Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
Discussion Paper ล่าสุด
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
aBRIDGEd ล่าสุด
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
งานประชุมเชิงปฏิบัติการล่าสุด
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
งานสัมมนาล่าสุด
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ
ป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
ประกาศล่าสุด
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
Policy Forumsforums
QR code
Year
2025
2022
2021
2020
...
/static/7e3fada50b09b9c0bf4a7408b563a1f3/e9a79/cover.png
29 มีนาคม 2564
20211616976000000
Restructuring the Regional Economy Series

ยกระดับภาคเกษตรต้นน้ำในภาคใต้ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

โรงแรมบุรีศรีภูคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ จ.สงขลา
บทสรุปผู้บริหาร
  • ภาคเกษตรเป็นสาขาเศรษฐกิจสำคัญของภาคใต้มาโดยตลอด แต่มีบทบาทลดลงในระยะหลัง ส่วนหนึ่งมีสาเหตุจากผลิตภาพ (productivity) ที่อยู่ในระดับต่ำ และราคาสินค้าเกษตรสำคัญที่ได้รับอิทธิพลจากราคาในตลาดโลก อันส่งผลต่อความมั่นคงของรายได้ครัวเรือนเกษตรกร

  • เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีความก้าวหน้าไปมาก ควรนำมาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการยกระดับภาคเกษตรต้นน้ำในภาคใต้ ทั้งเทคโนโลยีพื้นฐานทั่วไป อาทิ application บันทึกข้อมูลการผลิต ต่อเนื่องไปที่การใช้ Internet of Things (IoT) ในการพัฒนาระบบ automation จนถึงการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI)

  • ปัญหาหลักของเกษตรกรชาวสวนยางพาราและปาล์มน้ำมันมีลักษณะคล้ายกัน กล่าวคือ ขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องตามหลักวิชาการในการด้านการปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิตที่มีคุณภาพ ทำให้ผลผลิตต่อไร่ (yield) ต่ำ ขณะที่เกษตรกรเพาะเลี้ยงกุ้งขาวประสบปัญหาหลักเรื่องต้นทุนสูงและขาดแคลนเงินทุน ซึ่งส่งผลต่อการเข้าถึงพันธุ์กุ้งที่มีประสิทธิภาพและขาดการพัฒนาระบบการเพาะเลี้ยง เพื่อเพิ่มอัตรารอดท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากโรคระบาดอยู่เป็นระยะ

  • เกษตรกรมีข้อจำกัดในด้านการใช้เทคโนโลยี ได้แก่

    1. ระดับการเข้าถึงเทคโนโลยีต่ำ
    2. ขาดความพร้อมด้านองค์ความรู้และความเข้าใจนวัตกรรมของเกษตรกร
    3. เกษตรกรมองเทคโนโลยีเป็นเรื่องไกลตัวและให้ความสำคัญกับระดับราคามากกว่าการปรับปรุงผลิตภาพการผลิต และ
    4. ข้อจำกัดด้านเงินทุน
  • แนวทางการแก้ปัญหา ได้แก่

    1. สร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรปรับทัศนคติ เกี่ยวกับองค์ความรู้ที่จำเป็นต่าง ๆ
    2. ส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อกระจายองค์ความรู้และผลักดันให้เกิดการปรับตัว
    3. ส่งเสริมการรวมกลุ่มระหว่าง supply chain โดยใช้ราคาเป็นแรงจูงใจในการพัฒนาวิธีการผลิต
    4. ภาครัฐควรทำหน้าที่เป็นแหล่งรวมองค์ความรู้และกระจายไปสู่เกษตรกรให้ได้อย่างทั่วถึง และ
    5. บูรณาการความร่วมมือทุกหน่วยงานไปด้วยกันอย่างจริงจัง

ความสำคัญ และปัญหาเชิงโครงสร้างของภาคเกษตรภาคใต้

  • ภาคเกษตรเป็นสาขาเศรษฐกิจสำคัญของภาคใต้ โดยในปี 2561 มีสัดส่วนสูงถึง 21% ของ GRP (Gross Regional Product) ภาคใต้ ประกอบด้วย 4 สินค้าเกษตรสำคัญ ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ทุเรียน และกุ้งขาว

  • อย่างไรก็ตาม หากเทียบกับในอดีต พบว่า บทบาทของภาคเกษตรลดลงไปพอสมควร โดยสาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากผลิตภาพ (productivity) ที่อยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง โดยเฉพาะปาล์มน้ำมัน อีกส่วนหนึ่งมาจากต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าประเทศคู่แข่ง โดยเฉพาะกุ้งขาว นอกจากนี้ ราคาสินค้าเกษตรสำคัญทั้งยางพารา ปาล์มน้ำมัน และกุ้งขาวได้รับอิทธิพลจากราคาในตลาดโลก ส่งผลกระทบต่อเนื่องต่อความมั่นคงของรายได้ครัวเรือนเกษตรกร อนึ่ง ในงานเสวนาครั้งนี้ เน้นการหารือที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผลิตภาพ

เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มผลิตภาพ (productivity) ภาคเกษตร

เทคโนโลยีและนวัตกรรมในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปมากในหลากหลายมิติ ซึ่งรวมถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มผลิตภาพภาคเกษตร โดยระดับของเทคโนโลยีฯ มีตั้งแต่ขั้นพื้นฐานไปจนถึงขั้นสูง

  • Basic technology and innovation เป็นเทคโนโลยีพื้นฐานทั่วไป ได้แก่ ระบบสารสนเทศ (IT) กลุ่มพวก application เก็บข้อมูล เก็บบันทึกกิจกรรมต่าง ๆ เป็นต้น รวมถึงนวัตกรรมกระบวนการ (process innovation) ซึ่งหมายถึงการประยุกต์ใช้แนวคิด วิธีการ หรือกระบวนการใหม่ ๆ ที่ส่งผลให้กระบวนการผลิตมีประสิทธิภาพสูงขึ้น

  • Intermediate technology and innovation เป็นการเริ่มนำระบบ Internet of Things (IoT) มาใช้งานในการบริหารจัดการแปลงปลูก และทำให้เป็นระบบ automation มากขึ้น การใช้จักรกลเกษตรเพื่อลดการใช้แรงงาน กลุ่ม smart farmer/กลุ่ม smart aquaculture เช่น การใช้ IoT ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ใช้ tag RFID ในการติดตาม DNA ของพ่อแม่พันธุ์กุ้งขาวแวนนาไม เป็นต้น

  • Advanced technology and innovation อาทิ การใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการปรับปรุงสายพันธุ์ การใช้ robotic for harvest, post-harvest การใช้ AI วิเคราะห์โรค ประเมินการเติบโต การใช้ระบบ GIS สำหรับวิเคราะห์เกษตรแปลงใหญ่ เพื่อทำให้การเกษตรมีความแม่นยำ

ข้อจำกัดของเกษตรกรในการใช้เทคโนโลยี และปัญหาการผลิตสินค้าเกษตรสำคัญในภาคใต้

ข้อจำกัดของเกษตรกรในการใช้เทคโนโลยี คือ

  1. ความพร้อมด้านองค์ความรู้ของการปลูกยางพารา ปาล์มน้ำมัน และการเลี้ยงกุ้ง โดยสาเหตุเกิดจากความแตกต่าง (gap) ระหว่างนวัตกรรมและความเข้าใจของเกษตรกรเอง นวัตกรรมและเทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ขณะที่เกษตรกรจำนวนมากเป็นผู้สูงอายุ ยึดวิธีการผลิตแบบเดิม ขาดความรู้ที่ทันสมัย แม้เกษตรกรรุ่นใหม่จะริเริ่มนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ แต่ยังคงมีสัดส่วนไม่มาก

  2. ข้อจำกัดด้านเงินทุน การนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้ จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนเกี่ยวกับระบบบริหารจัดการ เกษตรกรรายย่อยไม่มีเงินลงทุนและขาดแรงจูงใจในการลงทุน ทำให้เสียโอกาสในการเข้าถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่ นอกจากนี้ ในแต่ละสินค้าเกษตรสำคัญ มีปัญหาและข้อจำกัดดังนี้

ยางพารา

  • การขาดความรู้เกี่ยวกับการจัดการสวนยาง เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นรายย่อยและเป็นผู้สูงอายุ ทำให้การผลิตเกิด economies of scale ได้ยาก เกษตรกรเจอปัญหาต้นทุนสูงโดยเฉพาะค่าปุ๋ยบำรุงต้นยาง ค่าแรงงานกรีดยาง ค่าแรงทำยางพาราแผ่น นอกจากนี้ ยังพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ทำบัญชีสวนยางและไม่บันทึกกิจกรรมการผลิต ทำให้การจัดการสวนยางอย่างมีประสิทธิภาพเป็นไปได้ยาก รวมทั้งยังยึดติดกับวิธีการปลูกแบบเดิม ๆ ไม่พัฒนาการปลูกให้ได้มาตรฐาน GAP (Good Agricultural Practice)

  • การทำสวนยางพาราในลักษณะพืชเชิงเดี่ยว เกษตรกรปลูกเฉพาะยางพารา ดังนั้น การเป็น price taker ทำให้รายได้มีความไม่แน่นอนสูง

