Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Thailand and the Middle-Income Trap: An Analysis from the Global Value Chain Perspective
Discussion Paper ล่าสุด
Thailand and the Middle-Income Trap: An Analysis from the Global Value Chain Perspective
ค่าเงินบาทผันผวน: “ตัวปรับสมดุล” หรือ “ตัวป่วน” เศรษฐกิจไทย
aBRIDGEd ล่าสุด
ค่าเงินบาทผันผวน: “ตัวปรับสมดุล” หรือ “ตัวป่วน” เศรษฐกิจไทย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Confidence and College Applications: Evidence from a Randomized Intervention
งานสัมมนาล่าสุด
Confidence and College Applications: Evidence from a Randomized Intervention
The Impact of Climate Change on Thai Households
งานสัมมนาล่าสุด
The Impact of Climate Change on Thai Households
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ
ป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรไทย
ประกาศล่าสุด
ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรไทย
aBRIDGEdabridged
Making Research Accessible
QR code
Year
2023
2022
2021
2020
...
Topic
Development Economics
Macroeconomics
Financial Markets and Asset Pricing
Monetary Economics
...
/static/cd67c64f74234d00997204e68fd0d4b8/41624/cover.jpg
4 ธันวาคม 2560
20171512345600000

เก่าไป ใหม่มา นวัตกรรมสินค้ากับโครงสร้างเศรษฐกิจไทย ตอนที่ 1

พัฒนาการเศรษฐกิจไทยผ่านมุมมองนวัตกรรมสินค้า
เก่าไป ใหม่มา นวัตกรรมสินค้ากับโครงสร้างเศรษฐกิจไทย ตอนที่ 1
excerpt

กุญแจสำคัญที่สุดต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวคือความสามารถในการยกระดับ ‘ผลิตภาพ’ ของระบบเศรษฐกิจ เพราะผลิตภาพสะท้อนถึงความสามารถในการจัดการและพัฒนาระบบเศรษฐกิจเพื่อก้าวข้ามข้อจำกัดทางทรัพยากร งานวิจัยในช่วงหลังได้ให้ความสำคัญกับ ‘know how’ หรือองค์ความรู้และทักษะความชำนาญในแขนงต่าง ๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ และนำไปสู่การเพิ่มผลิตภาพของประเทศ ทว่า เราจะวัดระดับ know how ของแต่ละระบบเศรษฐกิจได้อย่างไร บทความนี้นำเสนอวิธีการวัด know how โดยการสะท้อนจากโครงสร้างสินค้าที่แต่ละประเทศผลิตในแต่ละช่วงเวลา และศึกษาปัจจัยกำหนดการก้าวกระโดดไปยังสินค้ากลุ่มใหม่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจ รวมทั้งแกะรอยวิวัฒนาการของเศรษฐกิจไทยจากมุมมองของนวัตกรรมสินค้า

Know how กับศักยภาพของระบบเศรษฐกิจ

หัวใจสำคัญของผลิตภาพ คือ นวัตกรรม เพราะนวัตกรรมคือการขยายขอบเขตของสิ่งที่เป็นไปได้ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างวัตถุหรือเทคโนโลยีที่แปลกใหม่ การพัฒนารูปแบบสินค้าและบริการที่ไม่เคยมีมาก่อน หรือการเพิ่มปริมาณผลผลิตด้วยต้นทุนเท่าเดิม รวมทั้งการปรับปรุงกระบวนการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต นวัตกรรมเหล่านี้สร้างความเปลี่ยนแปลงที่จับต้องได้ และเป็นฟันเฟืองสำคัญในการยกระดับผลิตภาพและขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปข้างหน้า

ปัจจัยกำหนดความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมนั้นมีหลายอย่างด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นความพร้อมด้านทรัพยากร เครื่องไม้เครื่องมือ หรือโครงสร้างพื้นฐาน แต่สิ่งที่ขาดไม่ได้ในการสร้างนวัตกรรมคือ ‘know how’ หรือความรู้และทักษะความชำนาญที่อยู่ในตัวบุคคลหรือองค์กร ซึ่งเกิดจากการสั่งสมความรู้ ประสบการณ์และการฝึกฝน ในขณะที่บทบาทหลักของระบบเศรษฐกิจคือการเอื้อให้ความรู้และความสามารถที่กระจัดกระจายอยู่ในแต่ละคน แต่ละองค์กร สามารถรวมตัวและเชื่อมต่อกันได้เพื่อสร้างสินค้าและบริการที่มีความซับซ้อนและมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ รวมทั้งทำให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่ ๆ เหล่านี้ในวงกว้าง

เราจะวัด know how ได้อย่างไร

Hausmann และ Hidalgo (2009, 2011) ได้เสนอวิธีวัดระดับ know how ของแต่ละระบบเศรษฐกิจจากโครงสร้างสินค้าที่แต่ละประเทศผลิต จากแนวคิดที่ว่าสินค้าแต่ละประเภทสะท้อนระดับองค์ความรู้และความสามารถในการบริหารจัดการของระบบเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน หากเปรียบเทียบสินค้าสองประเภท เช่น คอมพิวเตอร์กับดินสอ แน่นอนว่าคอมพิวเตอร์มีความซับซ้อนมากกว่าดินสอหลายเท่าตัว ต้องใช้ชิ้นส่วนจำนวนมาก ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง มีการพึ่งเครือข่ายการผลิตที่หลากหลาย ขณะที่ดินสอมีความซับซ้อนในการผลิตน้อยกว่ามาก ดังนั้นประเภทและความหลากหลายของสินค้าที่แต่ละประเทศผลิตจึงสะท้อนถึงองค์ความรู้ ทักษะความชำนาญ และระดับศักยภาพในการผลิตที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถคำนวณออกมาเป็นตัวชี้วัดที่เรียกว่า Economic Complexity Index (ECI) ในระดับประเทศ และสำหรับสินค้าแต่ละชนิดสามารถคำนวณค่าความซับซ้อนที่เรียกว่า Product Complexity Index (PCI)

การวัดระดับศักยภาพของประเทศด้วยวิธีนี้ให้ความสำคัญกับโครงสร้างสินค้าใน 2 มิติหลักคือ 1) ความหลากหลายของสินค้า 2) ความซับซ้อนของสินค้า โดยประเทศที่มี ECI สูงสะท้อนถึงองค์ความรู้และศักยภาพที่หลากหลายและซับซ้อนกว่าประเทศอื่น ๆ รวมทั้งโครงสร้างทางพื้นฐานและโครงสร้างทางสถาบันในระบบเศรษฐกิจที่เอื้อให้องค์ความรู้เหล่านั้นสามารถเชื่อมถึงกันและเกิดการสร้างนวัตกรรมสินค้า (product innovation) ที่ช่วยยกระดับผลิตภาพของประเทศ

รูปที่ 1 แสดงระดับดัชนี ECI รายประเทศในปี 2015 (แกนตั้ง) เทียบกับค่าเฉลี่ยรายได้ต่อหัวของแต่ละประเทศ (แกนนอน) พบว่า ECI มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างชัดเจนกับความมั่งคั่งหรือระดับการพัฒนาของเศรษฐกิจที่วัดจากรายได้ต่อหัว ถือเป็นการยืนยันได้ทางหนึ่งถึงความสามารถของดัชนี ECI ที่สร้างขึ้นโดยอาศัยข้อมูลโครงสร้างสินค้าในการสะท้อนระดับ know how หรือศักยภาพของประเทศโดยรวม

รูปที่ 1 Economic Complexity Index vs GDP per Capita, 2015

Economic Complexity Index vs GDP per Capita, 2015

ที่มา : The Atlas of Economic Complexity and World Development Indicators, คำนวณโดยผู้เขียน

