Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
Discussion Paper ล่าสุด
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
aBRIDGEd ล่าสุด
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
งานประชุมเชิงปฏิบัติการต่อไป
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
งานสัมมนาล่าสุด
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ
ป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
ประกาศล่าสุด
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
Policy Forumsforums
QR code
Year
2025
2022
2021
2020
...
/static/cbed3ff159db170fa51f14e064def44f/e9a79/cover.png
5 พฤศจิกายน 2563
20201604534400000
Industry Transformation Series

อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป

ห้องประชุมสมานสโมสร อาคาร 2 ชั้น 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย
บทสรุปผู้บริหาร
  • แม้ในภาพรวม อุตสาหกรรมอาหารแปรรูปได้รับผลกระทบทางลบจากวิกฤตโควิด-19 จากการลดลงของอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศ แต่ถือว่าได้รับผลกระทบน้อยกว่าเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่น ๆ เนื่องจากอาหารแปรรูปยังเป็นสินค้าจำเป็น และได้รับประโยชน์จากช่องทางการขายออนไลน์ โดยผู้ประกอบการส่วนใหญ่ปรับตัวในช่วงวิกฤตด้วยการลดต้นทุนการผลิตให้สอดคล้องกับยอดขาย อาทิ ลดการจ้างงาน โดยเฉพาะแรงงานชั่วคราว ลดกิจกรรมการลงทุนต่าง ๆ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการบางส่วนได้รับประโยชน์จากมาตรการช่วยเหลือแรงงานที่ถูกพักงาน และมาตรการทางภาษีจากภาครัฐ

  • หลังวิกฤตคลี่คลาย อุตสาหกรรมอาหารแปรรูปเริ่มกลับมาฟื้นตัวได้ดี แต่ยังต้องอาศัยเวลาอีกระยะหนึ่งกว่าจะกลับมาระดับเดิม โดยผู้ประกอบการส่วนใหญ่ได้เพิ่มการจ้างงานขึ้นบ้าง และใช้โอกาสนี้ในการพัฒนาบุคลากร รวมทั้งปรับปรุงกระบวนการผลิตและคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้มากขึ้น

  • มองไปข้างหน้า อุตสาหกรรมมีแนวโน้มเติบโตได้ดี โดยเฉพาะอาหารแปรรูปมูลค่าสูง (high value-added) อาทิ อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ (functional food) อาหารที่ผ่านการผลิตแบบธรรมชาติ (organic food) และอาหารที่มีส่วนผสมของโปรตีนจากพืช (plant-based food) อาหารแปรรูปของไทยโดยรวมได้รับความเชื่อถือจากต่างชาติในด้านคุณภาพที่อยู่ในเกณฑ์ดี หากแต่ผลิตภัณฑ์ยังจำกัดอยู่ในประเภทวัตถุดิบที่นำไปผลิตต่อ (wholesale) ซึ่งผู้ประกอบการไทยสามารถยกระดับผลิตภัณฑ์เป็นอาหารสำเร็จรูปที่จำหน่ายตามร้านค้าปลีก (retail) ในต่างประเทศมากขึ้น

  • อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการไทยอาจต้องเผชิญกับความท้าทายต่าง ๆ อาทิ กฎระเบียบภาครัฐของประเทศคู่ค้า อัตราแลกเปลี่ยน รวมทั้งพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น เน้นบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ (ลดโซเดียม) อาหารที่มีมาตรฐานสุขอนามัยเพิ่มขึ้น

  • สำหรับอาหารที่ได้รับการรับรองมาตรฐานฮาลาล มีแนวโน้มเติบโตได้ดี จากการขยายตัวของเศรษฐกิจและประชากรของประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม โดยผู้ประกอบการขนาดใหญ่ของไทยมีศักยภาพการผลิต แต่ผู้ประกอบการขนาดเล็กยังต้องเร่งปรับตัวในกระบวนการผลิตเพื่อรองรับอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น