  • เกษตรกรปลูกยางบนพื้นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ ทำให้ไม่ได้รับความช่วยเหลือและเงินอุดหนุนจากกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง เกษตรกรกลุ่มนี้มักขาดความรู้ในการเพาะปลูก ดังนั้น ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ (yield) ในภาพรวมของประเทศจึงต่ำ

ปาล์มน้ำมัน

  • การขาดความรู้การปลูก การดูแล และการเก็บเกี่ยวที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ อาทิ การใส่ปุ๋ยจากการวิเคราะห์ดินและใบ ให้น้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการ เกษตรกรตัดปาล์มน้ำมันดิบขายส่งลานเท

  • การขาดความเข้าใจในเทคโนโลยีพื้นฐานที่เป็นประโยชน์ เช่น การใช้ application บันทึกข้อมูลหรือติดตามผลผลิต ทั้งนี้ เนื่องจากเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันมีอายุค่อนข้างมาก อีกทั้งความรู้หรือเทคโนโลยีสมัยใหม่อาจขัดกับทัศนคติและความเชื่อเดิมของเกษตรกร ทำให้การยอมรับวิธีการหรือเทคโนโลยีสมัยใหม่น้อยกว่าที่ควรเป็น

  • การขาดเงินทุนในการบำรุงสวนปาล์มน้ำมัน อาทิ เกษตรกรบางรายที่มีสวนปาล์มน้ำมันในพื้นที่ที่ขาดแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ต้องลงทุนขุดสระเองเพื่อให้น้ำแก่ปาล์มน้ำมันในช่วงแล้งหรือฝนทิ้งช่วง ดังนั้นเกษตรกรรายเล็กมักมีข้อจำกัดด้านเงินทุนและละเลยการให้น้ำเพื่อเพิ่มผลผลิต ไม่สอดคล้องกับพื้นฐานของปาล์มน้ำมันซึ่งเป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก

กุ้งขาว

  • ต้นทุนการเพาะเลี้ยงสูง โดยเฉพาะ ค่าอาหารกุ้ง (ปลาป่น) เคมีภัณฑ์และยาเพื่อรักษาสัตว์น้ำป่วยที่สืบเนื่องจากปัญหาโรคตายด่วน (EMS) รวมถึงโรคกุ้งอื่น ๆ อาทิ โรคขี้ขาว

  • ข้อจำกัดด้านการเงิน ส่งผลให้เกษตรกรรายย่อยไม่สามารถเข้าถึงพันธุ์กุ้งที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีต้นทุนสูง

  • การขาดการพัฒนาระบบการเพาะเลี้ยง ซึ่งเป็นการพัฒนารูปแบบการเลี้ยงจากบ่อดินเป็นบ่อลอย (ปูผ้ายางพารา ปูพลาสติก PE) เกษตรกรจำเป็นต้องลงทุนเพื่อขุดสระ ขยายพื้นที่ให้มีความเหมาะสมกับปริมาณลูกกุ้งที่เพาะเลี้ยง เพื่อลดความแออัดและลดต้นทุนที่เกิดจากความเสียหายจากโรคต่าง ๆ

บทบาทที่ผ่านมาของหน่วยงานรัฐในการแก้ปัญหาการผลิตสินค้าเกษตรสำคัญในภาคใต้

  • หน่วยงานภาครัฐทราบถึงปัญหาการผลิตสินค้าเกษตรสำคัญในภาคใต้ และได้ดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว แต่ก็ยังมีข้อจำกัด โดยการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ได้เริ่มปรับเงื่อนไขเงินสงเคราะห์การปลูกทดแทนเพื่อสนับสนุนการพัฒนามาตรฐานการปลูก ด้านการพัฒนาพันธุ์ยาง มีแนวคิดที่จะให้ข้อมูลพันธุ์ยางที่อยู่ระหว่างการวิจัย (ยังไม่ครบรอบการปลูกตลอดอายุ) ให้เกษตรกรได้รับทราบและตัดสินใจเลือก นอกจากนี้ ยังได้เริ่มดำเนินการ cleansing data โดยมีเป้าหมาย integrate กับข้อมูลอื่นในกระทรวงเกษตรฯ เพื่อใช้วางแผนนโยบาย อย่างไรก็ตาม ยังมีสิ่งที่ต้องดำเนินการและขยายผลอีกมาก โดยเฉพาะการแก้ปัญหาการปลูกในพื้นที่ไม่เหมาะสม

  • กรมประมงให้ความสำคัญกับงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาที่เกษตรกรพบในการเลี้ยงกุ้งขาว รวมถึง lab ตรวจที่มีคุณภาพ อย่างไรก็ตาม พบว่ามีแนวโน้มที่จะได้รับงบประมาณจากรัฐบาลลดลง

