Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
Discussion Paper ล่าสุด
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
aBRIDGEd ล่าสุด
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
งานประชุมเชิงปฏิบัติการต่อไป
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
งานสัมมนาล่าสุด
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ
ป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
ประกาศล่าสุด
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
Policy Forumsforums
QR code
Year
2025
2022
2021
2020
...
/static/31827cd8750e10893274ff2518d2f8c8/e9a79/image.png
10 มีนาคม 2564
20211615334400000

Thailand’s Pension Reform: Towards an Inclusive, Adequate and Sustainable Pension System

ห้องปัญญาไพศาล อาคาร 2 ชั้น 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย

กำหนดการ

8:30ลงทะเบียน
9:00
กล่าวต้อนรับ
โดย
กฤษฎ์เลิศ สัมพันธารักษ์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
กล่าวเปิดงาน
โดย
Graeme Buckley
ILO Director, Country Office for Thailand, Cambodia, and Lao PDR
บริบทรายได้ยามชราภาพของประเทศไทย
ประธาน: จินางค์กูร โรจนนันต์ (สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ)
9:15
ภาพรวมและความท้าทายระบบบำเหน็จบำนาญของไทยในปัจจุบัน
Presentation
โดย
วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Trends in Global Pension Reform — What are the lessons for Thailand
Presentation
โดย
Simon Brimblecombe
ILO
10:15พักรับประทานอาหารว่าง
ข้อเสนอต่าง ๆ เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนระบบรายได้ผู้สูงอายุของไทย
ประธาน: ทิตนันท์ มัลลิกะมาส (ธนาคารแห่งประเทศไทย)
10:30
Putting an economic framework into Thailand’s pension reform
DocumentPresentation
โดย
นฎา วะสี
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
Proposals for a more inclusive, adequate and sustainable pension system in Thailand
thenPresentation
โดย
Nuno Cunha
ILO
Pension Provision in Thailand: Rethinking old age income support in a rapidly aging society
Presentation
โดย
Robert Palacios
World Bank
ข้อเสนอของภาคส่วนอื่น ๆ
Presentation
โดย
พีรพัฒน์ วงศ์ชัยวัฒน์
ธนาคารแห่งประเทศไทย
บทวิจารณ์
Presentation
โดย
วรเวศม์ สุวรรณระดา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
12:00พักรับประทานอาหารกลางวัน
13:30
เสวนาในหัวข้อ อนาคตของระบบรายได้ผู้สูงอายุของประเทศไทย
ผู้ดำเนินการเสวนา
ถาวร สกุลพาณิชย์
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
15:00พักรับประทานอาหารว่าง
15:15
สรุปประเด็นสำคัญ
โดย
Simon Brimblecombe
ILO
15:45
กล่าวปิดงาน
โดย
กฤษฎ์เลิศ สัมพันธารักษ์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

บทสรุป

Thailand’s Pension Reform: Towards an Inclusive, Adequate and Sustainable Pension System

ประเทศไทยเป็นประเทศอันดับต้น ๆ ของโลก ที่กำลังเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างรวดเร็ว จากการประมาณการของ UN สัดส่วนของประชากรที่อายุ 60 ปีขึ้นไป จะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 19 ในปี พ.ศ. 2563 เป็นร้อยละ 39 ในปี พ.ศ. 2583 แม้ในปัจจุบันประเทศไทยมีระบบรายได้ผู้สูงอายุที่จัดการโดยภาครัฐอยู่หลายระบบ ทั้งที่เป็นระบบประกันสังคม ระบบบัญชีเงินออมเพื่อเกษียณอายุ และระบบเงินช่วยเหลือ แต่ก็พอเป็นที่ทราบว่า สำหรับผู้สูงอายุหลาย ๆ กลุ่ม รายได้จากระบบเหล่านี้เพียงแหล่งเดียว ยังไม่พอยังชีพและยังต้องพึ่งพาเงินช่วยเหลือจากลูกหลาน อย่างไรก็ดี การที่คนไทยอายุยืนยาวขึ้น มีลูกน้อยลง และอยู่กันเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น การอาศัยลูกหลานน่าจะเป็นไปได้ยากขึ้นในอนาคต ดังนั้น ระบบรายได้ยามชราภาพที่จัดการโดยภาครัฐจำเป็นต้องเข้ามามีบทบาทมากขึ้น

ภาพแสดงระบบรายได้ผู้สูงอายุต่าง ๆ ของประเทศไทย

image

ที่มา: International Labour Organization (ILO)

