Systematic Foreign Exchange Intervention and Macroeconomic Stability: A Bayesian DSGE Approach
เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2564 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ร่วมกับ IMF Capacity Development Office in Thailand (CDOT) ได้จัดงาน CDOT-PIER Joint Seminar เป็นครั้งที่ 2 โดยได้รับเกียรติจาก รศ. ดร.มิทซึรุ คาตะกิริ (Mitsuru Katagiri) จาก Hosei University มาบรรยายในหัวข้อ "Systematic Foreign Exchange Intervention and Macroeconomic Stability: A Bayesian DSGE Approach"
ในการศึกษานี้ ผู้วิจัยได้ประเมินผลของการแทรกแซงการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (Foreign Exchange Intervention: FXI) โดยใช้แบบจำลองสมดุลทั่วไปแบบสุ่มเชิงพลวัต (Dynamic Stochastic General Equilibrium: DSGE) มาอธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง FXI และระบบเศรษฐกิจแบบเปิดขนาดเล็ก และได้ใช้ข้อมูลจากประเทศเวียดนามเพื่อทดสอบแบบจำลอง ซึ่งในแบบจำลองนั้น FXI อาจส่งผลให้ความผันผวนทางเศรษฐกิจรุนแรงขึ้นหรือลดลงได้ ขึ้นอยู่กับประเภทของความไม่แน่นอนว่ามาจากภายในประเทศ นอกประเทศ หรือ เป็นความไม่แน่นอนทางการเงิน
ทั้งนี้จากข้อมูลประเทศเวียดนามและการวิเคราะห์ ผู้วิจัยพบว่า FXI ในประเทศเวียดนามช่วยรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจมหภาคอย่างมีนัยสำคัญ แต่แทบไม่ส่งผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนจริง ในขณะเดียวกัน พบว่าอัตราแลกเปลี่ยนจริงได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนของผลิตภาพการผลิตมากกว่า ซึ่งสอดคล้องกับ Balassa-Samuelson effect