Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
Discussion Paper ล่าสุด
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
aBRIDGEd ล่าสุด
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
งานประชุมเชิงปฏิบัติการต่อไป
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
งานสัมมนาล่าสุด
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ
ป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
ประกาศล่าสุด
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
Policy Forumsforums
QR code
Year
2025
2022
2021
2020
...
/static/fc9bc42ccf899726c8a34ab0e3d71efa/e9a79/cover.png
4 สิงหาคม 2563
20201596499200000
Industry Transformation Series

อุตสาหกรรมโรงแรมและที่พัก

ห้องประชุมสมานสโมสร อาคาร 2 ชั้น 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย
บทสรุปผู้บริหาร
  • วิกฤตโควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่ออุตสาหกรรมโรงแรมและที่พัก เนื่องจากรายได้ของธุรกิจพึ่งพานักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นหลัก โดยจังหวัดที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุด คือจังหวัดที่ตามปกตินักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางไปพักแรมมาก อาทิ เชียงใหม่ ภูเก็ต พังงา กระบี่ และสุราษฎร์ธานี

  • เพื่อบรรเทาผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 อุตสาหกรรมโรงแรมและที่พักจำเป็นต้องปรับตัว อาทิ การหันไปเน้นขายอาหารเพื่อจัดส่งตามบ้าน (food delivery) การจัดงานสัมมนา (MICE) รวมถึงการพึ่งพานักท่องเที่ยวภายในประเทศมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้มีพฤติกรรมที่แตกต่างจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ คือ เน้นท่องเที่ยวในจังหวัดหรือเมืองที่อยู่ใกล้กรุงเทพฯ เป็นหลัก อาทิ ชลบุรี พัทยา หัวหิน เขาใหญ่ และกาญจนบุรี มักจะท่องเที่ยวในช่วงเวลาสั้น ๆ และไม่ท่องเที่ยวในช่วงระหว่างสัปดาห์

  • ลำพังการปรับตัวอาจไม่เพียงพอต่อความอยู่รอดของธุรกิจ รัฐบาลจำเป็นต้องตัดสินใจว่าควรดำเนินการเปิดประเทศเมื่อใดและอย่างไรในฤดูการท่องเที่ยวที่กำลังจะมาถึง โดยอาจมีความจำเป็นต้องใช้นโยบายแบบเลือกพื้นที่/จังหวัดในการเปิด (area-based) ไม่ใช้นโยบายแบบเหมารวม (blanket) แม้อุปสงค์จากต่างประเทศจะยังไม่สามารถกลับมาในระดับเดิมได้ในสถานการณ์ปกติก็ตาม

  • นอกจากนี้ ภาครัฐอาจพิจารณาต่ออายุมาตรการที่สามารถช่วยเหลืออุตสาหกรรมโรงแรมและที่พักได้จริง อาทิ มาตรการชำระค่าไฟฟ้าตามจริง และมาตรการช่วยเหลือด้านสภาพคล่อง โดยเฉพาะ soft loan

  • สำหรับปัญหาระยะยาวที่ควรแก้ไขอย่างเร่งด่วน ซึ่งเป็นปัญหาที่ค้างคามาตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตโควิด-19 คือ ปัญหาอุปทานส่วนเกิน (oversupply) ส่วนหนึ่งจากการเปิดโรงแรมและที่พักโดยไม่มีใบอนุญาตอย่างถูกกฎหมาย โดยรัฐควรอาศัยโอกาสนี้จูงใจธุรกิจที่ยังไม่มีใบอนุญาตให้เข้าสู่ระบบมากขึ้น รวมทั้งพัฒนาการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลโรงแรมและที่พัก พฤติกรรมของนักท่องเที่ยว เส้นทาง รวมถึงข้อมูลอื่น ๆ ที่จำเป็น เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมโรงแรมและที่พักไทยในระยะยาวต่อไป

ห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย

  • อุตสาหกรรมโรงแรมและที่พักมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยมาก เพราะสนับสนุนการจ้างงานเป็นจำนวนกว่า 1.5 ล้านตำแหน่ง โดยอุตสาหกรรมโรงแรมและที่พักของไทยพึ่งพานักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเป็นหลัก และในสถานการณ์ปกติ มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในไทยกว่า 40 ล้านคนต่อปี

  • อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยแบ่งบริษัทผู้ให้บริการออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

    1. โรงแรมและที่พัก
    2. สายการบินและขนส่ง และ
    3. บริษัททัวร์/ธุรกิจนำเที่ยว

    โดยบริษัททั้งสามกลุ่มมีระดับความเชื่อมโยงกันสูง อาทิ บริษัททัวร์ซื้อตั๋วเครื่องบินจากสายการบิน ทำให้บริษัททัวร์มีสถานะเป็นเจ้าหนี้ของสายการบิน ดังนั้น เมื่อบริษัทกลุ่มหนึ่งได้รับผลกระทบ อาทิ การถูกยกเลิกเที่ยวบิน บริษัทกลุ่มอื่น ๆ ที่มีความเชื่อมโยงสูงจึงได้รับผลกระทบตามไปด้วย

ภาวะและแนวโน้มของอุตสาหกรรมโรงแรมและที่พักในช่วงวิกฤตโควิด-19

  • ก่อนเกิดวิกฤตโควิด-19 อุตสาหกรรมโรงแรมและที่พักของไทยประสบปัญหาอุปทานส่วนเกิน (oversupply) อยู่แล้ว และเมื่อเกิดวิกฤตยิ่งทำให้ปัญหานี้ทวีความรุนแรงขึ้น โดยปัจจุบันมีจำนวนห้องพักในอุตสาหกรรมโรงแรมและที่พักกว่า 1.6–1.7 ล้านห้องทั่วประเทศ สาเหตุหลักของปัญหาเกิดจากการเปิดโรงแรมและที่พักโดยไม่มีใบอนุญาตอย่างถูกกฎหมาย โดยส่วนมากจะเป็นโรงแรมและที่พักในระดับกลางและล่าง เพราะสามารถที่จะเปิดทำการได้ง่าย (โรงแรมที่ผิดกฎหมายมีหลายประเภท ได้แก่ 1) ตั้งใจผิดกฎหมาย โดยไม่ขอใบอนุญาต 2) ต้องการขอใบอนุญาต แต่ผิดเงื่อนไขการสร้าง 3) ขายผ่าน online platform อาทิ Airbnb หรือการเอาคอนโดอยู่อาศัยมาขายเป็นห้องพักรายวัน)

  • เมื่อเกิดวิกฤตโควิด-19 มาตรการ lockdown เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมโรงแรมและที่พักอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในจังหวัดซึ่งเป็นที่นิยมสูงของนักท่องเที่ยวต่างชาติ อาทิ เชียงใหม่ ภูเก็ต พังงา กระบี่ และสุราษฎร์ธานี

  • มองไปข้างหน้า แนวโน้มของอุตสาหกรรมโรงแรมและที่พักของไทยยังคงอ่อนแอมาก โดยสมาคมโรงแรมไทยคาดการณ์ว่าการท่องเที่ยวไทยจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้อย่างเร็วที่สุดปลายปี 2564 ทั้งนี้ ปัจจุบันต้องอาศัยการท่องเที่ยวในประเทศเพื่อประคับประคองธุรกิจ โดยจังหวัดที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดคือ ชลบุรี พัทยา หัวหิน นครราชสีมา เขาใหญ่ และกาญจนบุรี

การปรับตัวของอุตสาหกรรมโรงแรมและที่พักในช่วงวิกฤตโควิด-19

  • อุตสาหกรรมโรงแรมและที่พักต้องเปลี่ยนมาพึ่งพานักท่องเที่ยวภายในประเทศมากขึ้น อย่างไร ก็ตาม มีความท้าทายจากพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่แตกต่างจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ อาทิ

