Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Building Thailand’s Beveridge Curve: New Insights of Thailand’s Labour Markets with Internet Job Platforms
Discussion Paper ล่าสุด
Building Thailand’s Beveridge Curve: New Insights of Thailand’s Labour Markets with Internet Job Platforms
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
aBRIDGEd ล่าสุด
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
World Bank x PIER Climate Finance Policy Forum
งานประชุมเชิงนโยบายล่าสุด
World Bank x PIER Climate Finance Policy Forum
Market Design in Practice
งานสัมมนาล่าสุด
Market Design in Practice
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ
ป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
ประกาศล่าสุด
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
PIER Economics Seminarsseminars
QR code
Year
2025
2024
2023
2022
...
/static/484771d0e77d06bcb82c1a11f369b177/e9a79/cover.png
9 พฤศจิกายน 2565
20221667952000000

Promoting Skills to Promote Successful Lives

Zoom Meeting
Promoting Skills to Promote Successful Lives

Professor James J. Heckman จาก University of Chicago นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลปี 2000 ได้ให้เกียรติมาบรรยายในงานสัมมนาวิชาการพิเศษในหัวข้อ "Promoting Skills to Promote Successful Lives" โดย Prof. Heckman เล่าถึงหลักฐานเชิงประจักษ์ต่าง ๆ จากการทำงานในหลายทศวรรษว่า โครงการที่เน้นพัฒนาทักษะเด็กตั้งแต่ก่อนวัยเรียนเพื่อให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ นั้นเป็นดูเป็นโครงการที่สัมฤทธิ์ผลมากกว่าและต้นทุนต่ำกว่า โครงการหรือนโยบายอื่น ๆ ในการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำและการส่งต่อความยากจนข้ามรุ่น

ที่ผ่านมาประเทศส่วนใหญ่พยายามจะแก้ปัญหาเรื่องความยากจน โดยมุ่ง “ช่วยเหลือคนจน” ไม่ว่าจะเป็นการเก็บภาษีคนรวยเพื่อนำมาเป็นเงินช่วยเหลือคนจน การลงทุนพัฒนาทักษะตลอดช่วงชีวิต รวมทั้งการจัดสวัสดิการต่าง ๆ เพื่อช่วยกลุ่มเปราะบาง อย่างไรก็ตาม หลักฐานที่ผ่านมาแสดงว่านโยบายเหล่านี้ไม่ได้ประสบความสำเร็จมากนัก การแก้ปัญหาสังคมอื่น ๆ ก็มักจะเป็นการแก้ปัญหาแบบแยกส่วน รอให้ปัญหาเกิดขึ้นก่อน และใช้งบประมาณมหาศาลในการแก้ไข เช่น เพิ่มจำนวนตำรวจเมื่ออาชญากรรมเพิ่มขึ้น หรือเพิ่มบุคลากรทางการแพทย์เมื่อคนป่วยมากขึ้น

ทั้งนี้ หากมองลึกลงไปถึงสาเหตุและมองคนทั้งชีวิต หลักฐานจากงานศึกษาหลายชิ้นแสดงว่าจุดเริ่มต้นของชีวิตนั้นสำคัญที่สุด เด็กที่มีทักษะทางสติปัญญา อารมณ์และสังคมที่ดี มีความอยากเรียนรู้ จะสามารถสร้างทักษะเพิ่มเติมได้ทั้งชีวิต ปรับตัวได้ โตขึ้นไปเป็นกำลังแรงงานที่มีผลิตภาพ และก่อปัญหาให้สังคมน้อย Prof. Heckman กล่าวว่า “ทักษะ” ไม่ได้สร้างจากโรงเรียนเท่านั้น ครอบครัวเป็นรากฐานสำคัญที่จะช่วยให้เด็กเป็นคนที่สามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต กว่าจะถึง “โรงเรียน” ช่องว่างของทุนมนุษย์นั้นก็เริ่มกว้างขึ้นแล้ว คะแนนทดสอบทักษะของเด็ก 3 ขวบที่มีแม่จบปริญญาตรี โดยเฉลี่ยสูงกว่าคะแนนสอบของเด็กที่แม่จบการศึกษาไม่สูงนัก อย่างไรก็ดี ช่องว่างนี้ไม่ใช่มาจาก DNA 100% โครงการที่เข้าไปพัฒนาการมีส่วนร่วมของพ่อแม่ตั้งแต่ปฐมวัยพิสูจน์ว่าสามารถช่วยลดช่องว่างของทุนมนุษย์ และลดความเหลื่อมล้ำข้ามรุ่นลงได้

Prof. Heckman ได้เล่าถึงโครงการ Perry Preschool (เด็กอายุ 3–4 ปี) และ Abecedarian Program (เด็กอายุ 0–5 ปี) ซึ่งจัดขึ้นในศูนย์เด็กเล็กและเน้นการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ทั้งสองโครงการเริ่มขึ้นมาหลายทศวรรษ จึงสามารถดูผลในระยะยาว โดยพบว่าเด็กที่เข้าร่วมโครงการโดยเฉลี่ยประสบความสำเร็จในชีวิตมากกว่าเด็กที่ไม่ได้เข้าโครงการ จบการศึกษาระดับสูงกว่า หน้าที่การงานมั่นคงกว่า สุขภาพดีกว่า ก่ออาชญากรรมน้อยกว่า อย่างไรก็ตาม การจัดโครงการในศูนย์เด็กเล็กอาจจะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง Prof. Heckman จึงได้เล่าถึง โครงการ Reach Up and Learn ซึ่งเริ่มขึ้นในประเทศจาไมกา และนำไปใช้ในอีกหลายประเทศ เช่น China Reach ของจีน โดยโครงการนี้ส่งเจ้าหน้าที่ไปที่บ้านเพื่อพัฒนาทักษะของผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดูและการทำกิจกรรมร่วมกับเด็ก โดยไม่ได้ใช้เวลามากนักและมีต้นทุนต่ำกว่า ซึ่งโครงการเหล่านี้ก็ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน

งานสัมมนาครั้งนี้นี้ร่วมจัดโดยสถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย (RIPED) กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (EEF) สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สภาการศึกษา และสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

  • เอกสารนำเสนอ
ชมคลิปวีดีโอ
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความนี้เป็นความเห็นของผู้เขียน ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
James J. Heckman
James J. Heckman

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

โทรศัพท์: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

เงื่อนไขการให้บริการ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2568 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

เอกสารเผยแพร่ทุกชิ้นสงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

รับจดหมายข่าว PIER

Facebook
YouTube
Email