บทความนี้กลั่นกรองเนื้อหาจากบทความ aBRIDGEd ฉบับเต็มเรื่อง “สินเชื่อภาคธนาคาร กับการส่งผ่านนโยบายการเงิน”
“ฝนที่ตกทางโน้น หนาวถึงคนทางนี้…” ท่อนหนึ่งในเพลงดังของพี่เบิร์ดมักจะดังก้องขึ้นมาในหัว เมื่อดิฉันนึกถึงคำว่า international financial spillovers เพราะมันสะท้อนได้ดีถึงบริบทที่ เมื่อมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นที่อื่น ที่จริง ๆ แล้วไม่น่าจะส่งผลโดยตรงกับสถานการณ์ในอีกที่หนึ่ง แต่มันกลับมีผลกระทบได้มากกว่าที่คิด
ยกตัวอย่างกรณีการคาดเดาการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ Fed ที่ตลาดการเงินและธนาคารกลางอื่น ๆ ทั่วโลกจับตามองกันอย่างใกล้ชิด เมื่อ Fed ส่งสัญญาณอะไรออกมา โดยเฉพาะที่ผิดความคาดหมายของตลาด ก็มักจะสร้างความปั่นป่วนให้กับตลาดเงินตลาดทุนและอัตราแลกเปลี่ยนทั่วโลกอยู่ไม่น้อย (หลายคนคงจำกันได้กับเหตุการณ์ taper tantrum เมื่อกลางปี 2013)
ตัวอย่างนี้ชี้ให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงของภาวะการเงินในประเทศเศรษฐกิจหลักสามารถส่งผลได้ค่อนข้างมากต่อสภาวะทางการเงินของประเทศอื่น ๆ และดูเหมือนความเชื่อมโยงนี้จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่หลังวิกฤตเศรษฐกิจโลกเป็นต้นมา คำถามคือ การส่งผ่านผลกระทบทางการเงินข้ามพรมแดน (international financial spillovers) นี้มีช่องทางและกลไกการส่งผ่านอย่างไร และเราต้องกังวลกับการที่การเงินโลกมีความเชื่อมโยงเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ หรือไม่...
[อ่านต่อที่ ThaiPublica]