  • เกษตรจังหวัดมีบทบาทในการแก้ปัญหาและให้องค์ความรู้กับเกษตรกรโดยตรง อาทิ การทำเกษตรผสมผสาน อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อจำกัดด้านงบประมาณและผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่ในแต่ละพื้นที่ยังมีไม่ครบทุกสินค้า

  • นอกจากนี้ ยังมีข้อจำกัดเรื่องการบูรณาการการทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ ด้วย

แนวทางในการแก้ไขปัญหาและข้อจำกัดต่าง ๆ ต่อไป

  • สร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรปรับความคิดเกี่ยวกับองค์ความรู้ด้านการปลูกและการเก็บเกี่ยว รวมถึงการบริหารจัดการด้านต้นทุนและรายได้ ได้แก่

    1. การปรับเปลี่ยนระบบการผลิตหรือพันธุ์ของพืชและสัตว์ให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและความต้องการของตลาด
    2. วางแผนและหาวิธีเพื่อลดต้นทุนการผลิตมากกว่าการพิจารณาราคาขายในแต่ละช่วงเวลา
    3. คำนึงถึงความยั่งยืนในการปลูกหรือการเพาะเลี้ยง เช่น การเลือกใช้ปาล์มน้ำมันหรือยางพาราพันธุ์ดีที่มีคุณภาพเมื่อมีการปลูกทดแทนหรือปลูกใหม่ ระยะห่างการกรีดยางพารา ระยะเวลาเก็บเกี่ยวผลปาล์มน้ำมันสุก รวมถึงยกระดับการปลูกสู่มาตรฐานสากล เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบัน ภาครัฐรวมถึงนักวิชาการได้เริ่มดำเนินการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาการเพาะปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมันแล้ว แต่ยังไม่แพร่หลายจากข้อจำกัดด้านงบประมาณ
  • ส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกรให้มากขึ้น โดยเฉพาะปาล์มน้ำมันและกุ้งขาว เพื่อกระจายองค์ความรู้และผลักดันให้เกิดการปรับตัว อาทิ รวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อซื้อปัจจัยการผลิต ขายผลผลิต แลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูลข่าวสาร รวมถึงการอำนวยความสะดวกด้านการเงิน เป็นต้น

  • ส่งเสริมการรวมกลุ่มระหว่าง supply chain โดยใช้ราคาเป็นแรงจูงใจในพัฒนาวิธีการผลิต ให้ได้รับประโยชน์ทั้งสองฝ่าย เช่น โรงงานอุตสาหกรรมสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนตามมาตรฐาน RSPO โดยส่งเสริมองค์ความรู้การปลูกและการเก็บเกี่ยว เพื่อให้ได้ปาล์มน้ำมันที่มีคุณภาพสูงขึ้น โรงงานมีต้นทุนลดลง และเกษตรกรได้รับราคาปาล์มน้ำมันที่ขายได้สูงขึ้น

  • ภาครัฐควรทำหน้าที่เป็นแหล่งรวมองค์ความรู้และกระจายไปสู่เกษตรกร จากงานศึกษาพบว่า เกษตรกรสวนปาล์มน้ำมันมีการติดต่อเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อขอความช่วยเหลือหรือคำแนะนำเป็นสัดส่วนน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปแนะนำแนวทางการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ เช่น การเก็บตัวอย่างดินเพื่อไปวิเคราะห์องค์ประกอบและคุณภาพของดิน ซึ่งจะช่วยให้การใช้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพมากขึ้น การปรับเปลี่ยนระบบการผลิตให้เป็นแบบเกษตรผสมผสาน ปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นร่วมด้วยเพื่อกระจายความเสี่ยงทางด้านการรายได้ การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) เช่น การเลือกใช้พันธุ์ดี มีระบบจัดการและติดตามผลจากเทคโนโลยีพื้นฐาน เช่น การใช้ social media หรือ application เพื่อลดต้นทุนทางธุรกรรมและติดตามข่าวสารทางการเกษตรที่ทันสมัย เป็นต้น รวมถึงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์พืชและสัตว์

  • ต้องบูรณาการความร่วมมือทุกหน่วยงานไปด้วยกันอย่างจริงจัง ประกอบด้วย นักวิชาการจากมหาวิทยาลัย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และอื่น ๆ เนื่องจากการแก้ไขปัญหามีความซับซ้อนและมีอุปสรรค ซึ่งอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของแต่ละฝ่าย ดังนั้น จะต้องคิดและแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ

ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในการประชุมนี้ไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ หรือธนาคารแห่งประเทศไทย

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

โทรศัพท์: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

เงื่อนไขการให้บริการ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2568 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

เอกสารเผยแพร่ทุกชิ้นสงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

รับจดหมายข่าว PIER

Facebook
YouTube
Email