Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Building Thailand’s Beveridge Curve: New Insights of Thailand’s Labour Markets with Internet Job Platforms
Discussion Paper ล่าสุด
Building Thailand’s Beveridge Curve: New Insights of Thailand’s Labour Markets with Internet Job Platforms
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
aBRIDGEd ล่าสุด
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
World Bank x PIER Climate Finance Policy Forum
งานประชุมเชิงนโยบายล่าสุด
World Bank x PIER Climate Finance Policy Forum
Market Design in Practice
งานสัมมนาล่าสุด
Market Design in Practice
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ
ป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
ประกาศล่าสุด
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
Aboutpages
QR code
About
/static/b3137b780c9c3d2b45c735be0ebc5a10/e9a79/cover.png

เกี่ยวกับสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

การดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจที่ดีจำเป็นต้องวางอยู่บนพื้นฐานการวิเคราะห์วิจัยอย่างรอบด้าน เพื่อประโยชน์สูงสุดในการขับเคลื่อนประเทศ สำหรับประเทศไทย อุปสรรคสำคัญในการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจและเชื่อมต่อกับนโยบาย คือการขาด “พื้นที่ส่วนกลาง” ทางวิชาการ ผลงานวิจัยจึงกระจัดกระจายในองค์กรต่าง ๆ และไม่ได้ถูกเผยแพร่ในวงกว้าง ในขณะที่ผู้ดำเนินนโยบายก็ไม่สามารถเข้าถึงความรู้ที่มีอยู่ได้อย่างสะดวกและทันท่วงที

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมการกำหนดนโยบายที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานทางวิชาการ จึงนำมาสู่การก่อตั้งสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ (สถาบันวิจัยป๋วยฯ) เพื่อเป็นองค์กรที่มุ่งสร้างงานวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์ เป็นพื้นที่ส่วนกลางสำหรับการเผยแพร่งานวิจัยที่มีคุณภาพ และเป็นศูนย์กลางที่เชื่อมโยงนักวิจัยกับทรัพยากรต่าง ๆ เข้าด้วยกัน โดยมีการบริหารงานกึ่งอิสระภายใต้การกำกับดูแลโดยคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูงใน ธปท. และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก

วิสัยทัศน์และพันธกิจ

สถาบันวิจัยป๋วยฯ มุ่งสั่งสมองค์ความรู้อันเกิดจากการวิจัย ผ่านการคัดกรองโดยวงการวิชาการที่เข้มแข็ง และผลักดันให้นโยบายเศรษฐกิจไทยตั้งอยู่บนพื้นฐานของงานวิจัยที่เปิดกว้าง มีคุณภาพ และเป็นอิสระ ภายใต้แนวคิด “รวมพลังสร้างสรรค์งานวิจัย เชื่อมต่อนโยบายเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจไทย”

พันธกิจของสถาบันวิจัยป๋วยฯ ประกอบด้วย การสร้าง การประสาน และการขยายผลของงานวิจัยดังนี้

  • ผลิตผลงานวิจัยเชิงลึก และให้คำปรึกษาด้านวิชาการ เพื่อรองรับการดำเนินนโยบายของ ธปท. ด้านนโยบายการเงิน ด้านระบบการเงิน และด้านเศรษฐกิจมหภาค
  • เป็นศูนย์ประสานงานวงการวิชาการและพัฒนาเครือข่ายของนักวิจัย เพื่อเชื่อมโยงทรัพยากรในการทำงานวิจัยในด้านต่าง ๆ เช่น องค์ความรู้ ฐานข้อมูล การจัดสัมมนาวิชาการ และทุนวิจัย เข้าด้วยกัน
  • เผยแพร่ผลงานวิจัยและสังเคราะห์ประเด็นให้แก่สาธารณชน เพื่อเสริมสร้างความเด่นชัดของงานวิจัยต่อการรับรู้ของผู้ดำเนินนโยบาย และต่อสังคมในวงกว้าง