The Product Space

จากแนวคิดที่ว่าประเภทของสินค้าที่ประเทศผลิตสะท้อนองค์ความรู้และความพร้อมด้านต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องมีในกระบวนการสร้างสินค้าชนิดนั้น ๆ ดังนั้น การติดตามการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างสินค้าของแต่ละประเทศจึงสามารถบอกเราได้ถึงที่มาที่ไปและพัฒนาการของเศรษฐกิจผ่านมุมมองของการเกิดนวัตกรรมสินค้าในแต่ละช่วงเวลา Hausmann และ Hidalgo (2011) สร้างเครื่องมือที่เรียกว่า ‘Product Space’ (รูปที่ 2) ซึ่งเปรียบเสมือนแผนที่แสดงความเชื่อมโยงระหว่างสินค้าตามระดับความสัมพันธ์ของสินค้าแต่ละคู่ในแง่ของ know how ที่ใช้ในการผลิต และใช้ product space นี้ในการศึกษากระบวนการเกิดขึ้นของสินค้าใหม่และเส้นทางการพัฒนาของแต่ละประเทศ

รูปที่ 2 The Product Space

The Product Space

ที่มา : Hausmann et al. (2011), The Atlas of Economic Complexity.

หลักการของ product space คือการสร้าง network ของสินค้าตามความ ‘ใกล้เคียง’ กันขององค์ความรู้ที่ใช้ในการผลิต ความใกล้เคียงกันของสินค้าแต่ละคู่หรือ ‘product proximity’ นี้คำนวณโดยใช้ข้อมูลสถิติการส่งออกของทุกประเทศทั่วโลกในการหาค่าความน่าจะเป็นที่สินค้าคู่นั้น ๆ จะถูกส่งออกโดยประเทศใดประเทศหนึ่ง กล่าวคือ หากสินค้า A กับ B มักถูกส่งออกโดยประเทศเดียวกัน สินค้าคู่นี้น่าจะมีการใช้องค์ความรู้ร่วมกันมากกว่าสินค้า A กับ C ที่มักถูกส่งออกจากคนละประเทศ ดังนั้น สินค้า A จะถูกจัดวางไว้ใกล้กับ B และห่างจาก C และเมื่อนำสินค้าทุกประเภทมาจัดวางบนแผนที่ตามค่า proximity นี้จะได้ product space โดยแต่ละวงกลมคือสินค้าแต่ละชนิด ขนาดของวงกลมแทนค่า PCI ของสินค้า ในขณะที่สีแสดงกลุ่มสินค้า (cluster) ซึ่งสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกันมักอยู่ใกล้กัน สะท้อนองค์ความรู้ร่วมของสินค้าในกลุ่ม

บริเวณรอบนอกของ product space มักมีสินค้าอยู่กระจัดกระจายและมีความเชื่อมโยงกันค่อนข้างน้อย สะท้อนว่าสินค้าเหล่านี้มีความเชื่อมโยงของ know how ที่ใช้ในการผลิตค่อนข้างต่ำ ซึ่งส่วนใหญ่คือสินค้าทางการเกษตรและทรัพยากรธรรมชาติ ในขณะที่บริเวณกึ่งกลางของ product space มีความหนาแน่นและกระจุกตัวของสินค้าค่อนข้างมาก สะท้อนความเชื่อมโยงของ know how ที่ซับซ้อนและหลากหลายยิ่งขึ้นที่จำเป็นต้องใช้ในการผลิตสินค้าที่มีความซับซ้อนสูง ได้แก่สินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีและทักษะความชำนาญขั้นสูง

จากโครงสร้าง product space ของสินค้าทั้งหมด เราสามารถสร้าง product space ของแต่ละประเทศได้โดยใช้ข้อมูลการส่งออกรายสินค้าของประเทศ รูปที่ 3 แสดง ตัวอย่าง product space ของประเทศเยอรมัน เวียดนาม และซูดาน ซึ่งเป็นประเทศที่อยู่ในกลุ่ม ECI สูง ปานกลาง และต่ำ ตามลำดับ จะเห็นว่าจำนวนสินค้าที่ประเทศเยอรมันผลิตมีความหลากหลายกว่าอีกสองประเทศมาก และส่วนใหญ่กระจุกตัวบริเวณตรงกลางของ product space สะท้อนความซับซ้อนของ องค์ความรู้และศักยภาพการผลิตที่อยู่ในระดับสูง ในขณะที่ ซูดานมีความสามารถในการแข่งขันในสินค้าส่งออกเพียงไม่ กี่ประเภทและส่วนใหญ่กระจายอยู่บริเวณขอบนอกของ product space บ่งชี้ถึงระบบเศรษฐกิจที่มีความซับซ้อนอยู่ในระดับต่ำ