ภาพด้านบน แสดงระบบรายได้ยามชราภาพของไทยในปัจจุบัน ซึ่งแกนนอนแบ่งตามแรงงานกลุ่มต่าง ๆ ส่วนแกนตั้งเป็นการประมาณการผลตอบแทนที่ได้รับ เรามีเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ (Old Age Allowance) สำหรับบุคคลสัญชาติไทยที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปทุกคน ยกเว้นเพียงกลุ่มข้าราชการซึ่งมีระบบของตนเองแยกออกมาและได้รับเงินบำนาญในระดับที่ค่อนข้างสูงกว่ากลุ่มอื่น เรามีสำนักงานประกันสังคม (Social Security Office – SSO) ซึ่งรับผิดชอบระบบประกันสังคมภาคบังคับ (มาตรา 33) สำหรับลูกจ้างเอกชนในระบบ และระบบประกันสังคมภาคสมัครใจ ซึ่งแบ่งเป็นมาตรา 39 สำหรับลูกจ้างที่เคยอยู่ในระบบ และมาตรา 40 สำหรับลูกจ้างนอกระบบ นอกจากนี้ ลูกจ้างนอกระบบที่ไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ยังสามารถเลือกเข้าร่วมกองทุนการออมแห่งชาติ (National Savings Fund - NSF) อย่างไรก็ตาม ระบบต่าง ๆ ในภาพมีการบริหารจัดการที่ค่อนข้างแยกส่วน (fragmented systems) เพราะแต่ละระบบอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานของรัฐคนละหน่วยงาน

ที่ผ่านมามีข้อเสนอจากหลายภาคส่วนเพื่อแก้ปัญหาความไม่เพียงพอของรายได้ยามชราภาพ ทั้งจากหน่วยงานของรัฐ สมาชิกสมาผู้แทนราษฎร และภาคประชาชน รวมถึงมีการเปิดรับฟังความคิดเห็น แต่ข้อเสนอเหล่านี้ มักจะมองที่ระบบบางระบบเท่านั้น อาทิ ข้อเสนอให้จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภาคบังคับสำหรับลูกจ้างในระบบ ข้อเสนอให้เพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขึ้นมาเท่าเส้นความยากจนของประเทศ ก่อนที่จะพิจารณาว่าข้อเสนอเหล่านี้ดีหรือไม่ เราขอย้อนกลับไปถามก่อนว่า โจทย์ใหญ่ของการออกแบบระบบรายได้ยามชราภาพที่จัดการโดยภาครัฐ แท้จริงแล้ว คือ อะไร จริง ๆ เรื่องโจทย์ใหญ่ของระบบรายได้ยามชราภาพ แทบจะเป็นโจทย์เดียวกันสำหรับทุกประเทศ นั่นคือ ทำอย่างไร ผู้สูงอายุทุกคนถึงจะมีรายได้ยามชราภาพเพียงพอต่อการยังชีพ ในขณะที่ตัวระบบเองก็มีความยั่งยืนทางการคลัง ซึ่งหมายความว่า รัฐต้องเข้ามาช่วยบริหารความเสี่ยงในการที่คนอาจจะอายุยืนยาวเกินกว่าเงินที่เก็บออมไว้ รวมถึงมีบทบาทในการช่วยกระจายรายได้เพื่อป้องกันไม่ให้ความเหลื่อมล้ำในช่วงวัยทำงานส่งต่อเป็นความยากจนเมื่อชราภาพ

ในงานเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2564 มีการเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในปัญหาดังกล่าว โดยมีการนำเสนอประเด็นและข้อเสนอในการปฏิรูปจากนักวิชาการสามกลุ่ม

  1. นฎา วะสี และคณะ
  2. Nuno Cunha และ Simon Brimblecombe ผู้เชี่ยวชาญจาก ILO และ
  3. Robert Palacios ผู้เชี่ยวชาญจาก World Bank

ผู้เข้าร่วมเสวนามีทั้งผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ ผู้ทำนโยบาย และตัวแทนฝั่งนายจ้างและลูกจ้าง ผู้นำเสนอทั้งสามกลุ่มมีความคิดเห็นคล้ายกันในหลายประเด็น แต่ต่างกันในรายละเอียด โดยสรุปได้ดังนี้

