Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
Discussion Paper ล่าสุด
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
aBRIDGEd ล่าสุด
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
งานประชุมเชิงปฏิบัติการต่อไป
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
งานสัมมนาล่าสุด
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ
ป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
ประกาศล่าสุด
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
PIER Research Briefsbriefs
QR code
Year
2024
2023
2022
2021
...
/static/1d98cc02e261263dde3e8decac8dec8c/e9a79/cover.png
1 ธันวาคม 2566
20231701388800000

เจาะลึกนโยบายผู้สูงอายุ ควรทำอย่างไรเพื่อให้คนไทย “แก่” แต่ยัง “เก๋า”?

เจาะลึกนโยบายผู้สูงอายุ ควรทำอย่างไรเพื่อให้คนไทย “แก่” แต่ยัง “เก๋า”?

เนื้อหาการบรรยายในงาน PIER Research Brief นี้ ถูกกลั่นกรองจากบทความ การสร้างคุณภาพชีวิตที่ดียามชราภาพ โดยเน้นผู้สูงวัยเป็นศูนย์กลาง

สังคมสูงวัยเป็นความท้าทายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับสังคมไทย โดยปัจจุบัน ผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงหรือช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ มีมากถึง 1 ใน 3 และเมื่อมองไปข้างหน้า ผู้สูงอายุในอนาคตยิ่งน่าเป็นห่วง โดยมีแนวโน้มขาดที่พึ่งมากขึ้น การเตรียมความพร้อมรับมือสังคมสูงวัยระดับสุดยอด (super-aged society) ที่กำลังจะเข้ามาถึงในอีกประมาณ 15 ปีข้างหน้า ซึ่งจะมีสัดส่วนของประชากรอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 30% ของประชากรทั้งหมด จึงเป็นเรื่องสำคัญและเร่งด่วน

ศ. ดร.วรเวศม์ สุวรรณระดา อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งวิจัยในประเด็นสังคมสูงวัยมาอย่างยาวนาน ได้ชี้ให้เห็นว่า การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ จำเป็นต้องยึดผู้สูงอายุเป็นตัวตั้ง โดยการออกแบบนโยบายผู้สูงอายุต้องอยู่บนพื้นฐานความเข้าใจในผู้สูงอายุแต่ละกลุ่มที่มีปัญหาและความต้องการที่แตกต่างกัน และให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหานั้น โดยต้องเป็นนโยบายที่สอดประสานกัน เพื่อทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีในมิติต่าง ๆ ตลอดจนต้องเน้นให้ผู้สูงอายุและสังคมปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อผู้สูงอายุ ว่ายังสามารถช่วยเหลือตัวเองและสังคมได้ การแก่ตัวลงเป็นแค่อีกช่วงหนึ่งของชีวิต แก่แล้วไม่จำเป็นต้องอ่อนแอหรือพึ่งพาคนอื่นเสมอไป โดยสามารถดูแลสุขภาพ และทำประโยชน์ต่อครอบครัวและสังคมได้

นอกจากนี้ การบริหารจัดการเชิงพื้นที่มีบทบาทสำคัญมาก นั่นคือ รัฐควรเชื่อมโยงการขับเคลื่อนส่วนกลางเข้ากับการขับเคลื่อนในระดับพื้นที่ในการสร้างสภาพแวดล้อมและโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ ตามแนวคิด “ageing in place” หรือการสูงวัยในถิ่นเดิม อันหมายถึง ผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพังหรือที่อยู่กับครอบครัวจะสามารถใช้ชีวิตยามบั้นปลายในพื้นที่ หรือชุมชนที่ตนเองคุ้นเคยอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ ยกตัวอย่างเช่น การมีบริการทางการแพทย์สำหรับผู้สูงอายุในหรือใกล้ชุมชน ที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุที่อาจมีข้อจำกัดต่าง ๆ สามารถเข้าใช้บริการได้สะดวก