  • ผู้ประกอบการไทยควรปรับตัวอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญกับการเพิ่มผลิตภาพ และรักษามาตรฐานการผลิต เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่ต้องใช้ความประณีตยังเป็นจุดแข็งของไทย ขณะเดียวกัน ภาครัฐควรขยายและเน้นรูปแบบของการสนับสนุนส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป โดยบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ และทำงานร่วมกับภาคเอกชนมากขึ้น โดยเฉพาะการวิจัยและพัฒนากระบวนการผลิตและนวัตกรรมร่วมกับภาคเอกชน สำหรับตลาดทุกระดับ การปรับปรุงขั้นตอนดำเนินงานและการเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐให้มีประสิทธิภาพ

ภาวะของอุตสาหกรรม และการปรับตัวของผู้ประกอบการในช่วงก่อนและหลังวิกฤตโควิด-19

  • อุตสาหกรรมอาหารแปรรูปไทยมีความสำคัญในห่วงโซ่อุปทานของโลก ประเทศไทยมีปริมาณการผลิตและส่งออกไก่แปรรูปเป็นอับดับ 8 และ 4 ของโลก ตามลำดับ และถือเป็นผู้ส่งออกไก่แปรรูปเป็นอันดับ 1 ของตลาดญี่ปุ่น

  • อุตสาหกรรมอาหารแปรรูปไทยโดยรวมได้รับผลกระทบทางลบจากวิกฤตโควิด-19 จากอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศที่หดตัวลง โดยเฉพาะครึ่งปีแรกของปี 2563 จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในต่างประเทศอย่างรุนแรง ผนวกกับมาตรการปิดเมืองในไทย ส่งผลให้ธุรกิจทั้งส่งออกและขายในประเทศต้องลดระดับกำลังการผลิตลงประมาณร้อยละ 20–30 อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมอาหารแปรรูปถือว่าได้รับผลกระทบน้อยกว่าอุตสาหกรรมอื่น ๆ เพราะอาหารแปรรูปยังเป็นสินค้าจำเป็น และยังมีช่องทางการขายออนไลน์ประคับประคองอยู่บ้าง

    • ผู้ประกอบการที่ทำการค้าระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ (B2B) ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 สูงกว่าผู้ประกอบการที่ทำการค้าระหว่างธุรกิจกับผู้บริโภค (B2C) เนื่องจากธุรกิจ B2B พึ่งพิงการส่งออกสูงกว่า B2C จึงได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของประเทศคู่ค้ามากกว่า
  • ในช่วงวิกฤต ผู้ประกอบการปรับตัวและรักษาความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการลดต้นทุนการผลิตให้สอดคล้องกับยอดขาย อาทิ ลดการจ้างงาน โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานรายวัน (ประมาณร้อยละ 30–50) ขณะที่พยายามคงแรงงานประจำที่ระดับเท่าเดิม และมีโครงการเกษียณก่อนกำหนด ลดกิจกรรมการลงทุนต่าง ๆ และรักษาสภาพคล่องโดยเก็บเงินสดมากขึ้น

  • ทั้งนี้ ผู้ประกอบการบางส่วนได้รับประโยชน์จากมาตรการช่วยเหลือแรงงานที่ถูกพักงาน (furlough scheme) และมาตรการทางภาษีจากภาครัฐ

  • หลังวิกฤตคลี่คลายลงในช่วงต้นไตรมาสที่ 3 ปี 2563 อุตสาหกรรมอาหารแปรรูปเริ่มกลับมาฟื้นตัวได้ดี แม้จะต้องอาศัยเวลาอีกระยะหนึ่งกว่าจะกลับมาที่ระดับเดิม โดยผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น (แต่ยังไม่กลับมาเท่ากับช่วงก่อนเกิดวิกฤตโควิด-19) และอาศัยโอกาสนี้ในการพัฒนาบุคลากร พร้อมกับปรับปรุงกระบวนการผลิตและคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ

โอกาส อุปสรรค และความท้าทายในระยะต่อไปสำหรับอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป

  • มองไปข้างหน้า อุตสาหกรรมมีแนวโน้มเติบโตต่อไปได้ดี โดยเฉพาะอาหารแปรรูปมูลค่าสูง (high value-added) อาทิ อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ (functional food) อาหารที่ผ่านการผลิตแบบธรรมชาติ (organic food) และอาหารที่ได้โปรตีนจากพืช (plant-based food) โดยอาหารแปรรูปของไทยโดยรวมได้รับความเชื่อถือจากต่างชาติในด้านคุณภาพที่อยู่ในเกณฑ์ดี

  • อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์ของไทยยังได้รับการรับรู้จากต่างชาติในวงจำกัด โดยอยู่ในประเภทวัตถุดิบที่นำไปผลิตต่อ (wholesale) เพราะผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังทำธุรกิจแบบรับจ้างผลิต (OEM: original equipment manufacturer) ซึ่งผู้ประกอบการไทยสามารถยกระดับผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่รู้จักและเชื่อถือในรูปแบบอาหารสำเร็จรูปที่จำหน่ายตามร้านค้าปลีก (retail) ในต่างประเทศได้มากขึ้น ผ่านการเป็นธุรกิจที่ผลิตภายใต้แบรนด์สินค้าของตนเอง

  • นอกจากนี้ ผู้ประกอบการไทยอาจต้องเผชิญกับความท้าทายต่าง ๆ อาทิ

    • ราคาของวัตถุดิบที่ผันผวนจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงขึ้น
    • ค่าแรงขั้นต่ำที่อาจเพิ่มขึ้นและส่งผลต่อธุรกิจที่ยังใช้แรงงานอย่างเข้มข้น
    • ปัญหาของแรงงานไทย โดยเฉพาะการหลีกเลี่ยงงาน 3D (Dirty, Dangerous, Demanding) ทำให้ธุรกิจต้องพึ่งพิงแรงงานต่างชาติ โดยผลกระทบจากมาตรการจำกัดการเดินทาง ทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนแรงงานอยู่บ้างในช่วงที่วิกฤตคลี่คลายแล้ว (อย่างไรก็ดี วิกฤตโควิด-19 มีส่วนช่วยให้แรงงานไทยลดการหลีกเลี่ยงงาน 3D ได้มากขึ้น)
    • มาตรฐานการผลิตจะได้รับความสำคัญมากขึ้นในการส่งออกระหว่างประเทศ อาทิ ด้านสุขอนามัย สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG)
    • ความสามารถในการแข่งขันด้านราคาจากค่าเงินบาทที่แข็งกว่าประเทศคู่ค้าต่าง ๆ โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับบราซิลที่มีค่าเงินอ่อนมาก
    • พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เช่น เน้นอาหารเพื่อสุขภาพ (ลดโซเดียม) และอาหารที่มีมาตรฐานสุขอนามัยเพิ่มขึ้น
  • ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยจึงต้องปรับตัวอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับความท้าทายดังกล่าว อาทิ

    • เป็นผู้นำในการพัฒนา โดยให้ความสำคัญกับการเพิ่มผลิตภาพ และรักษามาตรฐานการผลิต เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่ต้องใช้ความประณีตยังเป็นจุดแข็งของผู้ประกอบการไทย
    • สำหรับกระบวนการผลิตที่ไม่จำเป็นต้องอาศัยแรงงานฝีมือ ควรนำเครื่องจักรมาใช้ทดแทนแรงงานให้มากขึ้น (automation) เพื่อการผลิตที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
    • ลดความเสี่ยงของธุรกิจ โดยการกระจายตลาดและผลิตภัณฑ์ (diversification) เพื่อสร้างโอกาสและกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ โดยผู้ประกอบการไทยไม่จำเป็นต้องทำแต่อาหารไทยเพื่อส่งออกแต่เพียงอย่างเดียว

