Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
Discussion Paper ล่าสุด
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
aBRIDGEd ล่าสุด
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
งานประชุมเชิงปฏิบัติการต่อไป
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
งานสัมมนาล่าสุด
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ
ป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
ประกาศล่าสุด
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
PIER Blogblog
QR code
Year
2025
2024
2023
2022
...
/static/3780c0ac431ac43fc31c98412bc6071f/e9a79/cover.png
18 พฤศจิกายน 2567
20241731888000000
PIER Digest Series

ภาครัฐกับการช่วยคนหางานในประเทศกำลังพัฒนา

ดล ตะวันพิทักษ์
ภาครัฐกับการช่วยคนหางานในประเทศกำลังพัฒนา

ประเทศกำลังพัฒนาหลาย ๆ ประเทศกำลังประสบปัญหาการว่างงานอย่างหนัก ทั้งปัญหาเดิมที่แรงงานหางานดี ๆ ทำไม่ได้ และปัญหาใหม่ที่เครื่องจักรเข้ามาทำงานแทนที่คน

สิ่งเหล่านี้กดดันให้รัฐบาลของแต่ละประเทศต้องยื่นมือเข้าช่วย ซึ่งความช่วยเหลือก็มักจะมาในสองรูปแบบ ได้แก่ การอบรมเพิ่มพูนทักษะ และการช่วยจับคู่คนกับงาน

งานวิจัยของ Carranza and McKenzie (2024) ได้ตั้งคำถามว่า ควรใช้นโยบายช่วยเหลือทั้งสองรูปแบบนี้หรือไม่? ควรใช้เมื่อไหร่? และควรใช้อย่างไร? โดยผู้วิจัยทั้งสองได้รวบรวมผลลัพธ์เชิงประจักษ์จากงานวิจัยชิ้นอื่น ๆ ซึ่งทำในประเทศแถบเอเชียกลาง ตะวันออกกลาง แอฟริกา และอเมริกาใต้ รวมแล้วกว่า 20 ประเทศมาวิเคราะห์ และได้ข้อสรุปดังต่อไปนี้

ควรใช้หรือไม่?

โดยทั่วไปแล้ว ไม่ควรใช้นโยบายทั้งสองรูปแบบ เพราะนโยบายช่วยเหลือเหล่านี้มักเกิดขึ้นด้วยเหตุผลทางการเมืองมากกว่าเหตุผลทางเศรษฐกิจ การว่างงานนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุมาก การเข้ามาช่วยโดยไม่เข้าใจสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาอาจทำให้เกิดการใช้งบประมาณที่ไม่คุ้มค่า และไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่ตั้งใจไว้ ยกตัวอย่างเช่น โครงการฝึกอบรมทักษะ ที่โดยเฉลี่ยแล้วช่วยเพิ่มอัตราการได้งานขึ้น 2% และเพิ่มเงินเดือนได้ 650 บาท แต่มีค่าใช้จ่ายกว่า 5 แสน ถึง 2 ล้านบาทต่อคน หรือโครงการจับคู่คนกับงานที่โดยเฉลี่ยช่วยเพิ่มอัตราการได้งานขึ้น 2–8% แต่เนื่องจากโครงการเหล่านี้เพียงแต่ช่วยจับคู่คนกับงานเป็นครั้ง ๆ ไป ประกอบกับอัตราการลาออกที่ค่อนข้างสูง ผลลัพธ์เหล่านี้จึงเป็นเพียงผลลัพธ์ระยะสั้น เมื่อผู้หางานเหล่านี้ออกจากงานอีกครั้ง พวกเขาก็ยังคงไม่สามารถหางานได้ด้วยตนเองเช่นเดิม และต้องพึ่งพาโครงการจับคู่คนกับงานอย่างต่อเนื่อง

ควรใช้เมื่อไหร่?

หากภาครัฐสามารถพิสูจน์ได้อย่างแน่ชัดว่า สาเหตุหลักของการว่างงานเกิดจากแรงงานขาดแคลนทักษะที่จำเป็น หรือการที่ผู้หางานกับตำแหน่งงานไม่สามารถหากันเจอ นโยบายเหล่านี้ก็จะเป็นการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ

ควรใช้อย่างไร?

  • การอบรมเพิ่มพูนทักษะ นอกจากจะต้องศึกษาให้เข้าใจถึงความต้องการของนายจ้างมาให้ดีแล้ว ยังต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์ในตลาดงาน เพื่อให้รับประกันได้ว่าผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับการว่าจ้างหลังจบหลักสูตร ส่วนการบริหารโครงการให้ได้ผลลัพธ์ที่คุ้มค่ากับค่าใช้จ่าย ยังคงเป็นประเด็นที่ยังต้องศึกษาวิจัยเพิ่มเติมต่อไป
  • การช่วยจับคู่คนกับงาน ไม่ควรแค่ให้ความช่วยเหลือในการหางานเท่านั้น แต่ควรเสริมสร้างความสามารถในการประเมินงานที่เหมาะสมด้วยตนเองได้ด้วย เช่น สอนการเลือกประเภทของงาน สอนการประเมินระดับเงินเดือน และให้ความรู้เกี่ยวกับเส้นทางการเติบโตในสายงาน เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ผู้หางานสามารถหางานได้ด้วยตัวเองในระยะยาว

สรุปก็คือ นโยบายช่วยเหลือทั้งสองรูปแบบนี้ไม่ควรถูกนำมาใช้เป็นสูตรสำเร็จเพื่อลดปัญหาการว่างงาน แต่ใช้เมื่อนโยบายเหล่านี้เหมาะสมกับสาเหตุของการว่างงานในประเทศนั้น ๆ และการออกแบบโครงการนั้นควรพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป เพื่อให้การดำเนินโครงการมีประสิทธิภาพและคุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายของภาครัฐ

ดล ตะวันพิทักษ์
ดล ตะวันพิทักษ์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความนี้เป็นความเห็นของผู้เขียน ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

โทรศัพท์: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

เงื่อนไขการให้บริการ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2568 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

เอกสารเผยแพร่ทุกชิ้นสงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

รับจดหมายข่าว PIER

Facebook
YouTube
Email