Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Thailand and the Middle-Income Trap: An Analysis from the Global Value Chain Perspective
Discussion Paper ล่าสุด
Thailand and the Middle-Income Trap: An Analysis from the Global Value Chain Perspective
ค่าเงินบาทผันผวน: “ตัวปรับสมดุล” หรือ “ตัวป่วน” เศรษฐกิจไทย
aBRIDGEd ล่าสุด
ค่าเงินบาทผันผวน: “ตัวปรับสมดุล” หรือ “ตัวป่วน” เศรษฐกิจไทย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Confidence and College Applications: Evidence from a Randomized Intervention
งานสัมมนาล่าสุด
Confidence and College Applications: Evidence from a Randomized Intervention
The Impact of Climate Change on Thai Households
งานสัมมนาล่าสุด
The Impact of Climate Change on Thai Households
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ
ป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรไทย
ประกาศล่าสุด
ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรไทย
Policy Forumsforums
QR code
Year
2022
2021
2020
2019
...
/static/f38db6bdf2e0476999f1cc9a6210c902/e9a79/thumb_23Nov2021.png
23 พฤศจิกายน 2564
20211637625600000
Discourses on Sustainability Series

มุ่งสู่ Carbon Neutrality ด้วยกลไกราคาและตลาดคาร์บอน

Microsoft Teams

เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2564 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ได้รับเกียรติจาก ดร.พงษ์วิภา หล่อสมบูรณ์ รองผู้อำนวยการ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก มาบรรยายในงาน Policy Forum: Discourses on Sustainability ในหัวข้อ “มุ่งสู่ Carbon Neutrality ด้วยกลไกราคาและตลาดคาร์บอน”

ดร.พงษ์วิภา กล่าวถึงบทบาทของกลไกราคาและตลาดคาร์บอนในการช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก กลไกราคาจะเน้นการสร้างแรงจูงใจทางเศรษฐศาสตร์เพื่อให้ธุรกิจลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีต้นทุน ซึ่งถือเป็นต้นทุนในการดำเนินงานของธุรกิจ สำหรับกลไกราคาคาร์บอนที่ใช้ภายนอกองค์กร สามารถแบ่งได้ออกเป็น โครงการลดก๊าซเรือนกระจก (project-based) ซึ่งไม่ได้มีการกำหนดเป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจกไว้อย่างชัดเจน แต่เป็นตามความสมัครใจของแต่ละองค์กร โดยปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ คือ คาร์บอนเครดิต (carbon credit) ซึ่งสามารถนำไปซื้อขายได้ ในขณะที่การลดก๊าซเรือนกระจกรายองค์กร (site-based) จะมีการกำหนดเป้าหมายในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ชัดเจนโดยรัฐหรือผู้มีอำนาจทางกฎหมาย ซึ่งเรียกว่า สิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (allowance) องค์กรใดที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำกว่าสิทธิที่ได้รับ จะสามารถขายส่วนต่างนี้ให้กับองค์กรที่ปล่อยเกินกว่าสิทธิได้ โดยการใช้สิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีประสิทธิภาพมากกว่าคาร์บอนเครดิต เพราะใช้ต้นทุนที่ต่ำกว่าในการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เท่ากัน

ในส่วนของตลาดคาร์บอน ดร.พงษ์วิภา กล่าวว่า เป็นตลาดที่ใช้ในการซื้อขายคาร์บอนเครดิตและสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งมีหน่วยเป็นตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e) และสามารถจำแนกได้หลายประเภท โดยในช่วงก่อนปี 2020 ตลาดทางการจะถูกรองรับด้วยพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ในขณะที่หลังปี 2020 จะถูกรองรับด้วยความตกลงปารีส (Paris Agreement) ซึ่งได้มีการทำความร่วมมือการถ่ายโอนผลการลดก๊าซเรือนกระจกระหว่างประเทศ (Internationally Transferred Mitigation Outcomes: ITMOs) รวมไปถึงกำหนดวิธีการปรับบัญชีเพื่อหลีกเลี่ยงการนับซ้ำของ ITMOs

นอกจากนี้ ในปัจจุบัน ตลาดคาร์บอนในประเทศไทยเป็นตลาดภาคสมัครใจ และยังมีขนาดเล็ก ทำให้การซื้อขายคาร์บอนเครดิตในประเทศไทยยังมีจำกัดที่ประมาณ 10% ของคาร์บอนเครดิตที่ได้รับการรับรอง อย่างไรก็ดี ตลาดคาร์บอนของประเทศไทยในอนาคตคาดการณ์ว่ามีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ราคาซื้อขายมีทิศทางเพิ่มขึ้น และมีโอกาสได้รับเงินทุนสนับสนุนจากต่างประเทศเพื่อทำโครงการลดก๊าซเรือนกระจกต่าง ๆ โดยเฉพาะโครงการขององค์กรปกครองท้องถิ่นหรือเมือง

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

  • เอกสารนำเสนอ
ชมคลิปวีดีโอ
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในการประชุมนี้ไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ หรือธนาคารแห่งประเทศไทย
พงษ์วิภา หล่อสมบูรณ์
พงษ์วิภา หล่อสมบูรณ์

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

โทรศัพท์: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

เงื่อนไขการให้บริการ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2566 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

เอกสารเผยแพร่ทุกชิ้นสงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

รับจดหมายข่าว PIER

Facebook
YouTube
Email