    • นักท่องเที่ยวชาวไทยจะเที่ยวเฉพาะวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ และในวันหยุดยาว ขณะที่นักท่องเที่ยวต่างชาติจะมาอาศัยและเที่ยวอยู่ในประเทศไทยเป็นเดือน ๆ ทำให้โรงแรมและที่พักมักจะได้รายได้ในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ และในวันหยุดยาวเท่านั้น
    • จังหวัดและสถานที่ท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยจะอยู่ในบริเวณปริมณฑลใกล้กรุงเทพฯ มากกว่าจังหวัดและสถานที่ที่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาตินิยม โดยสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวชาวไทย ได้แก่ พัทยา หัวหิน และเขาใหญ่ เนื่องจากสามารถขับรถไปกลับได้ง่าย ซึ่งสร้างความท้าทายตามมา คือ การไม่พักค้างคืน
    • ในกรณีเที่ยวชายทะเล นักท่องเที่ยวชาวไทยนิยมพักในโรงแรมและที่พักที่อยู่ติดกับชายหาดมากกว่านักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ
  • อุตสาหกรรมโรงแรมและที่พักต้องใช้โอกาสในช่วงวิกฤตโควิด-19 นี้ เจาะกลุ่มคนไทยที่ตามปกตินิยมไปท่องเที่ยวต่างประเทศ แต่ไม่สามารถเดินทางไปได้ ส่วนหนึ่งจากการต้องถูกกักตัว 14 วัน หลังจากการเดินทางไปพักผ่อนในต่างประเทศ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนกลุ่มนี้หันมาท่องเที่ยวภายในประเทศแทน ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวกลุ่มดังกล่าวยังมีความสามารถในการใช้จ่ายสูงอีกด้วย (high net worth travelers)

  • อุตสาหกรรมโรงแรมและที่พักของไทยยังพยายามหาวิธีการปรับตัวอีกหลายวิธี อาทิ เน้นขายอาหารเพื่อจัดส่งตามบ้าน (food delivery) และเน้นให้บริการการจัดงานสัมมนามากขึ้น (MICE) โดย MICE ถือเป็นเครื่องยนต์ตัวหนึ่งของเศรษฐกิจไทยที่ไม่ควรมองข้าม (คิดเป็นร้อยละ 3–4 ของ GDP ไทย และสร้างงานกว่า 3 แสนตำแหน่ง) นอกจากนี้ ธุรกิจหลายแห่งยังพยายามลดต้นทุน ทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปรให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ (โดยทั่วไปแล้ว ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรและค่าสาธารณูปโภค คิดเป็นร้อยละ 25 และร้อยละ 10 ของรายได้ธุรกิจในอุตสาหกรรมโรงแรมและที่พัก ตามลำดับ) รวมทั้งปรับลดการจ้างงานไปส่วนหนึ่ง โดยหากอุปสงค์ยังคงไม่ฟื้นตัว อุตสาหกรรมโรงแรมและที่พักจำเป็นจะต้องปลดคนงานออกเพิ่มเติม ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ

ปัญหา และอุปสรรคของอุตสาหกรรมโรงแรมและที่พัก

  • การปรับตัวข้างต้นยังไม่เพียงพอต่อความอยู่รอดของธุรกิจ อุตสาหกรรมโรงแรมและที่พักยังต้องการให้เปิดประเทศ เพื่อให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศได้อีกครั้ง โดยรัฐบาลต้องตัดสินใจว่ายังคงต้องการรายได้หลักจากอุตสาหกรรมโรงแรมและที่พักหรือไม่ เพราะหากเปิดประเทศไม่ทันฤดูการท่องเที่ยวใหม่ ธุรกิจโรงแรมและที่พักของไทยอาจจะคงอยู่ไม่ได้และจำเป็นต้องขายให้ชาวต่างชาติในที่สุด

  • มาตรการช่วยเหลือของภาครัฐที่มีประโยชน์หลายมาตรการกำลังจะสิ้นสุดลง อาทิ มาตรการชำระค่าไฟฟ้าตามจริงที่จะสิ้นสุดในเดือน ก.ย. นี้ โดยธุรกิจโรงแรมและที่พักจะต้องกลับมาชำระค่าไฟตามปกติอีกครั้ง (ชำระขั้นต่ำที่ร้อยละ 70 ของค่าไฟฟ้าสูงสุดในรอบบิล 12 เดือนที่ผ่านมา) แม้ว่าจะยังคงไม่มีรายได้ นอกจากนี้ มาตรการช่วยเหลือด้านสภาพคล่อง โดยเฉพาะ soft loan ที่จะสิ้นสุดในเดือน ต.ค. นี้ สามารถช่วยเหลือโรงแรมกว่าร้อยละ 80–90 ที่ยังมีภาระจ่ายดอกเบี้ยทุกเดือน เพราะได้ลงทุนกู้เงินมาสร้างโรงแรมก่อนเกิดวิกฤต