แม้ที่ผ่านมาภาครัฐได้ขับเคลื่อนงานผู้สูงอายุหลายระดับ เช่น การจัดทำแผนระดับชาติ กลไกบูรณาการงานผู้สูงอายุ การออกมาตรการรองรับสังคมสูงวัยทั้งมิติเศรษฐกิจ สุขภาพ สังคม และสภาพแวดล้อม แต่การเดินหน้าพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยยึดผู้สูงอายุเป็นตัวตั้ง ยังต้องพบกับความท้าทายหลายประการ ดังต่อไปนี้

ประการที่หนึ่ง สังคมไทยยังมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับ “คุณค่า” หรือ “ฐานคิด” โดยเฉพาะการออกแบบระบบความคุ้มครองทางสังคม หากสามารถทำให้เกิดข้อสรุปที่ยอมรับร่วมกันจากภาคส่วนต่าง ๆ ก็จะเป็นหัวใจในการกำหนดทิศทางนโยบายได้อย่างราบรื่น ยกตัวอย่างเช่น การดูแลผู้สูงอายุโดยครอบครัวอาจจะเป็นกระแสหลัก โดยบางพื้นที่ชุมชนเข้มแข็งพอที่จะช่วยกันดูแลผู้สูงอายุ แต่สำหรับหลายครอบครัวหรือหลายชุมชนอาจจะไม่เป็นเช่นนั้น การสร้างหลักประกันด้านรายได้ยามชราภาพด้วยระบบบำนาญและการออมก็ขึ้นอยู่กับการให้คุณค่าเช่นกัน เราจะเลือกฐานคิดความรับผิดชอบส่วนบุคคล (เน้นการออมส่วนบุคคล) การช่วยเหลือเกื้อกูลกันหรือหลักภราดรภาพ (ใช้แนวทางการประกันสังคม) แนวคิดสิทธิขั้นพื้นฐาน หรือการสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส แนวนโยบายจะเปลี่ยนแปลงไปตามการกำหนดคุณค่าเหล่านี้

ประการที่สอง “เงิน” ไม่ใช่คำตอบสุดท้ายในการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีในยามชราภาพ แต่ต้องหันมาให้ความสำคัญกับการจัด “บริการทางสังคม” ด้วย เช่น บริการสุขภาพ บริการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง บริการดูแลผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้ง บริการทางสังคมเพื่อหนุนเสริมการมีส่วนร่วมทางสังคมและการเรียนรู้ตลอดชีวิต การมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคส่วนอื่นที่ไม่ใช่รัฐจะสามารถเข้ามามีส่วนช่วยสนับสนุนการจัดบริการเหล่านี้อย่างไร ทิศทางของเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับการออกแบบภาพรวมของระบบการคุ้มครองทางสังคมของประเทศ

ประการที่สาม การแบ่งบทบาทหน้าที่ระหว่างกันของรัฐบาล พื้นที่ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผ่านมามีความคลุมเครือ สังคมไทยจะให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอิสระในการขับเคลื่อนงานผู้สูงอายุภายในพื้นที่มากน้อยเพียงไร หากเราสามารถทำให้เกิดความชัดเจนในบทบาทหน้าที่ใน “การส่งเสริมการพัฒนาผู้สูงอายุ” ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ระบุไว้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็จะมีอิสระในการตัดสินใจขับเคลื่อนงานผู้สูงอายุขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญ ขณะเดียวกัน ท้องถิ่นควรจะต้องมีอิสระและมีศักยภาพทางการคลังที่เพียงพอในระดับพื้นที่ด้วย

