ถอดรหัสนโยบายการเงิน: สื่ออย่างไรให้เกิดประสิทธิผล?
บทความนี้กลั่นกรองเนื้อหาจากบทความ aBRIDGEd ฉบับเต็มเรื่อง “ถอดรหัสนโยบายการเงิน: สื่ออย่างไรให้เกิดประสิทธิผล?” และ Discussion Paper ฉบับเต็มเรื่อง "More Than Words: A Textual Analysis of Monetary Policy Communication"
นับเป็นเวลากว่า 17 ปีที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ดำเนินนโยบายการเงินโดยกำหนดอัตราเงินเฟ้อเป็นเป้าหมาย (Inflation targeting) ผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญอิสระ ได้ชี้ว่าไทยมีเสถียรภาพราคาในระดับดีเยี่ยม ซึ่งส่วนประกอบสำคัญของความสำเร็จดังกล่าวอยู่ที่ “ความโปร่งใสในการดำเนินนโยบาย” แม้ในระยะหลัง แวดวงธนาคารกลางเริ่มมีการถกเถียงกันมากขึ้นถึงความเหมาะสมของกรอบเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ และความเป็นไปได้ของการใช้กรอบเป้าหมายทางเลือกอื่น ๆ รวมถึงกรอบการดำเนินนโยบายการเงินที่ผนวกไปกับการดูแลเสถียรภาพระบบการเงินให้รัดกุมยิ่งขึ้น แต่ไม่ว่ากรอบการดำเนินนโยบายการเงินในอนาคตจะพัฒนาไปในรูปแบบใด ปัจจัยเชิงสถาบันในด้านความโปร่งใส (transparency) การสื่อสารต่อสาธารณะ (communication) และความรับผิดชอบ (accountability) จะยังคงเป็นสิ่งที่ผู้วางนโยบายจำเป็นต้องคำนึงถึงเสมอ เนื่องจากปัจจัยเชิงสถาบันเหล่านี้คือองค์ประกอบพื้นฐานของความน่าเชื่อถือ (credibility) ซึ่งเป็นหัวใจของการดำรงอยู่ของธนาคารกลาง...
[อ่านต่อที่ ThaiPublica]