Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Thailand and the Middle-Income Trap: An Analysis from the Global Value Chain Perspective
Discussion Paper ล่าสุด
Thailand and the Middle-Income Trap: An Analysis from the Global Value Chain Perspective
ค่าเงินบาทผันผวน: “ตัวปรับสมดุล” หรือ “ตัวป่วน” เศรษฐกิจไทย
aBRIDGEd ล่าสุด
ค่าเงินบาทผันผวน: “ตัวปรับสมดุล” หรือ “ตัวป่วน” เศรษฐกิจไทย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Confidence and College Applications: Evidence from a Randomized Intervention
งานสัมมนาล่าสุด
Confidence and College Applications: Evidence from a Randomized Intervention
The Impact of Climate Change on Thai Households
งานสัมมนาล่าสุด
The Impact of Climate Change on Thai Households
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ
ป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรไทย
ประกาศล่าสุด
ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรไทย
Policy Forumsforums
QR code
Year
2022
2021
2020
2019
...
/static/eafbe8110de4f9a2e6af4223471a10cf/e9a79/thumb_20Dec2021.png
20 ธันวาคม 2564
20211639958400000
Discourses on Sustainability Series

ESG/Green Investment and Green Bond

Microsoft Teams

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2564 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ได้รับเกียรติจาก Professor Naoyuki Yoshino จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย Keio มาบรรยายในงาน Policy Forum: Discourses on Sustainability ในหัวข้อ “ESG/Green Investment and Green Bond”

Dr. Yoshino ได้กล่าวถึงความสำคัญของการการลงทุนที่ให้ความความสำคัญในเรื่องสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) อันเป็นส่วนหนึ่งของแผนการดำเนินการ Sustainable Development Goals (SDGs) ของ UN ซึ่งเป็นแผนการที่มีความมุ่งหวังในการยุติปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน เช่น การยุติความยากจน การยุติความหิวโหย และการรับมือกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นต้น

Dr. Yoshino ได้กล่าวว่า ในอดีต นักลงทุนจะพิจารณาจัดสรรการลงทุนจากสองปัจจัยได้แก่ ผลตอบแทนละความเสี่ยง แต่ปัจจุบันได้มีการเพิ่มปัจจัยด้าน ESG เข้ามา จึงทำให้การจัดสรรการลงทุนนั้นมีความซับซ้อนมากขึ้น และอาจทำให้การจัดสรรการลงทุนถูกบิดเบือนไปจากการลงทุนที่เหมาะสมอย่างแท้จริง เนื่องจากบริษัทต่าง ๆ อาจได้ผลการประเมินคะแนนด้าน ESG ที่แตกต่างกันตามหลักเกณฑ์ของบริษัทประเมินต่าง ๆ กล่าวคือ นักลงทุนที่ให้ความสำคัญกับ ESG มากจะจัดสรรเงินลงทุนให้กับบริษัทที่มีคะแนน ESG สูง มากกว่าบริษัทที่มีคะแนน ESG ต่ำ แม้ว่าทั้งสองบริษัทจะมีผลตอบแทนและความเสี่ยงที่ไม่แตกต่างกัน เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว คุณ Yoshino เสนอให้มีมาตรฐานในการจัดอันดับ ESG Rating และการจัดเก็บภาษีมลพิษในอัตราที่เท่ากันทุกประเทศ (identical international tax rate) ซึ่งจะทำให้นักลงทุนสามารถพิจารณาจัดสรรการลงทุนโดยไม่ต้องคำนึงถึงคะแนน ESG ซึ่งจะนำไปสู่การจัดสรรการลงทุนที่เหมาะสมพร้อมกับการบรรลุเป้าหมายความอย่างยั่งยืน

นอกจากนี้ Dr. Yoshino ได้กล่าวถึงการลงทุนในภาคพลังงาน โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ซึ่งพึ่งพาแหล่งพลังงานที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนใหญ่ เช่น น้ำมันและถ่านหิน และได้ชี้ให้เห็นถึงปัญหาของการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานระดับใหญ่ ได้แก่ แหล่งเงินทุนที่มีจำกัดเนื่องจากเป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนในเวลา 10–20 ปีซึ่งมากกว่าการลงทุนทั่วไป นอกจากนี้ ยังพบปัญหาความขัดแย้งของผลประโยชน์ระหว่างผู้ใช้งาน และผู้ลงทุน โดยผู้ใช้งานนั้นคาดหวังว่าจะได้ใช้บริการในราคาที่ไม่สูงมากนัก ในขณะที่นักลงทุนต้องการผลตอบแทนที่คุ้มค่า จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้อัตราความล้มเหลวของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชน (Public Private Partnership) ในภูมิภาคอยู่ในระดับที่สูง โดยในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว คุณ Yoshino ได้เสนอให้มีการใช้พันธบัตรโครงสร้างพื้นฐานที่มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ซึ่งในระยะยาวนั้นโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวจะก่อให้เกิดผลตอบแทนทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการใช้งาน จึงทำรัฐสามารถเก็บภาษีได้มากขึ้นเพื่อชดเชยกับผลตอบแทนของพันธบัตรที่ลดลงได้

สุดท้ายนี้ Dr. Yoshino กล่าวถึงการจัดตั้ง Hometown Investment Trust Fund ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการบริหารจัดการทรัพยากรในท้องถิ่นเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว เช่น การบริหารที่ดินในการติดตั้งแหล่งพลังงานทดแทน (เช่น กังหันลม หรือโซลาร์เซลล์) ซึ่งนอกจากจะผลิตไฟฟ้าใช้ในท้องถิ่นได้แล้วยังสามารถนำส่วนที่เหลือจากการใช้งานไปขายและให้ผลตอบแทนแก่เจ้าของทรัพย์สินได้อีกด้วย

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

  • เอกสารนำเสนอ
ชมคลิปวีดีโอ
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในการประชุมนี้ไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ หรือธนาคารแห่งประเทศไทย
Naoyuki Yoshino
Naoyuki Yoshino

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

โทรศัพท์: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

เงื่อนไขการให้บริการ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2566 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

เอกสารเผยแพร่ทุกชิ้นสงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

รับจดหมายข่าว PIER

Facebook
YouTube
Email