ทำไมระบบประกันภัยพืชผลที่ยั่งยืนจึงยังไม่เกิดในประเทศไทย

บทความนี้กลั่นกรองเนื้อหาจากบทความ aBRIDGEd ฉบับเต็มเรื่อง “มิติใหม่ของข้อมูลความเสี่ยงภาคเกษตร กับการพัฒนาระบบการประกันภัยพืชผลที่ยั่งยืน”
ทุก ๆ ปีจะมีเกษตรกรราว 0.5–1.4 ล้านครัวเรือน (หรือประมาณ 10–30% ของเกษตรกรทั่วประเทศ) ที่จะประสบปัญหาผลผลิตตกต่ำจากภัยพิบัติต่าง ๆ รัฐบาลทุกสมัยต่างก็ได้ให้ความสำคัญกับนโยบายที่จะช่วยเหลือ และสร้างภูมิคุ้มกันให้เกษตรกรในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งนอกเหนือจากมาตรการเยียวยา และการช่วยเหลื่อผ่านสินเชื่อธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ซึ่งต้องใช้เม็ดเงินหลักหมื่นล้านบาทแล้ว ตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา รัฐได้จับมือกับภาคเอกชนออกโครงการประกันภัยข้าวนาปีซึ่งมุ่งหวังให้เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือทางการเงินของชาวนาในการจัดการความเสี่ยงด้วยตนเองโดยรัฐอุดหนุนเบี้ยประกันถึง 60–85% แต่โครงการนี้กลับได้รับการตอบรับไม่ถึง 2% ของพื้นที่นาทั้งหมด ที่น่าจับตามองคือ ในฤดูปลูก 2559/60 จะเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของโครงการนี้ โดยชาวนาที่เป็นลูกหนี้ ธกส. ทุกคน ซึ่งครอบคลุมมากกว่า 50% ของพื้นที่นาทั้งหมด จะได้รับประกันภัยข้าวนาปีฟรี!!! นี่คือข่าวดี หรือข่าวร้าย? มีอะไรบ้างที่ผู้ดำเนินนโยบายควรคิดให้ดี?...
[อ่านต่อที่ ThaiPublica]