  1. การออกแบบระบบการจัดการรายได้ยามชราของภาครัฐจำเป็นต้องคิดแบบบูรณาการ ผู้สูงอายุหนึ่งคน สามารถมีรายได้ยามชราภาพจากหลายระบบ การจะแก้ปัญหาเรื่องรายได้ผู้สูงอายุไม่พอเพียง จึงต้องมองที่รายได้รวมจากทุกระบบ หากมองแบบแยกส่วน ก็จะไม่เห็นว่า การปรับระบบ ก. จะส่งผลกระทบต่อระบบ ข. หรือการสร้างระบบ ค. ขึ้นมาใหม่จะส่งผลกระทบทั้งระบบ ก. และระบบ ข. ที่มีอยู่ ข้อเสนอเกี่ยวกับการจัดตั้งระบบหรือกองทุนใหม่ที่ไม่ได้มีการวิเคราะห์ถึงผลต่อภาพรวมควรถูกเลื่อนออกไปก่อน ตัวอย่างเช่น หากจะจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภาคบังคับ ก็ควรจะมีการวิเคราะห์ให้รอบคอบว่า (1) การจัดตั้งกองทุนดังกล่าวจะกระทบระบบประกันสังคมอย่างไร และ (2) ข้อเสนอนั้นตอบโจทย์เรื่องความไม่เพียงพอของคนกลุ่มใดบ้าง คนกลุ่มรายได้น้อยได้หรือเสียประโยชน์อย่างไร

  2. ประเทศไทยมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะต้องมีวิสัยทัศน์ร่วมในเรื่องนโยบายระบบรายได้ผู้สูงอายุ โดยก้าวแรกอาจจะเป็นการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อวิเคราะห์ภาพใหญ่ของนโยบายระบบบำเหน็จบำนาญทั้งหมด โดยต้องมีกรอบความคิดใหญ่ซึ่งครอบคลุมระบบทั้งหมด และมีคนกลางควรจะมาช่วยตัดสินใจว่า ระบบที่มีอยู่ของไทยควรจะปรับหรือเพิ่มตรงไหน เพื่อให้ระบบต่าง ๆ ส่งเสริมเติมเต็ม ไม่ซ้ำซ้อน มีความเป็นธรรมและเกิดประโยชน์สูงสุดในภาพรวม การกระจายรายได้ ไม่ว่าจะเป็นในมิติระหว่างคนจนและคนรวย มิติระหว่างช่วงชีวิตของบุคคล และมิติระหว่างรุ่น สามารถทำได้โดยใช้เครื่องมือการกระจายรายได้ทั้งทางตรงและทางอ้อมร่วมกันในหลายรูปแบบ

  3. ทุกระบบรายได้ผู้สูงอายุของประเทศไทย ไม่ได้มีแนวคิดเกี่ยวกับมูลค่าของเงินที่ลดลงเมื่อเวลาผ่านไป ไม่ว่าจะเป็นผลตอบแทน เพดานเงินสมทบและเงินร่วมสมทบ การปรับตัวแปรเหล่านี้ให้เป็นมูลค่าจริง (Indexation) เป็นสิ่งจำเป็น และเป็นคุณลักษณะของระบบรายได้ยามชราภาพทั่วโลก ทั้งนี้ เพื่อให้บำเหน็จบำนาญเพียงพอต่อค่าครองชีพที่สูงขึ้น โดยการปรับมูลค่า มักจะเป็นการผูกตัวแปรเหล่านี้กับอัตราเงินเฟ้อและอัตราค่าจ้างเฉลี่ยของประเทศ การที่เพดานเงินสมทบของมาตรา 33 ไม่ได้ปรับขึ้นจาก 15,000 บาทต่อเดือน มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 ส่งผลให้รายรับของกองทุนอยู่ในระดับจำกัด และทำให้ผู้ประกันตนที่มีเงินเดือนสูงกว่า 15,000 บาท ได้รับบำนาญไม่มากนัก หากคนคาดว่าบำนาญที่ได้รับจะไม่เพียงพอ ก็ต้องไปหาทางเก็บออมทางอื่น ซึ่งแปลว่า เมื่อระบบของรัฐไม่สามารถทำหน้าที่ในการเป็นหลักประกันรายได้ยามชราภาพ บทบาทก็จะลดลงเรื่อย ๆ ในอนาคต

  4. ควรจะมีการปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์อีกหลายข้อของระบบประกันสังคมภาคบังคับ เพื่อให้ตัวระบบมีความยั่งยืนทางการคลัง เงินบำนาญเพียงพอ และตัวระบบมีความยุติธรรมมากขึ้น ILO เคยประเมินไว้ว่า หากกองทุนชราภาพไม่มีการปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์ของกองทุน จะมีความเป็นไปได้สูงที่ภายในปี พ.ศ. 2597 เงินของกองทุนชราภาพจะหมดลง เนื่องจากผู้ประกันตนรุ่นหลังมีอายุขัยที่ยืนยาวขึ้น ตัวระบบจำเป็นต้องค่อย ๆ ปรับเพิ่มอายุที่ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับบำนาญเต็ม โดยอาจจะมีการอนุญาตให้เกษียณอายุก่อนกำหนดและลดเงินบำนาญลงในอัตราที่เป็นธรรม เพราะถือว่ามีระยะเวลารับบำนาญที่ยาวกว่า นอกจากนี้ การคำนวณฐานรายได้เพื่อนำมาคิดเงินบำนาญ ควรใช้รายได้เฉลี่ยทั้งชีวิตการทำงานแทนการใช้รายได้เฉลี่ยจาก 60 เดือนสุดท้าย สูตรปัจจุบันนั้น ไม่ยุติธรรมสำหรับลูกจ้างกลุ่มที่มีรายได้ลดลงในช่วงท้าย ซึ่งอาจจะเป็นเพราะเจ็บป่วยจึงต้องลดชั่วโมงทำงาน หรือเป็นช่วงวิกฤตเศรษฐกิจพอดี

