Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Risk-Taking Behavior during Downturn: Evidence of Loss-Chasing and Realization Effect in the Cryptocurrency Market
Discussion Paper ล่าสุด
Risk-Taking Behavior during Downturn: Evidence of Loss-Chasing and Realization Effect in the Cryptocurrency Market
ประเทศต่าง ๆ เริ่มจ่ายบำนาญกันอายุเท่าไหร่?
PIER Blog ล่าสุด
ประเทศต่าง ๆ เริ่มจ่ายบำนาญกันอายุเท่าไหร่?
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Endogenous Risk Aversion and Financial Decision Making
งานสัมมนาล่าสุด
Endogenous Risk Aversion and Financial Decision Making
Confidence and College Applications: Evidence from a Randomized Intervention
งานสัมมนาล่าสุด
Confidence and College Applications: Evidence from a Randomized Intervention
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ
ป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรไทย
ประกาศล่าสุด
ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรไทย
Policy Forumsforums
QR code
Year
2022
2021
2020
2019
...
/static/9565205d97fbb11346bb8aa4ba7670e7/e9a79/thumb_19Oct2021.png
29 ตุลาคม 2564
20211635465600000
Discourses on Sustainability Series

การสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการพัฒนา Sustainable Finance

Microsoft Teams

เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2564 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ได้รับเกียรติจาก คุณวินิตา กุลตังวัฒนา และคุณปณียา นิธิวรรณากุล จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ มาบรรยายในงาน Policy Forum: Discourses on Sustainability ในหัวข้อ “การสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการพัฒนา Sustainable Finance”

คณะผู้บรรยายได้ฉายภาพให้เห็นถึงบทบาทของ กลต. และตลาดทุนที่สามารถช่วยสนับสนุนให้เกิดการลงทุนที่ยั่งยืนได้โดยการกำหนดแนวทางการจัดสรรทุนจากตลาดทุนไปในธุรกิจ หรือ โครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (E) สังคม (S) และสนับสนุนการกำกับดูแลกิจการ (G) หรือ ESG ที่ดี ซึ่งจะนำไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนได้

โดยได้อธิบายถึงแผนการพัฒนาระบบนิเวศของ sustainable finance ในตลาดทุนไทย ซึ่งประกอบไปด้วย องค์ประกอบหลัก 6 ด้าน ได้แก่

  1. ผู้ระดมทุน ซึ่ง กลต. มีการกำหนดให้ผู้ระดมทุนมีการเปิดเผยข้อมูลในด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมใน One-report
  2. ผลิตภัณฑ์ เช่น ESG bond หรือ ESG fund ที่ระดมทุนเพื่อดำเนินกิจกรรมที่สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาแบบ ESG โดยผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นที่สุดในขณะนี้ คือ Green Bond ซึ่งปัจจุบันมีมูลค่าการระดมทุนรวมถึง 7.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ตัวอย่าง Green Bond ในไทย ได้แก่ กองทุนรถไฟฟ้าพลังงานสะอาด และกองทุนพลังงานสะอาด เป็นต้น
  3. Reviewer ซึ่งเป็น third party ที่เข้ามาตรวจสอบความน่าเชื่อถือของผลิตภัณฑ์
  4. ผู้ลงทุน ซึ่งสามารถผลักดันให้เกิดการดำเนินกิจการที่เกี่ยวข้องกับ ESG ได้
  5. Platform ซึ่งเป็นช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ ESG
  6. ความร่วมมือทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ โดยในประเทศได้มีความร่วมมือระหว่าง ธปท. กลต. คปภ. และ กระทรวงการคลัง

คณะผู้บรรยายยังได้เล่าถึงแนวทางการส่งเสริมที่ กลต. ดำเนินการอยู่เพื่อให้เกิด ESG bond ในตลาดทุนไทย เช่น การยกเว้นค่าธรรมเนียมในการขออนุญาต การจัดงานสัมมนาเพื่อให้ความรู้ในผลิตภัณฑ์ และการสนับสนุนค่าใช้จ่าย external reviewer เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เรียกว่า sustainable-linked bond (SLB) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความยืดหยุ่นกว่า ESG bond โดย SLB จะกำหนดให้องค์กรที่ระดมทุนต้องมีเป้าหมายด้านความยั่งยืนและมีกลไกในการปรับ feature เช่น การปรับ coupon เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้ระดมทุนพยายามทำตามเป้าหมายด้านความยั่งยืนให้สำเร็จได้

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

  • เอกสารนำเสนอ
ชมคลิปวีดีโอ
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในการประชุมนี้ไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ หรือธนาคารแห่งประเทศไทย
วินิตา กุลตังวัฒนา
วินิตา กุลตังวัฒนา
ปณียา นิธิวรรณากุล
ปณียา นิธิวรรณากุล

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

โทรศัพท์: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

เงื่อนไขการให้บริการ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2566 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

เอกสารเผยแพร่ทุกชิ้นสงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

รับจดหมายข่าว PIER

Facebook
YouTube
Email