  • มาตรการช่วยเหลือของภาครัฐบางมาตรการไม่สามารถช่วยเหลืออุตสาหกรรมโรงแรมและที่พักได้มากเท่าที่ควร อาทิ โครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” เนื่องจากมียอดใช้จ่ายจริงอยู่ในระดับต่ำมาก (ปัจจุบัน มีผู้ลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิประมาณ 4 ล้านสิทธิ แต่มีคนใช้สิทธิจริงเพียง 3 แสนสิทธิเท่านั้น) ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะความยุ่งยากในวิธีการใช้

ข้อเสนอแนะจากการเสวนาต่อภาครัฐ

  • ภาครัฐอาจพิจารณาต่ออายุมาตรการที่สามารถช่วยเหลืออุตสาหกรรมโรงแรมและที่พักได้จริง อาทิ มาตรการชำระค่าไฟฟ้าตามจริง และมาตรการช่วยเหลือด้านสภาพคล่อง โดยเฉพาะ soft loan

  • ในหลายประเทศมีมาตรการช่วยเหลืออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมากกว่าประเทศไทย ดังนั้น รัฐบาลไทยสามารถเรียนรู้และบังคับใช้มาตรการที่เป็นประโยชน์และมีประสิทธิผลสูงจากต่างประเทศได้ อาทิ รัฐบาลสหราชอาณาจักรปรับลดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สำหรับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวจากร้อยละ 20 เป็นร้อยละ 5 ซึ่งเป็นมาตรการที่ไม่มีความยุ่งยาก และยังสามารถกระตุ้นอุปสงค์ได้ทันที จากการลดลงของราคาสินค้าและบริการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว

  • รัฐบาลต้องตัดสินใจว่าจะดำเนินการเปิดประเทศเมื่อใด เพราะฤดูการท่องเที่ยวใหม่กำลังจะมาถึงแล้ว ขณะที่รัฐบาลจะต้องสามารถป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในวงกว้างด้วยเช่นกัน ดังนั้น รัฐบาลไม่ควรเปิดประเทศทั้งประเทศในคราวเดียว (blanket) โดยอาจเลือกเปิดให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาได้ในบางพื้นที่/จังหวัด (area-based) ทั้งนี้ รัฐบาลควรมีหลักปฏิบัติ อาทิ

    • ต้องนำเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้อดีและข้อเสียต่อการเปิดพื้นที่ให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับรู้อย่างโปร่งใส รวมทั้งระบุว่าจะให้คนจากประเทศไหนเข้ามาในพื้นที่นั้นได้ เพราะนักท่องเที่ยวแต่ละประเทศมีความเสี่ยงในการแพร่เชื้อโควิด-19 แตกต่างกัน
    • ต้องมีหลักการ (protocol) ที่จะลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยการตรวจสอบว่าระบบสาธารณสุขในแต่ละพื้นที่มีความพร้อมหรือไม่ในการคัดกรองและรักษาชาวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศ เมื่อเกิดอาการเจ็บป่วย และหากเป็นไปได้ จำเป็นต้องกักตัวนักท่องเที่ยวและผู้ให้บริการในสถานที่เอื้อให้สามารถหาความเพลิดเพลินได้เป็นเวลานาน ๆ ไม่น้อยกว่า 14 วัน เช่น ภายในสนามกอล์ฟ และเมื่อผ่านพ้นระยะการกักตัวนี้แล้ว จึงค่อยเปิดโอกาสให้ออกไปเที่ยวนอกสถานที่เหล่านี้ได้ แต่ไม่ควรออกนอกจังหวัด หรือพื้นที่เหล่านั้น
    • ต้องมีวิธีการจัดการความรู้สึกของประชาชน (sensational sentiment) ไม่ให้ตื่นตกใจไปกับข่าวลวง (fake news) เนื่องจากส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อธุรกิจ
    • ควรยกระดับ application ติดตามตัว โดยเฉพาะ “ไทยชนะ” ให้มีความเป็นสากลและเชื่อมต่อกับ application ของต่างประเทศได้ เพื่อมุ่งสู่ความเป็น one-single application ที่สามารถติดตามนักท่องเที่ยวต่างชาติอย่างมีประสิทธิภาพ
    • ในกรณีที่รัฐบาลยังไม่กล้าตัดสินใจเปิดประเทศ อาจเปิดโอกาสให้ประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ มีสิทธิออกเสียงว่าจะเปิดพื้นที่ในภูมิลำเนาให้คนจากประเทศนั้น ๆ เข้ามาหรือไม่
  • อย่างไรก็ตาม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยชี้แจงว่า แม้ภาครัฐจะดำเนินนโยบายเปิดประเทศในเวลานี้ ก็ยังไม่สามารถสร้างอุปสงค์ให้กลับมาอย่างเต็มที่เช่นเดิมได้ เพราะสถานการณ์โควิด-19 ยังคงระบาดอย่างรุนแรงในหลายประเทศ

