Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Building Thailand’s Beveridge Curve: New Insights of Thailand’s Labour Markets with Internet Job Platforms
Discussion Paper ล่าสุด
Building Thailand’s Beveridge Curve: New Insights of Thailand’s Labour Markets with Internet Job Platforms
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
aBRIDGEd ล่าสุด
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
World Bank x PIER Climate Finance Policy Forum
งานประชุมเชิงนโยบายล่าสุด
World Bank x PIER Climate Finance Policy Forum
Market Design in Practice
งานสัมมนาล่าสุด
Market Design in Practice
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ
ป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
ประกาศล่าสุด
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
PIER Economics Seminarsseminars
QR code
Year
2025
2024
2023
2022
...
/static/8193bd7cab1873bcb5fa0292181ce5b2/e9a79/thumb_seminar.png
28 กุมภาพันธ์ 2565
20221646006400000
RCT Human Capital Seminar Series

Labor Force Impacts of Enhanced Employment Counseling in the United States: The Limits of an Encouragement RCT Design

Zoom meeting
Labor Force Impacts of Enhanced Employment Counseling in the United States: The Limits of an Encouragement RCT Design

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ร่วมกับ สถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย (RIPED) และกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (EEF) ได้จัดงาน RCT Human Capital Seminar Series ครั้งที่ 1 ขึ้น โดยได้รับเกียรติจาก Professor Joshua Hawley จาก Ohio State University มาบรรยายในหัวข้อ “Labor force impacts of enhanced employment counseling in the United States: The limits of an encouragement RCT design” ซึ่งเป็นงานวิจัยที่ทำร่วมกับ Tian Lou และ Sunny Munn

Prof. Hawley ได้เล่าถึงประสบการณ์ในการพยายามประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการ “Comprehensive Case Management and Employment Program” หรือ CCMEP ซึ่งเป็นโครงการอบรมพัฒนาทักษะและให้คำปรึกษาด้านอาชีพ โดยรัฐ Ohio ได้มีการออกกฎหมายให้เยาวชนอายุ 14–24 ปี ทุกคนมีสิทธิลงทะเบียนกับโครงการนี้ ในเบื้องต้นโครงการจะประเมินว่าเยาวชนแต่ละคนต้องการความช่วยเหลือหรือไม่ และต้องการความช่วยเหลือในด้านใด โดยมีการช่วยเหลือถึง 14 รูปแบบและมี case manager ช่วยดูแลใกล้ชิด

แม้ว่าทีมวิจัยจะอยากใช้วิธีการ Randomized Controlled Trial (RCT) ที่ใช้กันทั่วไป นั่นคือ มีการสุ่มให้คนบางกลุ่มเป็นกลุ่ม treatment และบางกลุ่มเป็นกลุ่ม control แต่กรณีนี้ไม่สามารถทำได้เพราะรัฐ Ohio ต้องการให้เยาวชนทุกคนมีสิทธิเข้าร่วมโครงการพร้อม ๆ กัน ทีมวิจัยจึงให้มาใช้ “Encouragement design” RCT แทน โดยสุ่มจากเยาวชนทุกคนที่มีสิทธิ และกลุ่ม treatment จะได้รับ text message ชวนให้ไปลงทะเบียนร่วม CCMEP โดยมีกลุ่มตัวอย่างกว่า 13,000 ราย แต่ RCT ดังกล่าวมีข้อผิดพลาด เพราะมีกลุ่ม treatment ลงทะเบียนเพียงร้อยละ 4 ซึ่งอาจจะเกิดจาก nudge ที่เลือกใช้ยังไม่สามารถทำให้คนเห็นประโยชน์ของโครงการ นอกจากนี้ กลุ่ม control ซึ่งไม่ควรลงทะเบียน ก็มาลงทะเบียนถึงเกือบร้อยละ 4 ซึ่งอาจจะเกิดจากความผิดพลาดทางเทคนิค เพราะรัฐบาลท้องถิ่นมีปัญหาเกี่ยวกับระบบข้อมูล

อย่างไรก็ดี Prof. Hawley และทีมวิจัย มีฐานข้อมูล administrative data ที่ได้พัฒนามาเป็นเวลานานและมีการเชื่อมข้อมูลเรื่องการศึกษาและตลาดแรงงาน (การเข้าทำงาน และค่าจ้าง) ทำให้สามารถประเมิน CCMEP โดยวิธี quasi-experiment ได้ โดยการศึกษานี้ไม่ได้พบผลสัมฤทธิ์ของโครงการมากนัก ทั้งนี้ น่าจะเป็นเพราะการที่โครงการนี้แม้จะครอบคลุม แต่ก็เป็นเรื่องใหม่สำหรับรัฐบาลท้องถิ่นต่าง ๆ ที่ต้องบริหารจัดการ รวมถึงการที่เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการค่อนข้างเป็นกลุ่มที่ขาดโอกาสมาถึง 8 ปี การที่โครงการนี้จะมาชดเชยส่วนที่หายไปจึงไม่ได้ง่ายนัก

ทั้งนี้ Prof. Hawley ยังได้มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการทำ RCT ที่น่าสนใจ 3 ประการ คือ

  1. Don’t be impatient: ไม่ควรเร่งรีบในการทำ RCT หากยังไม่พร้อม
  2. Hold out for a regular RCT: การทำ RCT ไม่จำเป็นต้องเป็น scale ใหญ่เสมอไป ในบางครั้งการทำ RCT ใน scale เล็กอาจเป็นเรื่องดี เนื่องจากควบคุมคุณภาพได้ดีกว่า
  3. Data: การพัฒนาระบบฐานข้อมูลและการบูรณาการข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งในส่วนของ Prof. Hawley เองก็ได้มีการสร้างความร่วมมือในการพัฒนาฐานข้อมูลร่วมกันระหว่างรัฐ Ohio และ Ohio State University ในชื่อ Ohio Longitudinal Data Archive (OLDA) เพื่อเปิดให้นักวิจัยทั้งภายในและภายนอกได้เข้าถึงข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ในทางสาธารณะ

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

  • เอกสารนำเสนอ
ชมคลิปวีดีโอ
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความนี้เป็นความเห็นของผู้เขียน ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
Joshua Hawley
Joshua Hawley

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

โทรศัพท์: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

เงื่อนไขการให้บริการ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2568 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

เอกสารเผยแพร่ทุกชิ้นสงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

รับจดหมายข่าว PIER

Facebook
YouTube
Email