  5. การออกแบบระบบรายได้ยามชราภาพจำเป็นต้องเข้าใจตลาดแรงงานของประเทศนั้น ๆ แรงงานไทยมีรูปแบบการทำงานที่ค่อนข้างหลากหลาย แรงงานจำนวนไม่น้อยมีการโยกย้ายระหว่างการเป็นลูกจ้างในระบบและนอกระบบ หรือย้ายระหว่างราชการและเอกชน โดยสำหรับกลุ่มที่มีการย้ายข้ามระบบ หากระยะเวลาส่งสมทบของแต่ละระบบไม่ยาวนัก ก็มีแนวโน้มที่จะได้เพียงเงินบำเหน็จเท่านั้น ซึ่งเงินนี้ไม่น่าจะเพียงพอต่อการดำรงชีพในช่วงชีวิตที่เหลือ ประเทศไทยควรออกแบบระบบให้เอื้อต่อแรงงานไทยที่มีรูปแบบการทำงานที่หลากหลาย โดยอาจจะพิจารณาให้ระบบย่อยต่าง ๆ ประสานเชื่อมโยงกันได้มากขึ้น รวมถึงมีการสร้างแรงจูงใจที่สูงขึ้นสำหรับระบบที่เป็นการออมภาคสมัครใจ

  6. ควรมีการปรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขึ้น แต่อาจจะมีการพิจารณาว่าระดับที่เหมาะสมควรเป็นเท่าใด ทั้งนี้ เพื่อช่วยครัวเรือนสูงวัยที่ยากจนในรุ่นปัจจุบัน แต่สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุในอนาคต ระบบประกันสังคมและการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุควรเชื่อมโยงกัน เพื่อกลั่นกรองเงินช่วยเหลือให้ไปสู่เฉพาะผู้ที่ยังได้รับบำนาญไม่เพียงพอ ตัวอย่างเช่น หากระบบประกันสังคมปรับกฎเกณฑ์ให้เงินบำนาญของผู้ประกันตนส่วนใหญ่สามารถเป็นหลักประกันรายได้ คนกลุ่มที่ได้รับบำนาญจากประกันสังคมในระดับที่สูงแล้วก็ควรจะได้เบี้ยยังชีพในระดับที่ต่ำลงมา (tapered pension system) หรือหากเบี้ยยังชีพยังถูกกำหนดให้อยู่ในระดับที่เท่ากัน (แต่ไม่สูงนัก) รัฐอาจจะใช้วิธีที่สนับสนุนเงินร่วมสมทบให้คนกลุ่มรายได้ต่ำ (subsidized contribution) เพื่อให้ได้บำนาญจากระบบประกันสังคมมากขึ้น

นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญจาก ILO และ World Bank ยังให้ความเห็นว่าควรจะมีการปฏิรูประบบบำเหน็จบำนาญของข้าราชการ เนื่องจากค่าใช้จ่ายของระบบอยู่ในระดับสูงมาก และจะส่งผลต่อความยั่งยืนทางการคลัง โดยมีข้อเสนอว่าควรจะมีการค่อย ๆ ปฏิรูประบบบำเหน็จบำนาญของข้าราชการให้มีความสอดคล้องกับระบบประกันสังคมภาคบังคับ ทั้งนี้ เพื่อเอื้อให้เกิดการเคลื่อนย้ายในตลาดแรงงานได้ง่ายขึ้น และช่วยให้สิทธิประโยชน์บำเหน็จบำนาญสามารถถ่ายโอน (portability) ระหว่างระบบได้

ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในการประชุมนี้ไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ หรือธนาคารแห่งประเทศไทย
นฎา วะสี
นฎา วะสี
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
Nuno Cunha
Nuno Cunha
Simon Brimblecombe
Simon Brimblecombe

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

โทรศัพท์: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

เงื่อนไขการให้บริการ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2568 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

เอกสารเผยแพร่ทุกชิ้นสงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

รับจดหมายข่าว PIER

Facebook
YouTube
Email