  • รัฐบาลควรเร่งแก้ไขปัญหาอุปทานส่วนเกินของอุตสาหกรรมโรงแรมและที่พัก อันเป็นปัญหาค้างคาในระยะยาวด้วย อาทิ

    • จัดการธุรกิจที่ยังไม่มีใบอนุญาตให้เข้าสู่ระบบมากขึ้น โดยอาจใช้มาตรการช่วยเหลือทางการเงินเป็นสิ่งจูงใจ เพราะหากต้องการได้รับความช่วยเหลือ ต้องทำธุรกิจให้ถูกกฎหมาย
    • ส่งเสริมการท่องเที่ยวทางการแพทย์ (medical tourism) โดยผู้ป่วยต่างประเทศที่เดินทางเข้ามารักษาตัวในไทย ตามปกติจะมีผู้ติดตาม ซึ่งสามารถเข้าใช้บริการและพักในโรงแรมและที่พักได้
    • เปลี่ยนการเช่าห้องแบบรายวันให้นานขึ้น (long stay) อาจเป็นรายสัปดาห์หรือรายเดือน เพื่อรองรับอุปสงค์จากต่างประเทศ อาทิ นักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีความสามารถในการใช้จ่ายสูง หรือแรงงานต่างชาติทักษะสูงที่ประสงค์เดินทางเข้ามาทำงานในไทย
    • เปลี่ยนที่พักให้เป็นอพาร์ทเม้นท์ เพื่อให้คนไทยในประเทศเข้าไปพักอาศัยได้
    • กำหนดอัตราส่วนจำนวนห้องพักต่อนักท่องเที่ยว อัตราการรองรับของสนามบิน รวมถึงทบทวนใบอนุญาตการก่อสร้างโรงแรม ให้สอดคล้องกับจำนวนนักท่องเที่ยวในระยะยาว
  • รัฐบาลจะต้องถือโอกาสฝึกฝนแรงงานบางส่วนที่ถูกปลดออกจากอุตสาหกรรมโรงแรมและที่พัก (re-skill) เพื่อให้สามารถกลับไปทำงานที่ชุมชนบ้านเกิดของเขา รวมทั้งสร้างตำแหน่งงานหรือแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ๆ เพื่อเป็นกำลังให้แก่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยในระยะยาวต่อไป

  • ควรมีการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลโรงแรมทั้งออนไลน์และออฟไลน์ พฤติกรรมของนักท่องเที่ยว เส้นทาง รวมถึงข้อมูลอื่น ๆ ที่จำเป็น เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมโรงแรมและที่พัก โดยร่วมมือกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

  • สมาคมโรงแรมไทยเรียกร้องให้ ธปท. และสถาบันการเงินให้คำแนะนำกับผู้ประกอบการโรงแรม โดยเฉพาะในประเด็นส่งเสริมความรู้ทางการเงิน อาทิ วิธีการบริหารเจ้าหนี้และลูกหนี้ ซึ่งเมื่อผู้ประกอบการได้รับความรู้ดังกล่าวเป็นพื้นฐานแล้ว ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร

  • อาจมีโมเดลการท่องเที่ยวแบบปิด เช่น Samui model และแผนปรับโครงสร้างในระยะยาวให้อุตสาหกรรมเกิดความยั่งยืนมากขึ้น เพื่อช่วยเยียวยาปัญหาอุปทานส่วนเกินที่อาจลุกลามไปสู่ประเด็น NPL ได้

ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในการประชุมนี้ไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ หรือธนาคารแห่งประเทศไทย

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

โทรศัพท์: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

เงื่อนไขการให้บริการ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2568 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

เอกสารเผยแพร่ทุกชิ้นสงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

รับจดหมายข่าว PIER

Facebook
YouTube
Email