินส่วนใหญ่ในภาคอีสานเป็นดินทรายไม่อุ้มน้ำ เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนจึงเกิดน้ำท่วมได้ง่าย และไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ เมื่อถึงฤดูแล้งจึงเกิดปัญหาขาดแคลนน้ำ ดังนั้น หลายพื้นที่ในอีสานจึงประสบปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้งในปีเดียวกัน
    • น้ำผิวดิน
      • การสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ในภาคอีสานมีข้อจำกัด เนื่องด้วยลักษณะภูมิประเทศที่เป็นที่ราบสูงสลับกับพื้นที่ราบแบบลูกคลื่น ไม่มีภูเขาล้อมรอบ จึงไม่เหมาะต่อการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ ต่างจากภาคเหนือที่มีภูเขาล้อมรอบที่ราบลุ่ม นอกจากนี้ ดินในภาคอีสานยังมีความเค็มสูง การสร้างเขื่อนอาจส่งผลต่อคุณภาพน้ำในบริเวณใกล้เคียง
      • เกษตรกรในภาคอีสานส่วนใหญ่พึ่งพาแหล่งน้ำขนาดเล็ก โดยกว่าร้อยละ 80 ใช้น้ำจากลำห้วยเป็นหลัก การนำน้ำจากลุ่มน้ำขนาดใหญ่ (โขง ชี มูล) มากระจายสู่ชุมชนทำได้ยากและไม่ทั่วถึง เนื่องจากหลายจังหวัดไม่ได้อยู่ติดลุ่มน้ำ ซึ่งภาคอีสานส่วนใหญ่จะกระจายน้ำจากแหล่งน้ำได้ในระยะไม่เกิน 5 กิโลเมตร
    • น้ำใต้ดิน
      • การขุดบ่อน้ำบาดาลมีข้อจำกัด เนื่องด้วยภาคอีสานมีชั้นหินที่ตื้น ทำให้ส่วนใหญ่ขุดเจาะได้ไม่เกิน 30 เมตร หากขุดลึกมากน้ำจะมีความเค็มและไม่สามารถนำมาใช้ในการเกษตรได้ ต่างจากพื้นที่ภาคกลางที่สามารถขุดได้ลึกถึง 300 เมตร นอกจากนี้ การขุดบ่อบาดาลต้องขออนุญาตหน่วยงานภาครัฐและมีค่าใช้จ่ายสูง
  • ครัวเรือนเกษตรของไทยมีอุปกรณ์ในการรองรับและกักเก็บน้ำไม่เพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นการขาดความสามารถในการกักเก็บน้ำฝนในฤดูฝน (rainwater harvesting) และการขาดความสามารถในการรับน้ำที่รัฐบาลแจกจ่ายให้ในฤดูแล้ง

  • เกษตรกรมีการใช้ปุ๋ยเคมีจำนวนมากและมีพฤติกรรมปลูกพืชเดิมซ้ำ ๆ ขาดการปรับปรุงดิน ทำให้การเก็บน้ำในชั้นดินลดลง น้ำจึงไหลลงสู่ชั้นดินได้ยาก ทำให้ความชุ่มชื้นในดินต่ำ ส่งผลให้ผลผลิตต่ำ

  • สารเคมีที่ปนเปื้อนอยู่ในแหล่งน้ำสาธารณะ ซึ่งเกษตรกรไม่สามารถควบคุมได้ ยังเป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับเกษตรกรที่ต้องการทำเกษตรแบบอินทรีย์

  • เกษตรกรส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารจัดการน้ำ เช่น ยังมีทัศนคติว่าการขุดสระเพื่อกักเก็บน้ำในพื้นที่ของตน จะทำให้สูญเสียพื้นที่เพาะปลูก และผลผลิตเกษตรลดลง

  • หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องน้ำในประเทศไทยมีเป็นจำนวนมากกว่า 40 หน่วยงาน และยังขาดการบูรณาการร่วมกัน ทำให้การทำงานไม่สอดคล้องกัน และไม่มีความต่อเนื่อง

ข้อเสนอแนะต่อชุมชนและภาครัฐเพื่อยกระดับประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำ

  • ภาครัฐควรสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรเห็นความสำคัญของการจัดการน้ำและปรับพฤติกรรมการใช้น้ำหรือการเพาะปลูกให้เหมาะสมกับพื้นที่ เช่น การเปลี่ยนไปปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยแต่มีมูลค่าสูงในบางพื้นที่ การเปลี่ยนวิธีการปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้งเพื่อลดการใช้น้ำ การยอมสละพื้นที่เพาะปลูกบางส่วนเพื่อขุดสระน้ำ ทั้งนี้ หน่วยงานรัฐในระดับท้องถิ่นจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อน เนื่องจากมีความใกล้ชิดเกษตรกร และเข้าใจบริบทในแต่ละพื้นที่

  • ภาครัฐควรกำหนด zoning การปลูกพืชให้สอดคล้องกับสภาพดินและปริมาณน้ำที่มีในแต่ละพื้นที่ เพื่อเพิ่มคุณภาพของสินค้าเกษตร และลดปัญหาการขาดแคลนน้ำในบางพื้นที่

  • ภาครัฐควรจัดสรรงบประมาณและให้ความสำคัญกับโครงการบริหารจัดการน้ำขนาดเล็กมากขึ้น อาทิ

    1. สนับสนุนการขุดบ่อ หรือสระน้ำขนาดเล็กเพื่อลดต้นทุนการใช้น้ำของเกษตรกร
    2. เพิ่มการทำแก้มลิงเพื่อเก็บน้ำในช่วงฤดูฝนไว้ใช้ในหน้าแล้ง
    3. เพิ่มการขุดลอกคลองเพื่อแก้น้ำตื้นเขิน และหาแหล่งน้ำต้นทุนธรรมชาติ โดยให้ครอบคลุมในหลาย ๆ พื้นที่เพื่อกระจายน้ำให้ทั่วถึง
    4. เพิ่มการทำธนาคารน้ำใต้ดิน (water bank) เพื่อทำให้ดินมีความชุ่มชื้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการกักเก็บน้ำฝนในช่วงฤดูฝนลงไว้สู่ใต้ดิน
    5. สนับสนุนการทำ rainwater harvesting เพื่อกักเก็บน้ำฝนไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยภาครัฐสนับสนุนอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น อุปกรณ์กักเก็บน้ำ
  • ภาครัฐและชุมชนควรส่งเสริมการจัดทำบัญชีการใช้น้ำ เพื่อให้สามารถวางแผนการใช้น้ำสำหรับการบริโภคและการทำการเกษตรได้อย่างเหมาะสม โดยการจดบันทึกว่ามีปริมาณน้ำเท่าใด และจะใช้น้ำเท่าใด ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ใด เมื่อใด เป็นต้น

  • หน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบเรื่องน้ำควรทำงานบูรณาการร่วมกัน มีแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการน้ำที่ชัดเจน แล้วจึงกำหนดแผนย่อยในระดับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้ทิศทางการทำงานสอดประสานกัน นอกจากนี้ หน่วยงานที่มีบทบาทในการทำแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการน้ำ ควรจะมีอำนาจในการติดตามผลการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้การดำเนินงานตามแผนงานมีความต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายในการแก้ไขปัญหารอบด้าน ทั้งน้ำท่วม น้ำแล้ง และคุณภาพน้ำ

  • ภาครัฐควรมีกฎระเบียบที่เอื้อต่อการบริหารจัดการน้ำที่ชัดเจน เช่น สิทธิการใช้น้ำ (water rights) ที่เป็นหนึ่งในกลไกจัดสรรทรัพยากรน้ำ ทำให้ทุกฝ่ายตระหนักว่าการใช้น้ำมีต้นทุน และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการขุดดินแลกน้ำ เพื่อส่งเสริมให้มีการขยายพื้นที่กักเก็บน้ำ เป็นต้น

  • ข้อมูลสารสนเทศของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตรและการบริหารจัดการน้ำ ควรมีความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน และเผยแพร่แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งนักวิจัยและเกษตรกร โดยอาจจัดทำในรูปแบบแพลทฟอร์มหรือแอพพลิเคชั่นให้สามารถใช้งานได้ง่ายและสะดวก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผนการเพาะปลูกของเกษตรกร และการนำไปใช้ประโยชน์ด้านวิชาการของนักวิจัย ข้อมูลนี้รวมถึงข้อมูลชั้นดินและคุณภาพดิน ปริมาณน้ำและแหล่งน้ำ รวมทั้งสภาพอากาศ

ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในการประชุมนี้ไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ หรือธนาคารแห่งประเทศไทย

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

โทรศัพท์: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

เงื่อนไขการให้บริการ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2568 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

เอกสารเผยแพร่ทุกชิ้นสงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

รับจดหมายข่าว PIER

Facebook
YouTube
Email