รูปที่ 3 Country’s Product Space in 2015

Country’s Product Space in 2015

ที่มา : The Atlas of Economic Complexity.

ปัจจัยกำหนด product innovation ในระดับประเทศ

จากตัวอย่างของ product space ข้างต้น คำถามที่ตามมาคือ เหตุใดบางประเทศจึงมีสินค้าที่หลากหลายและซับซ้อนกว่าประเทศอื่น ๆ อะไรเป็นตัวกำหนดการเกิดนวัตกรรมสินค้าในแต่ละประเทศ

Apaitan และคณะ (2017) ศึกษากระบวนการ product innovation โดยใช้ข้อมูลการส่งออกรายสินค้าของแต่ละประเทศจำนวนทั้งสิ้น 99 ประเทศ ครอบคลุมสินค้า 1,241 รายการ ในช่วงเวลา 1999–2015 เพื่อตอบคำถามว่าปัจจัยใดเพิ่มโอกาสที่สินค้าชนิดหนึ่งจะถูกเพิ่มในตะกร้าการส่งออกของประเทศได้สำเร็จ โดยมุ่งเน้นที่ความสำคัญของการต่อยอดพื้นฐานองค์ความรู้ของประเทศในการขยายขอบเขตโครงสร้างสินค้า และได้สร้างตัวชี้วัดที่เรียกว่า ความเกี่ยวเนื่อง (Relatedness) ที่สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างสินค้าใหม่ชิ้นหนึ่ง ๆ กับโครงสร้างสินค้าของแต่ละประเทศในจุดตั้งต้น โดยหากสินค้าที่กำลังพิจารณาต้องใช้องค์ความรู้ที่ใกล้เคียงกับองค์ความรู้ที่ประเทศมีอยู่แล้วสะท้อนจากโครงสร้างการผลิตในปัจจุบัน ระดับความเกี่ยวเนื่องจะมีค่าสูง

ตารางที่ 1 Panel regressions อธิบายปัจจัยกำหนดโอกาสในการเพิ่มสินค้าใหม่ในระดับประเทศ

Panel regressions อธิบายปัจจัยกำหนดโอกาสในการเพิ่มสินค้าใหม่ในระดับประเทศ

ที่มา : Apaitan และคณะ (2017)Note : * p<0.01p < 0.01p<0.01, p<0.05p < 0.05p<0.05, * p<0.1p<0.1p<0.1; Robust z-statistics in parentheses. Standard errors clustered at the country level. Jumpc,p=1\text{Jump}_{c,p} = 1Jumpc,p​=1 if country ccc succeeded in adding product ppp into its competitive export basket over a 10-year period; 0 otherwise. Dummy(RCA=0)=1\text{Dummy}(\text{RCA}=0) = 1Dummy(RCA=0)=1 if product ppp has never been exported before by country ccc. Relatedness measures how close product ppp is to the country ccc‘s export mix in the initial year. PCI = Product Complexity Index of product ppp. ECI = Economic Complexity Index of country ccc.

