Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Building Thailand’s Beveridge Curve: New Insights of Thailand’s Labour Markets with Internet Job Platforms
Discussion Paper ล่าสุด
Building Thailand’s Beveridge Curve: New Insights of Thailand’s Labour Markets with Internet Job Platforms
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
aBRIDGEd ล่าสุด
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
World Bank x PIER Climate Finance Policy Forum
งานประชุมเชิงนโยบายล่าสุด
World Bank x PIER Climate Finance Policy Forum
Market Design in Practice
งานสัมมนาล่าสุด
Market Design in Practice
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ
ป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
ประกาศล่าสุด
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
PIER Economics Seminarsseminars
QR code
Year
2025
2024
2023
2022
...
/static/8193bd7cab1873bcb5fa0292181ce5b2/e9a79/thumb_seminar.png
15 พฤศจิกายน 2565
20221668470400000
RCT Human Capital Seminar Series

The Effect of Classroom Rank on Learning throughout Elementary School: Experimental Evidence from Ecuador

Zoom Meeting
The Effect of Classroom Rank on Learning throughout Elementary School: Experimental Evidence from Ecuador

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ร่วมกับ สถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย (RIPED) และกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (EEF) ได้จัดงาน RCT Human Capital Seminar Series ครั้งที่ 5 ขึ้น โดยได้รับเกียรติจาก Professor Pedro Carneiro จาก University College London มาบรรยายในหัวข้อ “The effect of classroom rank on learning throughout elementary school: experimental evidence from Ecuador” ซึ่งเป็นงานวิจัยที่ทำร่วมกับ Yyannu Cruz Aguayo, Francesca Salvati, และ Norbert Schady

งานวิจัยจำนวนหนึ่งพบว่าการที่เด็กคนหนึ่งเป็นเด็กคนเก่งระดับต้น ๆ ของห้อง ดังกับเป็น “big fish in a small pond” ช่วยเพิ่มความมั่นใจให้เด็ก และยิ่งช่วยให้เด็กเหล่านั้นตั้งใจเรียน มีความอยากเรียนรู้และประสบความสำเร็จในอนาคตมากขึ้น

Prof. Carneiro เล่าถึงโรงเรียนในเอกวาดอร์ซึ่งสุ่มห้องเรียนใหม่ให้กับนักเรียนในทุกปีการศึกษา ทำให้นักเรียนที่มีความสามารถเท่า ๆ กัน กระจายอยู่ในห้องเรียนที่มีเพื่อนร่วมห้องต่างกัน ดังนั้น หากเด็กสองคน มีคะแนนสอบในปีการศึกษาที่ผ่านมาเท่ากัน แต่คนหนึ่งถูกสุ่มไปอยู่ห้องที่มีเด็กเก่งมาก อันดับในห้องเรียน (หรือ classroom rank) ของเด็กคนนั้นก็จะอยู่ต่ำกว่าเด็กอีกคนซึ่งโดนจัดไปอยู่ในห้องที่มีเด็กเก่งน้อย

การที่โรงเรียนใช้วิธีสุ่มดังกล่าว จึงเปรียบเสมือนเป็นการทำการทดลองให้คณะผู้วิจัยสามารถเปรียบเทียบผลของ classroom rank จากเด็กที่มีความสามารถเท่า ๆ กันได้ งานศึกษาของ Prof. Carneiro ได้ใช้ข้อมูลจากโรงเรียนประถมในเอกวาดอร์ 200 โรงเรียน และติดตามเก็บข้อมูลเด็กคนเดิมต่อเนื่องตลอด 7 ปี ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึง 6th grade (ปี 2012–2018) โดยข้อมูลที่เก็บจะมีทั้งคะแนนทดสอบวิชาเลขและภาษา (ซึ่งเป็น standardized test) ความสามารถในการบริหารจัดการและควบคุมตนเอง (executive function) การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาโดยคุณครู รวมถึงข้อมูลด้านอารมณ์และสุขภาพจิต

การศึกษาพบสิ่งที่น่าสนใจดังนี้

  • Classroom rank มีผลต่อความสำเร็จของนักเรียน โดยเด็กที่อยู่อันดับต้น ๆ ในห้องเรียน มีคะแนนสอบเลขช่วงปลายปีการศึกษาที่สูงกว่าเด็กที่มีความสามารถเท่ากันเมื่อปีที่แล้ว แต่ปีนี้อันดับในห้องเรียนต่ำกว่า
  • ผลดังกล่าวเกิดขึ้นชัดเจนสำหรับอันดับของนักเรียนในช่วงประถมต้นถึงกลาง (1st - 4th grades) และความแตกต่างยิ่งเพิ่มมากขึ้นในระยะยาว
  • classroom rank มีผลต่อ executive function และระดับความสุขของนักเรียนด้วย

อย่างไรก็ดี Prof. Carneiro กล่าวว่า เนื่องจากเรื่อง classroom rank เป็น zero sum game มีทั้งเด็กที่ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์จากการโดนจัดอันดับ งานนี้จึงไม่ได้มีนัยทางนโยบายว่าควรสนับสนุนการจัดอันดับ เป็นเพียงการทดสอบสมมติฐานที่ว่า เด็กที่มีความมั่นใจในตัวเอง จะมีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จในอนาคต และงานนี้ยังมีจุดด้อยที่ว่า ยังไม่สามารถวัดเรื่องความมั่นใจได้โดยตรง เพียงแต่คาดเดาว่าความมั่นใจมีความสัมพันธ์กับอันดับในห้องเรียน

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

  • เอกสารนำเสนอ
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความนี้เป็นความเห็นของผู้เขียน ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
Pedro Carneiro
Pedro Carneiro

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

โทรศัพท์: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

เงื่อนไขการให้บริการ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2568 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

เอกสารเผยแพร่ทุกชิ้นสงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

รับจดหมายข่าว PIER

Facebook
YouTube
Email