ข้อเสนอแนะจากการเสวนาต่อภาครัฐ

  • ภาครัฐควรขยายและเน้นรูปแบบของการสนับสนุนส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป โดยบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ และทำงานร่วมกับภาคเอกชนมากขึ้น โดยเฉพาะการวิจัยและพัฒนากระบวนการผลิตและนวัตกรรมร่วมกับภาคเอกชน สำหรับตลาดทุกระดับ เพื่อสร้างโอกาสใหม่ ๆ และรองรับอุปสงค์ที่ยังไม่ได้รับการเติมเต็ม

    • ภาครัฐควรให้ความสำคัญกับงาน R&D ในผลิตภัณฑ์ทุกระดับ ตั้งแต่ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง (high-end research) เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน รวมทั้งผลิตภัณฑ์ระดับกลางและระดับล่างด้วย ซึ่งเป็นการผลิตในปริมาณมาก (mass production) เพื่อตอบโจทย์ให้กับธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs)
    • นอกจากการวิจัยด้านผลิตภัณฑ์แล้ว ภาครัฐควรเพิ่มการวิจัยเพื่อพัฒนาในเชิงกระบวนการผลิต (process) ให้มากขึ้นด้วย
    • หน่วยงานวิจัยของรัฐควรมีกระบวนการให้ทุนวิจัยและการเบิกจ่ายทุนวิจัยที่ทันการณ์และคล่องตัว เพื่อรองรับต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วได้ดีขึ้น
    • ควรส่งเสริมความร่วมมือกับภาคเอกชนที่มีศักยภาพในการนำผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการวิจัยนั้นไปจำหน่ายและทำการตลาดอย่างมีประสิทธิผล
  • ลดกฎระเบียบที่ไม่จำเป็น ซึ่งเป็นอุปสรรคและต้นทุนต่อผู้ประกอบการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการทำงาน/บริหารจัดการต้นทุน

ประเด็นเพิ่มเติม: อาหารที่ได้รับการรับรองมาตรฐานฮาลาล (Halal)
  • อาหารที่ได้รับการรับรองมาตรฐานฮาลาลมีแนวโน้มเติบโตได้ดี ตามการเติบโตของเศรษฐกิจและประชากรของประเทศที่นับถือศาสนาอสิลาม โดยผู้ประกอบการขนาดใหญ่ของไทยมีศักยภาพในการผลิตและปรับตัวได้ดี แต่ผู้ประกอบการขนาดเล็กต้องเร่งพัฒนาศักยภาพเพื่อรองรับอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น

  • ปัญหาอุปสรรคสำคัญของธุรกิจอาหารที่ได้รับการรับรองมาตรฐานฮาลาล ซึ่งต้องเร่งแก้ไข มีดังนี้

    1. ข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสำหรับผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดเล็ก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวไทยมุสลิม เนื่องจากมีเพียงธนาคารอิสลามเท่านั้นที่ดำเนินการได้ถูกต้องตามหลักศาสนา ซึ่งควรส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีช่องทางการเข้าถึงเงินทุนได้มากขึ้น
    2. กระบวนการการออกใบรับรองที่มีขั้นตอนยุ่งยาก ทั้งความไม่เพียงพอของหน่วยงานที่ออกใบรับรอง การต่ออายุใบรับรองหลายครั้งโดยไม่จำเป็นและสร้างอุปสรรคในกระบวนการการส่งออก ทำให้บางครั้งสินค้าถูกตีกลับ รวมถึงห้องตรวจปฏิบัติการที่มีอุปกรณ์และบุคลากรครบวงจรยังมีอยู่จำกัด ทำให้บางประเทศคู่ค้ายังไม่ยอมรับมาตรฐานฮาลาลของไทยและต้องตรวจมาตรฐานซ้ำ ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการส่งออกเพิ่มเติมสำหรับผู้ประกอบการ
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในการประชุมนี้ไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ หรือธนาคารแห่งประเทศไทย

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

โทรศัพท์: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

เงื่อนไขการให้บริการ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2568 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

เอกสารเผยแพร่ทุกชิ้นสงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

รับจดหมายข่าว PIER

Facebook
YouTube
Email