ผลการศึกษา (ตารางที่ 1) พบว่า โอกาสที่ประเทศจะประสบความสำเร็จในการเพิ่มสินค้าใดสินค้าหนึ่งมาเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของประเทศได้ ขึ้นอยู่กับความเกี่ยวเนื่องของสินค้าใหม่นั้นกับโครงสร้างสินค้าในปัจจุบันของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ หากพิจารณาในมุมมองของ product space ซึ่งเปรียบเสมือนแผนที่แสดง know how ของประเทศ ผลการศึกษานี้ชี้ว่า สินค้าใหม่ชิ้นต่อไปที่ประเทศจะส่งออกได้สำเร็จมักเป็นสินค้าที่อยู่ในรัศมีใกล้เคียงกับสินค้าเดิมที่ประเทศผลิตได้อยู่แล้ว กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ นวัตกรรมสินค้ามักเกิดขึ้นจากการต่อยอดองค์ความรู้ทักษะความชำนาญเดิมที่มีอยู่ ดังนั้น โครงสร้างสินค้าในปัจจุบันจึงเป็นตัวกำหนดที่สำคัญต่อประเภทสินค้าใหม่ ๆ ที่ประเทศจะขยับขยายต่อไปในอนาคต เรียกว่าเป็นพัฒนาการที่มีลักษณะ path-dependent นั่นเอง

อย่างไรก็ดี ผลการศึกษาชี้ว่า สำหรับประเทศที่มีความซับซ้อนหรือ ECI สูง ปัจจัยความเกี่ยวเนื่องของสินค้าจะมีความสำคัญลดลง (ค่า interaction term ระหว่าง Relatedness กับ ECI เป็นลบ) ซึ่งอาจตีความได้ว่า ประเทศที่มีศักยภาพสูงและมีองค์ความรู้ที่หลากหลายอยู่แล้วจะสามารถก้าวกระโดดไปยังสินค้าที่ห่างไกลจากโครงสร้างสินค้าปัจจุบันได้ง่ายกว่าประเทศอื่น ๆ

The Country Space

นอกเหนือจากการเปรียบเทียบระดับความซับซ้อนระหว่างประเทศแล้ว ข้อมูลใน product space ยังสามารถใช้ประโยชน์ในการจำแนกประเทศต่าง ๆ ตามความใกล้เคียงของโครงสร้างสินค้าได้อีกด้วย ซึ่งช่วยให้เราเห็นภาพโครงสร้างการผลิตและความเชื่อมโยงของ know how ในระดับโลก Apaitan และคณะ (2017) ได้สร้าง country space โดยหลักการที่คล้ายคลึงกับ product space กล่าวคือ เป็นการสร้าง network ของประเทศตามความใกล้เคียงกันขององค์ความรู้ของประเทศนั้น ๆ ซึ่งคำนวณได้จากค่า correlation ของเวกเตอร์ของ relatedness สำหรับประเทศแต่ละคู่ รูปที่ 4 แสดง country space ของปี 1995 และ 2015 โดยสีต่าง ๆ จะแสดงภูมิภาคที่ประเทศเหล่านั้นตั้งอยู่ และขนาดของวงกลมแทนจำนวนสินค้าที่ประเทศนั้นส่งออกอย่างมีนัยสำคัญ

รูปที่ 4 The Country Space

The Country Space

ที่มา : Apaitan และคณะ (2017)

จากแผนภาพ จะเห็นได้ว่าในปี 1995 ประเทศโดยส่วนใหญ่มักเกาะกลุ่มกันตามภูมิภาคเป็นหลัก เช่น กลุ่มประเทศเอเชียรวมถึงไทยอยู่ทางด้านซ้าย ในขณะที่ด้านบนเป็นการเกาะกลุ่มกันของประเทศในทวีปยุโรป รวมไปถึงสหรัฐอเมริกา จะมีเพียงญี่ปุ่นเท่านั้นที่มีโครงสร้างสินค้าที่ค่อนไปทางยุโรป การกระจายตัวแบบเกาะกลุ่มตามภูมิภาคนี้แสดงให้เห็นว่า ในสองทศวรรษก่อนการแพร่กระจายของ know how มักจะมีมิติเรื่องพื้นที่เข้ามาเกี่ยวข้องโดยประเทศที่ตั้งอยู่ใกล้กันก็มักจะมีสินค้าที่คล้ายคลึงกัน ทำให้ระดับการพัฒนาใกล้เคียงกันไปด้วย

