
บทความนี้กลั่นกรองเนื้อหาจากบทความ aBRIDGEd ฉบับเต็มเรื่อง “ความแตกต่างของค่าจ้างระหว่างชายหญิงและผลของการมีลูกในประเทศไทย”
ความแตกต่างของค่าจ้างระหว่างชายหญิง (gender wage gap) มีแนวโน้มลดลงทั่วโลก โดยในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยก็เป็นประเทศหนึ่งที่สัดส่วนของความแตกต่างของค่าจ้างเฉลี่ยระหว่างชายหญิงเมื่อเทียบกับค่าจ้างเฉลี่ยของชายมีการลดลงอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือไปจากความแตกต่างของค่าจ้างระหว่างชายหญิงแล้วนั้น ประเด็นที่ค่อนข้างได้รับความสนใจในปัจจุบันคือความแตกต่างของค่าจ้างระหว่างแรงงานที่มีลูกและแรงงานที่ไม่มีลูก (parenthood wage gap) ในกรณีประเทศไทยพบว่า การมีลูกส่งผลกระทบทางลบต่อค่าจ้างของแรงงานหญิง (motherhood wage penalty) และแรงงานชาย (fatherhood wage penalty) โดยในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา แรงงานที่ไม่มีลูกจะมีระดับค่าจ้างเฉลี่ยที่สูงกว่าแรงงานที่มีลูก ซึ่งความแตกต่างของค่าจ้างนี้เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งผลกระทบเชิงลบต่อค้าจ้างของแรงงานที่มีลูกนี้ถือเป็นต้นทุนที่คุณพ่อคุณแม่ในไทยต้องแบกรับ ก่อให้เกิดคำถามว่า รัฐสามารถที่จะช่วงแก้ไขปัญหา บรรเทาการแบกรับต้นทุนนี้ได้อย่างไร และนโยบายช่วยเหลือคุณพ่อคุณแม่ที่มีอยู่ในปัจจุบันเพียงพอหรือไม่...
[อ่านต่อที่ ThaiPublica]