Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Sustainable Finance in Southeast Asia
Discussion Paper ล่าสุด
Sustainable Finance in Southeast Asia
ทางออกแก้หนี้แก้จนของคนไทย
PIER Blog ล่าสุด
ทางออกแก้หนี้แก้จนของคนไทย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Confidence and College Applications: Evidence from a Randomized Intervention
งานสัมมนาล่าสุด
Confidence and College Applications: Evidence from a Randomized Intervention
The Impact of Climate Change on Thai Households
งานสัมมนาล่าสุด
The Impact of Climate Change on Thai Households
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ
ป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
ประกาศรายชื่อผู้ได้รับทุนสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ประจำปี 2565 รอบที่ 2
ประกาศล่าสุด
ประกาศรายชื่อผู้ได้รับทุนสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ประจำปี 2565 รอบที่ 2
PIER Blogblog
QR code
Year
2022
2021
2020
2019
...
/static/5127c176f5e86234f53093dbfeefdd1b/e9a79/cover.png
22 กันยายน 2565
20221663804800000
PIER Digest Series

พฤติกรรมการปรับราคาของร้านค้าปลีกในสหรัฐ

พฤติกรรมการปรับราคาของร้านค้าปลีกในสหรัฐ

ทุกวันนี้ ร้านค้าปลีกเครือข่าย (chain stores)1 เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของคนทั่วไป ในประเทศไทย มีร้านสะดวกซื้อ (convenient stores) ที่เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายขนาดใหญ่ จำนวนมากกว่า 17,000 สาขาทั่วประเทศ2 ซึ่งยังไม่รวมถึงร้านค้าปลีกเครือข่ายประเภทอื่น ๆ เช่น ร้านขายยา หรือร้านขายสินค้าเฉพาะทางอื่น ๆ เป็นต้น

บทความนี้จะพูดถึงพฤติกรรมการปรับราคาของร้านค้าปลีกเครือข่ายในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเปรียบเทียบการปรับราคาเพื่อตอบสนองต่อปัจจัยด้านอุปสงค์และปัจจัยด้านต้นทุน งานวิจัยที่ผ่านมาพบว่า ราคาสินค้าในร้านค้าปลีกเครือข่ายในสหรัฐมักไม่ตอบสนองต่อปัจจัยด้านอุปสงค์ในพื้นที่ (local demand shocks) ซึ่งขัดแย้งกับทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่ทำนายว่าร้านค้าปลีกจะปรับราคาขึ้นตามอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นเพื่อให้ได้กำไรสูงที่สุด ซึ่งคำอธิบายหนึ่งของข้อค้นพบดังกล่าวคือ ร้านค้าปลีกเครือข่ายในสหรัฐมักกำหนดให้สินค้ารายการเดียวกันมีราคาเท่า ๆ กันในทุกสาขาทั่วประเทศ (uniform pricing)

งานวิจัย Butters et al. (2022) ศึกษาผลกระทบของปัจจัยด้านต้นทุน (cost shocks) ต่อราคาสินค้าในร้านค้าปลีกเครือข่ายของสหรัฐ โดยใช้การขึ้นอัตราภาษีสรรพสามิตเป็นกรณีศึกษา และเนื่องจากอัตราภาษีสรรพสามิตในสหรัฐมีช่วงเวลาของการปรับที่แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ผู้วิจัยจึงแบ่งร้านค้าปลีกเครือข่ายในสหรัฐ ออกเป็น 3 กลุ่มดังต่อไปนี้ กลุ่มแรกคือร้านค้าปลีกที่ได้รับผลกระทบโดยตรง (directly exposed) ซึ่งหมายถึงร้านค้าปลีกที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีการปรับขึ้นอัตราภาษีสรรพสามิต กลุ่มที่สองคือร้านค้าปลีกที่ได้รับผลกระทบทางอ้อม (indirectly exposed) หมายถึงร้านค้าปลีกที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ไม่มีการปรับขึ้นภาษี แต่อยู่ในเครือข่ายเดียวกันกับร้านกลุ่มแรก ส่วนกลุ่มสุดท้ายคือร้านค้าปลีกที่ไม่ได้รับผลกระทบ (unexposed) ได้แก่ร้านค้าปลีกที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ไม่มีการปรับขึ้นภาษีและไม่มีร้านที่ได้รับผลกระทบโดยตรงอยู่ในเครือข่ายเลย

จากการศึกษาพบว่า ร้านค้าปลีกเครือข่ายที่ได้รับผลกระทบโดยตรงมีการปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยอัตราการส่งผ่าน (pass-through rate) ของร้านค้าที่ได้รับผลกระทบโดยตรงมีค่าใกล้เคียง 1 ซึ่งหมายความว่า ร้านค้าปลีกส่งผ่านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเกือบทั้งหมดไปยังราคาสินค้า ส่วนราคาสินค้าในร้านค้าปลีกที่ได้รับผลกระทบทางอ้อมมีการเคลื่อนไหวที่ไม่แตกต่างจากร้านที่ไม่ได้รับผลกระทบ นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังพบอีกว่า เครือข่ายที่ได้รับผลกระทบมาก (โดยวัดจากสัดส่วนยอดขายในพื้นที่ที่มีการปรับอัตราภาษีต่อยอดขายรวมของเครือข่าย) มีการปรับราคาที่ไม่แตกต่างไปจากเครือข่ายที่ได้รับผลกระทบน้อย

โดยสรุป งานวิจัยของ Butters et al. (2022) มีข้อค้นพบที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

  1. ร้านค้าปลีกในสหรัฐมีการตอบสนองที่แตกต่างกันต่อปัจจัยด้านอุปสงค์และปัจจัยด้านต้นทุน
  2. ร้านค้าที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการปรับอัตราภาษีจะส่งผ่านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเกือบทั้งหมดไปยังราคาสินค้า ส่วนร้านค้าที่ได้รับผลกระทบทางอ้อมไม่มีการปรับราคาอย่างมีนัยสำคัญ
  3. เครือข่ายร้านค้าปลีกที่ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราภาษีมากมีการปรับราคาสินค้าที่ไม่แตกต่างจากเครือข่ายร้านค้าปลีกที่ได้รับผลกระทบน้อย

เอกสารอ้างอิง

Butters, R. A., Sacks, D. W., & Seo, B. (2022). How Do National Firms Respond to Local Cost Shocks? American Economic Review, 112(5), 1737–1772.

  1. ร้านค้าปลีกเครือข่ายหมายถึงกลุ่มร้านค้าปลีกที่มีเจ้าของร่วมกัน ใช้ชื่อร้านเดียวกัน ขายสินค้าประเภทเดียวกัน และมีการดำเนินธุรกิจเหมือน ๆ กัน↩
  2. ที่มา: วิจัยกรุงศรี “แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรมปี 2564–2566: ธุรกิจร้านค้าปลีกสมัยใหม่”↩
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความนี้เป็นความเห็นของผู้เขียน ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
อาชว์ ปวีณวัฒน์
อาชว์ ปวีณวัฒน์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

โทรศัพท์: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

เงื่อนไขการให้บริการ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2566 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

เอกสารเผยแพร่ทุกชิ้นสงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

รับจดหมายข่าว PIER

Facebook
YouTube
Email