ส่องวิสัยทัศน์ “สร้างสรรค์วิจัย เชื่อมต่อนโยบาย”: ครบรอบ 5 ปี สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ได้ดำเนินการมาครบรอบ 5 ปี ด้วยความมุ่งมั่นในการเป็นพื้นที่ส่วนกลางเพื่อสร้างสรรค์งานวิจัยที่มีคุณภาพและสนับสนุนนโยบายเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจไทย ซึ่งหากเปรียบกับ “บ้าน” หลังหนึ่ง ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บ้านหลังนี้ได้ถูกออกแบบและสร้างรากฐานทางวิชาการที่มั่นคง เพื่อต้อนรับนักวิจัยชั้นนำมากมายที่มีเป้าหมายเดียวกันคือ การศึกษาค้นคว้าในเรื่องราวที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ

บทความนี้หยิบยกมาจาก BOT พระสยาม MAGAZINE ฉบับที่ 1 ปี 2563

ก้าวแรก…สร้างบ้าน

ในช่วงก่อนปี 2558 ประเทศไทยอยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี ซึ่งล้วนสร้างความท้าทายต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะของประเทศ ในขณะเดียวกัน วงการวิชาการเศรษฐศาสตร์ของไทยยังมีงานวิจัยที่ค่อนข้างจำกัด ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ อีกทั้งองค์ความรู้มักกระจายอยู่ตามหน่วยงานต่าง ๆ ผู้กำหนดนโยบายจึงไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นต่อการดำเนินนโยบายได้อย่างเต็มที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เล็งเห็นถึงความท้าทายเหล่านี้ จึงได้หาแนวทางในการสร้างและตระเตรียมองค์ความรู้เพื่อยกระดับการดำเนินนโยบายให้ก้าวทันต่อความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ จึงได้ถือกำเนิดขึ้น เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2558 เพื่อเป็นสะพานเชื่อมการดำเนินนโยบายกับองค์ความรู้ด้านเศรษฐกิจ และเป็น “พื้นที่ส่วนกลาง” ที่เชื่อมโยงนักวิจัยในองค์กรต่าง ๆ ให้เข้ามารวมเป็นเครือข่าย โดย ธปท. มุ่งมั่นที่จะให้สถาบันวิจัยฯ เป็นองค์กรชั้นนำในการสร้าง รวบรวม และเผยแพร่งานวิจัยทางด้านเศรษฐศาสตร์ที่มีคุณภาพสูงและเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินนโยบายของประเทศ

หากเปรียบกับการสร้างบ้าน ขวบปีแรก ๆ ของการก่อตั้งสถาบันวิจัยฯ เป็นช่วงเวลาของการวางรากฐานที่สำคัญในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นบุคลากร ทรัพยากรในการทำวิจัย วัฒนธรรมองค์กร และช่องทางการสื่อสารกับสาธารณะ ไม่เพียงสรรหานักวิจัยชั้นนำจากทั้งภายในและภายนอกประเทศมาร่วมเป็นเจ้าบ้านและช่วยกันสร้างบ้านหลังนี้ สถาบันวิจัยฯ ยังเป็นพื้นที่ส่วนกลางให้แก่นักวิจัยอื่น ๆ ฉะนั้น นับตั้งแต่ก่อตั้ง “ห้องรับแขก” ของที่นี่จึงไม่เคยว่างเว้นจากผู้มาเยือน ทั้งจากภายในและภายนอก ธปท. ที่มาผนึกกำลังทำวิจัย แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และนำเสนอผลงานผ่านกิจกรรมทางวิชาการต่าง ๆ รวมถึงเผยแพร่บทความวิจัยเชิงลึก (PIER Discussion Paper) และบทความวิจัยฉบับย่อ (aBRIDGEd) ผ่านเว็บไซต์ นอกจากนี้ สถาบันวิจัยฯ ยังได้สนับสนุนนักวิจัยภายนอกผ่านการให้ทุนวิจัยรายย่อยอีกด้วย