ประการที่สี่ แหล่งที่มาของงบประมาณเพื่อการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดียามชราภาพยังมีความไม่ชัดเจน โดยการหาแหล่งที่มาของเงินคงเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องใช้ทั้งภาษีอากร (เน้นผู้สูงอายุในปัจจุบัน) และใช้การมีส่วนร่วมจ่ายของประชาชน (เน้นประชากรวัยทำงานในปัจจุบันที่ยังมีเวลาสร้างอนาคต) ข้อเสนอส่วนใหญ่ในปัจจุบันให้น้ำหนักไปที่ “การให้มีบำนาญเพื่อผู้สูงอายุในปัจจุบันโดยรัฐจัดสรร” แต่ไม่ควรลืมว่า สังคมไทยยังมีผู้สูงอายุในอนาคตอีกด้วย สังคมไทยต้องแสวงหาทางออกเพื่อ “ก้าวข้ามความขัดแย้งระหว่างรุ่น” โดยการประนีประนอมเชิงนโยบายระหว่างการสร้างหลักประกันยามชราภาพเพื่อให้ผู้สูงอายุในปัจจุบันที่เน้นวิธีการแบบรัฐจัดสรรกับการผลักดันให้เกิดระบบบำนาญฯ แบบมีส่วนร่วมเพื่อเป็นหลักประกันที่มั่นคงให้กับผู้สูงอายุในอนาคต

ดังนั้น สิ่งที่ภาครัฐควรเร่งดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพื่อเตรียมความพร้อมรับสังคมสูงวัยระดับสุดยอด ได้แก่

  1. ภาครัฐควรสร้างกลไกหรือพื้นที่เพื่อแสวงหาจุดที่ลงตัวให้กับความเห็นที่แตกต่างกันใน “คุณค่า” ซึ่งจะทำให้การกำหนดทิศทางของนโยบายการคุ้มครองทางสังคม นโยบายบำนาญ หรือนโยบายอื่นที่เกี่ยวข้องมีความชัดเจน
  2. ภาครัฐควรทบทวนการผลักดันให้มีคณะกรรมการบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ เพื่อเป็นกลไกประสานนโยบายสำหรับการพิจารณาภาพใหญ่ของหลักประกันด้านรายได้ยามชราภาพสำหรับผู้สูงอายุไทย จัดทำนโยบายบำนาญและการออมเพื่อยามชราภาพในภาพรวมให้เกิดความสอดคล้องระหว่างกัน ประสานระบบต่าง ๆ ที่มีอยู่หลายระบบภายใต้การกำกับดูแลของหลายหน่วยงานเข้าด้วยกัน และทำหน้าที่เชิงวิชาการและจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงทางประชากรในอนาคต
  3. การขับเคลื่อนงานผู้สูงอายุผ่านแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุระยะที่ 3 ในอนาคต ทั้งส่วนที่เป็นแผนระยะยาวและระยะปานกลาง ควรจะต้องเชื่อมโยงมิติของพื้นที่เข้ากับภาพของผู้สูงอายุที่กำหนดไว้ในแผนฯ ภายใต้แนวคิดการสูงวัยในถิ่นเดิม “ผู้สูงอายุทุกคนที่อาศัยในถิ่นที่อยู่ใด ๆ มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีหลักประกันมั่นคง เป็นพลังพัฒนาสังคม”
  4. ภาครัฐควรผลักดันท้องถิ่นด้านการเตรียมการรองรับสังคมสูงวัย ในระยะสั้น สิ่งที่ทำได้ทันที คือ การทำให้บทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้ง “การส่งเสริมการพัฒนาผู้สูงอายุ” มีความชัดเจนและเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ภาครัฐสามารถดำเนินการผ่านกลไกคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติได้
ชมคลิปวีดีโอ
Topics: Public EconomicsLabor and Demographic EconomicsPolitical Economy
Tags: quality of lifesocial protectionaging in place
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความนี้เป็นความเห็นของผู้เขียน ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
วรเวศม์ สุวรรณระดา
วรเวศม์ สุวรรณระดา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

โทรศัพท์: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

เงื่อนไขการให้บริการ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2568 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

เอกสารเผยแพร่ทุกชิ้นสงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

รับจดหมายข่าว PIER

Facebook
YouTube
Email