แต่หากเปรียบเทียบกับ country space ในปี 2015 จะเห็นได้ว่า หลาย ๆ ประเทศเริ่มแยกตัวออกจากกลุ่มอย่างเห็นได้ชัด ตัวอย่างเช่น ในยุโรปจะพบว่า กลุ่มประเทศยุโรปตะวันตกและตะวันออกเริ่มมีความแตกต่างกันมากขึ้น อิสราเอลและเม็กซิโกมีการแยกตัวจากกลุ่มเดิมมาแทรกตัวอยู่ในกลุ่มยุโรป ในขณะที่เกาหลีใต้ สิงคโปร์ และไต้หวัน กลายเป็นประเทศที่มีโครงสร้างสินค้าคล้ายคลึงกับยุโรปและสหรัฐอเมริกามากขึ้น สะท้อนว่าในยุคปัจจุบัน พรหมแดนของประเทศอาจไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการแพร่กระจายของ know how อีกต่อไป

พัฒนาการเศรษฐกิจไทยผ่านมุมมอง Product Innovation

ระดับศักยภาพที่แตกต่างกันระหว่างประเทศในปัจจุบัน เป็นผลมาจากวิวัฒนาการทางเศรษฐกิจที่ดำเนินมาเป็นระยะเวลานาน การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสินค้าในแต่ละช่วงเวลาจึงเป็นอีกมิติหนึ่งที่จะช่วยให้เราย้อนดูพัฒนาการที่เกิดขึ้นกับประเทศได้ และเป็นที่น่าสนใจว่า สำหรับประเทศไทยนั้นกว่าจะเป็นประเทศที่มีระดับความซับซ้อนเช่นในปัจจุบัน เราต้องเผชิญการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างมาอย่างไร

เมื่อเปรียบเทียบ ECI ของไทยเทียบกับประเทศต่าง ๆ (รูปที่ 5 ภาพซ้าย) นับได้ว่าประเทศไทยมีพัฒนาการที่ดีมาโดยตลอดในช่วงกว่าครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา สะท้อนความสำเร็จของประเทศไทยในการสร้างอุตสาหกรรมและการก้าวไปสู่สินค้าใหม่ ๆ ที่มีความซับซ้อนสูงขึ้น โดย ECI ของเศรษฐกิจไทยไต่อันดับจากประมาณที่ 75 ในอดีตมาอยู่ในอันดับที่ 24 ของโลกในปัจจุบัน หลายประเทศในเอเชียไม่ว่าจะเป็นมาเลเซีย จีน เวียดนาม ต่างก็มีระดับความซับซ้อนสูงขึ้นเช่นกัน แต่กล่าวได้ว่าพัฒนาการของไทยไม่น้อยหน้าใครในภูมิภาคนี้

รูปที่ 5 Economic Complexity Index and Product Complexity Index

Economic Complexity Index and Product Complexity Index

ที่มา : Hausmann et al. (2011), the Atlas of Economic Complexity, and World Development Indicators, authors’ calculation.

พัฒนาการด้านความซับซ้อนของสินค้าไทยที่เพิ่มสูงขึ้นนี้สะท้อนในรูปที่ 5 ภาพขวา ซึ่งแสดงสัดส่วนของมูลค่าสินค้าส่งออกของไทยแบ่งตามระดับความซับซ้อนของสินค้าจากมาก (แถบสีน้ำเงิน) ไปน้อย (แถบสีเขียว) จะเห็นได้ว่าสินค้าซับซ้อนสูงมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ก่อนที่จะทรงตัวในระยะหลัง

หากพิจารณาในมุมมองของ product space ของไทยซึ่งแสดงในรูปที่ 6 (โดยในที่นี้ ขนาดของวงกลมแสดงมูลค่าของสินค้าส่งออกในกลุ่มนั้น ๆ) จะเห็นได้ว่าโครงสร้างสินค้าส่งออกไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจนในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา จากในช่วงแรกที่พึ่งการส่งออกผลผลิตด้านการเกษตรและสิ่งทอเป็นหลัก ค่อย ๆ เพิ่มทักษะความสามารถในการผลิตมาสู่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และก้าวสู่ความสำเร็จในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ในที่สุด ซึ่งพัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปของโครงสร้างสินค้าไทยนี้เป็นไปตามลักษณะของ path dependence ที่อธิบายไว้ข้างต้น และเน้นย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของการเพิ่มความหลากหลายและการต่อยอดของ know how ในการขยายขอบเขตความสามารถและการพัฒนานวัตกรรมสินค้า