ผลิตผลงาน ประสานเครือข่าย

ข้อมูลถือเป็นอีกองค์ประกอบสำคัญของการทำวิจัยในปัจจุบัน สถาบันวิจัยฯ จึงให้ความสำคัญกับสิ่งที่อยู่ใน “ห้องครัว” ไม่น้อยไปกว่าด้านอื่น ๆ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา สถาบันวิจัยฯ ได้เป็นผู้นำในการรวบรวมและปรับปรุงฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (big data) และข้อมูลที่มีความละเอียดสูง (granular data) เพื่อนำมาใช้ในการวิจัย เช่น ข้อมูลราคารายสินค้า ข้อมูลสินเชื่อรายบัญชี ข้อมูลเงินฝากรายบัญชี ข้อมูลการส่งออกและนำเข้ารายใบขน ข้อมูลแรงงานรายลูกจ้าง ข้อมูลภาคธุรกิจรายบริษัทและรายผู้ถือหุ้น ข้อมูลภาคเกษตรกรรมรายเกษตรกรและรายแปลงเพาะปลูก รวมถึงข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมและข้อมูลจากการวิเคราะห์ตัวบท (textual analysis)

ความสำเร็จในการบุกเบิกฐานข้อมูลต่าง ๆ ทำให้สถาบันวิจัยฯ สามารถผลิตงานวิจัยได้เป็นจำนวนมากและครอบคลุมประเด็นที่หลากหลาย อาทิ เรื่องเงินเฟ้อและราคาสินค้า การเงินภาคครัวเรือน โครงสร้างของภาคธุรกิจ ภาคเกษตร ภาคการส่งออก และภาคแรงงาน ซึ่งงานวิจัยเหล่านี้ทำให้เราเข้าใจระบบเศรษฐกิจไทยในระดับจุลภาค และมีนัยสำคัญต่อการดำเนินนโยบายการเงินและเสถียรภาพระบบการเงิน การเพิ่มผลิตภาพในภาคเกษตรและภาคธุรกิจ การส่งเสริมการแข่งขัน การจัดหาสวัสดิการแรงงานและการลดความเหลื่อมล้ำ ที่ผ่านมาสถาบันวิจัยฯ ได้นำเสนอผลการศึกษาหลายชิ้นต่อผู้ดำเนินนโยบายเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการดำเนินนโยบายที่เจาะจงกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ นอกจากนี้ งานวิจัยเรื่อง “จุลทรรศน์หนี้ครัวเรือนไทย” ยังได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่นประจำปี 2561 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ อันเป็นการตอกย้ำถึงมาตรฐานคุณภาพของงานวิจัยที่ได้รับการยอมรับจากวงการวิชาการ

สถาบันวิจัยฯ ได้เผยแพร่ผลงานวิจัยผ่านบทความต่าง ๆ และจัดกิจกรรมทางวิชาการที่มีความหลากหลายเป็นประจำ ได้แก่

  • การร่วมกับสายนโยบายการเงินของ ธปท. จัดงานสัมมนาวิชาการประจำปี (BOT Symposium) ซึ่งเป็นเวทีวิชาการชั้นนำของประเทศที่มีผู้เข้าร่วมนับพันคน และเป็นเวทีที่มีบทบาทสำคัญในการชี้นำความคิดด้านนโยบายสาธารณะ
  • การจัดเวทีให้นักวิชาการนำเสนอผลงานและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างเข้มข้น ทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการ (PIER Research Workshop และ PIER Research Seminar) และในรูปแบบที่เป็นกันเอง (PIER Research Exchange)
  • การจัด Policy Forum เพื่อพูดคุยในประเด็นทางนโยบายที่เฉพาะเจาะจงกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และรวมถึงการจัด Research Brief เพื่อสื่อสารผลงานวิจัยกับสื่อมวลชน เพื่อผลักดันผลงานวิจัยสู่วงกว้าง

โดยสถาบันวิจัยฯ ได้ดำเนินกิจกรรมเหล่านี้ไปพร้อมกับการสื่อสารผ่านช่องทางและรูปแบบใหม่ ๆ เช่น โซเชียลมีเดีย และคลิปวิดีโอ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ทำให้การนำเสนอข่าวสารด้านเศรษฐกิจของหน่วยงานและสื่อต่าง ๆ มีการอ้างถึงงานวิจัยของสถาบันวิจัยฯ อย่างสม่ำเสมอ

