Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
Discussion Paper ล่าสุด
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
aBRIDGEd ล่าสุด
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
งานประชุมเชิงปฏิบัติการต่อไป
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
งานสัมมนาล่าสุด
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ
ป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
ประกาศล่าสุด
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
PIER Blogblog
QR code
Year
2025
2024
2023
2022
...
/static/ad9f4685a1112bc8b834abed27cf127b/e9a79/cover.png
10 สิงหาคม 2565
20221660089600000

ความเหมือนภายใต้ความแตกต่าง: ทัศนคติและค่านิยมกับการเลือกพรรคการเมือง

บุญธิดา เสงี่ยมเนตร
Made with Flourish

ท่ามกลางความร้อนระอุของการเมือง เราอาจจะรู้สึกถึงการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายจากการคิดต่างในสังคม คนที่เลือกพรรคการเมืองที่ต่างกันจะมีทัศนคติและค่านิยมต่างกันสุดขั้วจริงหรือไม่? หรือแท้จริงแล้วคนในสังคมอาจมีทัศนคติและค่านิยมบางอย่างร่วมกันมากกว่าที่เราคิด

โครงการวิจัย “คิดต่าง อย่างมีภูมิ” ได้พยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับความสมานฉันท์และความคิดต่างในสังคมไทย ผ่านการสำรวจข้อมูลกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 2,016 รายบนช่องทางออนไลน์ในช่วงระหว่างเดือนสิงหาคม – กันยายน 2564 โดยส่วนหนึ่งของงานวิจัยได้สำรวจระดับความแตกต่างทางทัศนคติและค่านิยมของกลุ่มตัวอย่างภายใต้นิยามของเสรีนิยมและอนุรักษ์นิยมที่กำหนด ดังนี้

  • เสรีนิยม มีทัศนคติหรือค่านิยมที่สำคัญคือ “คิดใหม่ ให้เท่าเทียม” โดยมักจะให้ความสำคัญกับค่านิยมหลัก ๆ เช่น สิทธิ เสรีภาพ ความหลากหลาย ความเสมอภาค และความเท่าเทียม เป็นต้น
  • อนุรักษ์นิยม มีทัศนคติหรือค่านิยมที่สำคัญคือ “ของเดิมดี มีค่ารักษาไว้” โดยเป็นให้ความสำคัญกับค่านิยมหลัก ๆ เช่น ประเพณีนิยม ศีลธรรมอันดีงาม ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ความมั่นคงในชีวิต และการเคารพผู้อาวุโส เป็นต้น

กลุ่มตัวอย่างที่สำรวจจะตอบคำถามเกี่ยวกับทัศนคติหรือค่านิยมของตนเอง โดยให้คะแนนในสเกล 1–6 ไล่ระดับตั้งแต่การมีค่านิยมค่อนไปทางเสรีนิยมมาก (1) ปานกลาง (2) น้อย (3) ไปยังการมีค่านิยมค่อนไปทางอนุรักษ์นิยมน้อย (4) ปานกลาง (5) มาก (6) ซึ่งจากการสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติหรือค่านิยมค่อนไปทางเสรีนิยม 1,426 ราย (ร้อยละ 71) และอีก 590 ราย (ร้อยละ 29) มีแนวคิดค่อนไปทางอนุรักษ์นิยม

อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบระดับทัศนคติหรือค่านิยมของตัวอย่างแต่ละกลุ่มในปี 2564 ว่าเดิมทีคนเหล่านั้น “เคย” เลือกพรรคการเมืองใดในการเลือกตั้งใหญ่ปี 2562 ทำให้เราได้ข้อค้นพบที่น่าสนใจ ได้แก่

คนที่เลือกพรรคต่างกัน ไม่จำเป็นต้องมีค่านิยมที่แตกต่างกันเสมอไป

คนที่เคยเลือกพรรคการเมืองคนละพรรคกัน ก็อาจมีทัศนคติหรือค่านิยมในปัจจุบันที่คล้ายคลึงกันได้ ดังจะเห็นได้จาก คนที่สนับสนุนแนวคิดเดียวกันในปี 2564 ไม่ว่าจะเป็นแบบเสรีนิยมหรืออนุรักษ์นิยมนั้นมาจากกลุ่มคนที่เคยเลือกพรรคการเมืองที่ต่างกันในปี 2562

อย่างไรก็ดี เราไม่สามารถบอกได้ว่าการที่คนมีค่านิยมที่คล้ายคลึงกันในปี 2564 นั้นมาจากสาเหตุใด ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากคนมีการเปลี่ยนทัศนคติ เนื่องจากพลวัติทางด้านเศรษฐกิจการเมืองในช่วง 2 ปี ที่ผ่านมา หรือแท้จริงแล้วอาจเป็นเพราะคนที่เคยเลือกพรรคการเมืองที่ต่างกันแต่มีทัศนคติหรือค่านิยมบางอย่างร่วมกันอยู่แล้วตั้งแต่ต้นก็เป็นได้

คนที่เลือกพรรคเดียวกัน ไม่จำเป็นต้องมีความสุดขั้วในระดับเดียวกัน

คนที่เคยเลือกพรรคเดียวกันในปี 2562 ต่างก็มีระดับความสุดขั้วที่แตกต่างกันในแง่ของความเป็นเสรีนิยมและอนุรักษ์นิยมในปี 2564 ดังจะเห็นได้จาก กลุ่มตัวอย่างที่เคยเลือกอนาคตใหม่ ก็มีระดับความสุดขั้วของแนวคิดแบบเสรีนิยมที่แตกต่างกัน

ทั้งนี้ ด้วยข้อจำกัดของการเก็บข้อมูลในลักษณะออนไลน์ จึงทำให้ตัวอย่างที่ได้เป็นกลุ่มคนที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้เท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 30–59 ปี โดยมากมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพ และมีรายได้ค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับประชากรไทยโดยทั่วไป

อย่างไรก็ดี ถึงแม้ผลการศึกษาดังกล่าวจะยังไม่สามารถสะท้อนภาพรวมของสังคมโดยรวมได้ แต่ก็พอจะทำให้เราเห็นภาพได้ว่า ท่ามกลางความแตกต่างที่เราเห็นนั้น คนเราอาจมีทัศนคติ ค่านิยม และแนวคิดบางอย่างร่วมกันมากกว่าที่เราคิดก็เป็นได้

แหล่งข้อมูล

  • โครงการวิจัย “คิดต่าง อย่างมีภูมิ”
บุญธิดา เสงี่ยมเนตร
บุญธิดา เสงี่ยมเนตร
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความนี้เป็นความเห็นของผู้เขียน ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

โทรศัพท์: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

เงื่อนไขการให้บริการ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2568 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

เอกสารเผยแพร่ทุกชิ้นสงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

รับจดหมายข่าว PIER

Facebook
YouTube
Email