รูปที่ 6 Thailand’s Product Space

Thailand’s Product Space

ที่มา : The Atlas of Economic Complexity.

อย่างไรก็ดี หากย้อนกลับไปพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่าง ECI กับระดับรายได้ของแต่ละประเทศในรูปที่ 1 ข้อสังเกตหนึ่งคือ เศรษฐกิจไทยที่มีพัฒนาการของสินค้าก้าวหน้ามาโดยตลอดจนมีค่า ECI ที่อยู่ในระดับสูงในปัจจุบัน แต่กลับมีระดับรายได้ต่อหัวที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับประเทศที่มี ECI ระดับเดียวกัน นำไปสู่คำถามว่า มีปัจจัยบางอย่างที่ฉุดรั้งเศรษฐกิจไทยให้ไม่ได้รับผลประโยชน์อย่างเต็มที่จากศักยภาพของประเทศหรือไม่ ซึ่งเราจะได้เจาะลึกข้อมูลในระดับบริษัทเพื่อค้นหาคำตอบต่อไปในตอนที่ 2 ของบทความนี้

ข้อสรุป

งานวิจัยที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าโครงสร้างสินค้าส่งออกของแต่ละประเทศสามารถชี้วัดได้ถึงระดับศักยภาพของประเทศได้เป็นอย่างดี ผลการศึกษาพบว่านวัตกรรมสินค้าหรือสินค้าใหม่ที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลา มักมีความเกี่ยวเนื่องกับสิ่งที่ประเทศมีความรู้ความสามารถในการผลิตอยู่แล้ว การก้าวกระโดดไปผลิตสินค้าที่มีความแตกต่างอย่างมากจากโครงสร้างสินค้าในปัจจุบันมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อย สำหรับประเทศไทย วิวัฒนาการของโครงสร้างสินค้าจากอดีตถึงปัจจุบัน ชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยมีพัฒนาการด้านศักยภาพการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน สะท้อนความหลากหลายและความซับซ้อนขององค์ความรู้ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่การที่ระดับรายได้ต่อหัวของไทยอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับประเทศที่มีระดับความซับซ้อนทัดเทียมกัน อาจส่งสัญญาณว่ามีข้อจำกัดบางประการที่ทำให้เศรษฐกิจไทยโดยรวมไม่ได้รับประโยชน์จากองค์ความรู้ของประเทศอย่างเต็มที่

เอกสารอ้างอิง

Apaitan, T., N. Ananchotikul and P. Disyatat (2017), “Structural Transformation in Thailand: A Perspective Through Product Innovation,” PIER Discussion Paper, No. 72.

Hausmann, R and C Hidalgo (2011), “The Network Structure of Economic Output,” Journal of Economic Growth 16(4), pp. 309–342.

Hidalgo, C and R Hausmann (2009), “The Building Blocks of Economic Complexity,” Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America 106(26), pp. 10570–10575.

ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความนี้เป็นความเห็นของผู้เขียน ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
Topics: Productivity and Technological ChangeDevelopment Economics
Tags: customs dataeconomic growthproduct innovationstructural transformation
ทศพล อภัยทาน
ทศพล อภัยทาน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ณชา อนันต์โชติกุล
ณชา อนันต์โชติกุล
กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร
ปิติ ดิษยทัต
ปิติ ดิษยทัต
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

โทรศัพท์: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

เงื่อนไขการให้บริการ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2566 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

เอกสารเผยแพร่ทุกชิ้นสงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

รับจดหมายข่าว PIER

Facebook
YouTube
Email