Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Building Thailand’s Beveridge Curve: New Insights of Thailand’s Labour Markets with Internet Job Platforms
Discussion Paper ล่าสุด
Building Thailand’s Beveridge Curve: New Insights of Thailand’s Labour Markets with Internet Job Platforms
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
aBRIDGEd ล่าสุด
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
World Bank x PIER Climate Finance Policy Forum
งานประชุมเชิงนโยบายล่าสุด
World Bank x PIER Climate Finance Policy Forum
Market Design in Practice
งานสัมมนาล่าสุด
Market Design in Practice
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ
ป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
ประกาศล่าสุด
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
PIER Economics Seminarsseminars
QR code
Year
2025
2024
2023
2022
...
/static/8193bd7cab1873bcb5fa0292181ce5b2/e9a79/thumb_seminar.png
1 เมษายน 2565
20221648771200000
RCT Human Capital Seminar Series

Mainstreaming an Effective Intervention: Evidence from Randomized Evaluations of 'Teaching at the Right Level' in India

Zoom Meeting
Mainstreaming an Effective Intervention: Evidence from Randomized Evaluations of 'Teaching at the Right Level' in India

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ร่วมกับ สถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย (RIPED) และกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (EEF) ได้จัดงาน RCT Human Capital Seminar Series ครั้งที่ 2 ขึ้น โดยได้รับเกียรติจาก Associate Professor James Berry จาก University of Delaware มาบรรยายในหัวข้อ “Mainstreaming an Effective Intervention: Evidence from Randomized Evaluations of 'Teaching at the Right Level' in India” ซึ่งเป็นงานวิจัยที่ทำร่วมกับ Rukmini Banerji (Pratham) Abhijit Banerjee (MIT) Esther Duflo (MIT) HariniKinnan (J-PAL) Shobhini Mukherji (J-PAL) Marc Shotland (J-PAL) และ Michael Walton(Harvard) โดย Prof. Berry ได้เล่าถึงบทเรียนต่าง ๆ จากโครงการ “Teaching at the Right Level” (TaRL) ในประเทศอินเดีย ซึ่งพยายามแก้ปัญหาระดับชั้นและความรู้ของเด็กไม่สอดคล้องกัน ครึ่งหนึ่งของเด็ก ป. 5 ก็ยังอ่านหนังสือได้เท่าเด็ก ป.2 และเด็ก ป.2 จำนวนมากก็ยังอ่านคำง่าย ๆ หรือลบเลขสองหลักไม่ได้

TaRL เป็นโครงการที่ Pratham ซึ่งเป็น NGO ขนาดใหญ่ริเริ่มขึ้นในระดับชุมชนแออัด และยึดหลักการว่าการสอนนักเรียนควรสอนตามระดับความสามารถปัจจุบันของเด็ก ไม่ใช่สอนไปเรื่อย ๆ ตามหลักสูตรของแต่ละระดับชั้น เพราะหากเป็นเช่นนั้น เด็กที่ตามไม่ทันก็ไม่มีทางตามทัน นอกจากนั้น TaRL ยังเน้นเรื่องความรู้พื้นฐาน เน้นการสอนเพิ่มให้เด็กที่ไม่เก่ง และใช้การจ้างครูจากคนในชุมชน เพราะคาดว่าน่าจะช่วยให้เด็กและครูมีความสัมพันธ์กันที่ดีขึ้น

แม้แนวคิดดังกล่าวฟังดูมีเหตุมีผล Prof. Berry และทีมของ J-PAL (The Abdul Latif Jameel Poverty Action Lab) ของ MIT ได้ตั้งคำถามว่า TaRL ได้ผลจริงหรือ และหากได้ผลจริง จะขยายผลไปสู่ระดับที่ใหญ่กว่าชุมชนไปสู่เด็กอินเดียทุกคนได้อย่างไร ทางทีม J-PAL ได้นำวิธี Randomized Controlled Trial (RCT) มาประเมินผลของโครงการในระยะต่าง ๆ

ในช่วงต้นซึ่งเป็นการ proof of concept ในระดับชุมชนแออัดที่เมือง Mumbai และ Vadodara นั้น TaRL ได้ผลดีมาก นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการได้คะแนนทั้งด้านการอ่านและคณิตศาสตร์ดีขึ้น ต่อมารัฐบาลอินเดียได้พยายามขยายผล โดยเริ่มจากเปลี่ยนบริบทจากชุมชนเป็นหมู่บ้านในชนบทและใช้ครูอาสาสมัครแทนครูชุมชนนั้น ซึ่งยังพบว่าโครงการได้ผลดีอยู่ อย่างไรก็ตาม เมื่อพยายาม scale up ขึ้นไปอีก โดยส่งต่อไปในระดับโรงเรียนและให้ครูของโรงเรียนเป็นผู้สอนแทนอาสาสมัคร การประเมินกลับพบว่าคะแนนของเด็กที่เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการไม่ได้ต่างกันมากนัก

เมื่อทบทวนถึงปัญหา คณะผู้วิจัยพบว่าครูไม่ได้ปฏิบัติตามหลักการของ TaRL อย่างจริงจัง รวมทั้งขาดการสนับสนุนจากภาครัฐ โครงการต่อมาจึงพยายามแก้ปัญหาดังกล่าว โดยมีทั้งการให้คำแนะนำและการติดตามว่ามีการสอนตามวิธีที่ได้รับอบรมมาในชั่วโมงเรียนจริง ครั้งนี้พบว่าเด็กคะแนนดีขึ้น นอกจากนี้ ยังมีบางรัฐในอินเดีย ซึ่งมีปัญหาในการบริหารจัดการระบบการศึกษา การส่งต่อ TaRL ให้ครูเป็นผู้ปฏิบัติและให้รัฐช่วยติดตามจึงเป็นไปไม่ได้ ทางทีม NGOs จึงลองวิธีส่งครูอาสาสมัคร TaRL ลงไปอย่างเข้มข้นในระยะ 10–20 วันแทน แม้โครงการดังกล่าวจะไม่สามารถส่งต่อหลักการ TaRL ได้ แต่ก็พบว่าการเข้าไปดังกล่าวช่วยเด็กให้เด็กมีคะแนนสอบดีขึ้น

ทั้งนี้ Prof. Berry ได้สรุปบทเรียนจาก TaRL กว่าสองทศวรรษไว้ว่า

  1. สิ่งที่ได้ผลกับโครงการขนาดเล็กอาจจะไม่สามารถ scale-up ได้เสมอไป
  2. การเข้าใจกลไกการทำงานของรัฐซึ่งเป็นผู้นำแนวคิดไปปฏิบัติ เป็นองค์ประกอบสำคัญ
  3. TaRL ที่ผ่านมาเผชิญทั้งความสำเร็จและล้มเหลว แต่ทุกครั้งได้ให้บทเรียนที่ดีสำหรับการดำเนินงานในลำดับถัดไป
  4. แม้ตัวเลขผลการประเมินโครงการมักจะเป็นส่วนที่ได้รับความสนใจ แต่ความรู้จากกระบวนการทำงานทั้งหมดนั้น เป็นหัวใจสำคัญต่อความสำเร็จเช่นกัน

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

  • เอกสารนำเสนอ
  • งานวิจัยที่นำเสนอ
ชมคลิปวีดีโอ
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความนี้เป็นความเห็นของผู้เขียน ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
James Berry
James Berry

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

โทรศัพท์: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

เงื่อนไขการให้บริการ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2568 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

เอกสารเผยแพร่ทุกชิ้นสงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

รับจดหมายข่าว PIER

Facebook
YouTube
Email