ก้าวต่อไป…สู่โลกกว้าง

ที่ผ่านมา สถาบันวิจัยฯ เน้น “สร้างบ้าน สร้างผลงาน สร้างเครือข่าย” อันเป็นการวางรากฐานที่สำคัญ ก้าวต่อไปจากนี้ เราพร้อมที่จะออกไป “สู่โลกกว้าง” เพื่อพานักวิจัยและผลงานวิจัยไปสู่โลกภายนอกมากขึ้น ด้วยความมุ่งมั่นว่า สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ จะเป็นชื่อแรกที่วงการวิชาการ ผู้ดำเนินนโยบาย และสาธารณชน ทั้งในและต่างประเทศนึกถึงเมื่อต้องการองค์ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจไทย

สถาบันวิจัยฯ มุ่งที่จะต่อยอดเครือข่ายทางวิชาการ โดยจะส่งเสริมการทำวิจัยร่วมกับนักวิจัยในต่างประเทศ เพื่อให้นักวิจัยไทยได้ก้าวทันพรมแดนทางความรู้ที่มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ในขณะเดียวกัน ภายในประเทศจะพัฒนาความสัมพันธ์กับนักวิชาการในส่วนภูมิภาคให้มากขึ้น เพื่อกระจายความแข็งแกร่งของวงการวิชาการไทยและเพื่อให้นักวิชาการในส่วนกลางเข้าใจปัญหาของประเทศได้ถ่องแท้ยิ่งขึ้น นอกจากนี้ สถาบันวิจัยฯ จะเพิ่มบทบาทในการสนับสนุนการศึกษาเศรษฐศาสตร์ผ่านการร่วมจัดกิจกรรมทางวิชาการกับสถานศึกษาและการให้ทุนสนับสนุนการวิจัย เพื่อส่งเสริมให้เกิดนักวิจัยรุ่นใหม่ ๆ ในอนาคต

ในด้านการสนับสนุนข้อมูลการทำวิจัย สถาบันวิจัยฯ ได้ส่งท้ายปีที่ 5 ด้วยการเปิดตัวเว็บไซต์ศูนย์รวมข้อมูลเศรษฐกิจไทย (Thailand’s Integrated Database for Economics: TiDE) ซึ่งพลิกโฉมการเข้าถึงข้อมูลเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยเว็บไซต์ TiDE ทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มให้บริการข้อมูลเศรษฐกิจของประเทศที่ครอบคลุมทั้งภาคเศรษฐกิจ ภาคการเงิน สถาบันการเงิน และดัชนีเศรษฐกิจต่าง ๆ สามารถใช้งานได้ง่ายและไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งจะช่วยสร้างแรงจูงใจให้เกิดการทำวิจัยเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยมากยิ่งขึ้น

เมื่อมองไปข้างหน้า การผลิตงานวิจัยที่มีคุณภาพยังคงเป็นภารกิจหลักของสถาบันวิจัยฯ โดยจะมุ่งยกระดับความเป็นเลิศทางวิชาการ รวมทั้งมุ่งส่งเสริมและพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ให้เติบโตเป็นกำลังสำคัญต่อไป ในขณะเดียวกัน สถาบันวิจัยฯ จะมุ่งสร้างผลสัมฤทธิ์ของงานวิจัย เรียนรู้การดำเนินนโยบายเพื่อนำไปสู่การตอบโจทย์ทางนโยบายที่ชัดเจน ตรงประเด็น มีงานวิจัยภาคสนามที่เข้าถึงปัญหาของกลุ่มคนในสังคมที่ลึกขึ้น เพื่อให้งานวิจัยสามารถนำมาใช้ได้จริง ทั้งหมดนี้เป็นเครื่องยืนยันว่า สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ จะก้าวสู่ปีที่ 6 อย่างไม่หยุดนิ่ง พร้อมกับวิสัยทัศน์ “สร้างสรรค์วิจัย เชื่อมต่อนโยบาย” ที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

โทรศัพท์: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

เงื่อนไขการให้บริการ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2568 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

เอกสารเผยแพร่ทุกชิ้นสงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

รับจดหมายข่าว PIER

Facebook
YouTube
Email