งานวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของไทย: ช่องว่างความรู้ และโอกาสการพัฒนา

ผศ. ดร.จิรสรณ์ สันติสิริสมบูรณ์ ศูนย์วิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับภูมิภาคและพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้ฉายภาพการพัฒนาข้อมูลด้านสภาพภูมิอากาศ ดังนี้
แบบจำลองภูมิอากาศโลก ได้แก่ General circulation model (GCM) ที่จำลองการหมุนเวียนของทั้งภูมิอากาศและมหาสมุทร โดยใช้ความสัมพันธ์ทั้งทางฟิสิกส์และเชิงสถิติ ทั้งนี้ เพื่อให้มีกรอบการวิเคราะห์แบบจำลอง รวมถึงจัดหาฐานข้อมูลสำหรับใช้ในการจำลองภูมิอากาศ นักวิทยาศาสตร์ได้รวมกลุ่มภายใต้โครงการ Coupled Model Intercomparison Project (CMIP) และพัฒนาแบบจำลองเรื่อยมาตั้งแต่ CMIP1 จนถึง CMIP6 โดยตั้งแต่ปี 2014 ได้พัฒนาสถานการณ์จำลองการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกชุดใหม่ภายใต้สมมติฐานทางเศรษฐกิจและสังคม (Shared Socioeconomic Pathways (SSPs)) ที่แตกต่างกันรวมทั้งสิ้น 5 scenarios สำหรับการเก็บข้อมูลภูมิอากาศนั้น จะอยู่ในรูปแบบ Network Common Data Form (NetCDF)1
การย่อส่วนแบบจำลองภูมิอากาศโลก (downscaling) เพื่อให้แสดงผลสภาพภูมิอากาศได้ละเอียดยิ่งขึ้นลงไปในระดับท้องถิ่นและภูมิภาค จากพื้นที่การแสดงผลของ GCM ที่ระดับ 100–300 กิโลเมตร โดยวิธีการย่อส่วนมี 2 วิธีหลัก ๆ คือ (1) Statistical approach ที่อาศัยความสัมพันธ์เชิงเศรษฐมิติหรือสถิติระหว่างข้อมูล grid ขนาดใหญ่ กับข้อมูลสถานีตรวจวัด2 และ (2) Dynamical Approach ที่ใช้ความสัมพันธ์ทางฟิสิกส์เข้ามาช่วย แต่การทำ simulation จะใช้เวลานานและต้องอาศัยคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูง
ปัจจุบัน ภายใต้ความร่วมมือในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในโครงการ The Southeast Asia Regional Climate Downscaling (SEACLID) / Coordinated Regional Climate Downscaling Experiment (CORDEX) ทำให้ได้ข้อมูลภูมิอากาศความละเอียดสูงที่ใช้ GCM หลายแบบจำลองสำหรับทำ downscaling โดยใน phase แรก ได้ข้อมูลที่ละเอียดถึงระดับ 25x25 กิโลเมตร ครอบคลุมระยะเวลาตั้งแต่ปี 1970–2006 ส่วนใน phase ที่สอง มีความพยายามที่จะทำให้ละเอียดยิ่งขึ้นถึงระดับ 5x5 กิโลเมตร
ทั้งนี้ Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) ได้รวบรวบข้อมูลดังกล่าวและจัดทำ Interactive Atlas ที่ครอบคลุมทั้งโลก โดยผู้ใช้สามารถเลือกแบบจำลอง Scenario ช่วงเวลาเพื่อดูข้อมูลสภาพภูมิอากาศ เช่น อุณหภูมิ ปริมาณฝน เป็นต้น ด้านการเผยแพร่ข้อมูลของไทยมี The Southeast Asia Regional Climate Change Information System (SARCCIS) เป็นศูนย์ข้อมูลกลางเพื่อเผยแพร่ข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยทั้งข้อมูลภูมิอากาศโลกและข้อมูลย่อส่วนที่อาศัยแบบจำลอง GCM และ scenario ที่มีความหลากหลาย นอกจากนั้น ได้มีการพัฒนา risk map ที่แสดงความเสี่ยงต่อ extreme climate event เชิงพื้นที่สำหรับแต่ละจังหวัดให้กับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)
ดร.อัศมน ลิ่มสกุล กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ได้นำเสนอปัญหาและช่องว่าง (gap) ต่าง ๆ ของระบบนิเวศน์วิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของไทย ซึ่งมี 6 องค์ประกอบ
- นักวิจัย เครื่องมือ โครงสร้างพื้นฐาน และผลงานที่นักวิจัยสร้างมา
- ไม่มีฐานข้อมูลกลางด้านนักวิจัยที่จัดเก็บเป็นระบบ ทำให้ไม่สามารถวิเคราะห์ความสามารถของนักวิจัยที่สอดคล้องกับความต้องการ
- จำนวนผลงานวิจัย และนักวิจัยไทยที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลยังน้อย เทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน
- ยังไม่มีการสนับสนุนให้ทุนเพื่อเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานวิจัยด้านนี้
- ผลงานวิจัยที่เกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีมีน้อย
- ยังไม่มีการวิเคราะห์ผลงาน งบประมาณ และการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยที่ผ่านมา
- ผู้จัดการงานวิจัย ไม่มีหน่วยงานที่เป็นมืออาชีพเพื่อจัดการงานวิจัยอย่างเป็นระบบ รวมถึงผลักดันไปสู่การใช้ประโยชน์
- หน่วยงานของรัฐที่สนับสนุนงานวิจัย / หน่วยให้ทุน ประเด็นด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ยังไม่ได้ถูกระบุเป็นประเด็นสำคัญในยุทธศาสตร์วิจัย ไม่ได้รับความสำคัญในการให้ทุนวิจัย
- ผู้กำหนดนโยบาย ไม่มีกระบวนการแปลงเป้านโยบายออกมาเป็นโจทย์วิจัย
- ผู้สื่อสาร / แปลงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ให้เข้าใจง่าย การสื่อสารข้อมูล แม้จะออกมาในรูปแบบต่าง ๆ แต่ยังไม่มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบและครอบคลุม
- ภาคเอกชน
- ยังไม่มีความชัดเจนในการดำเนินงานวิจัย ขาดกลไกในการเพิ่มความร่วมมือจากภาคเอกชน
- ขาดการสนับสนุนการมีส่วนร่วมจากภาคเอกชน ในการตั้งโจทย์วิจัยและเป้าประสงค์
ทั้งนี้ ดร.อัศมน ได้ให้ตัวอย่างโจทย์วิจัยเร่งด่วน ได้แก่ การพัฒนานิเวศวิจัยด้านแบบจำลองสภาพภูมิอากาศของไทย เนื่องจากยังขาดแบบจำลองของไทย ขาดการบูรณาการระหว่างนักวิจัยเอง ขณะที่นักวิจัยก็มีน้อยและมีความเชี่ยวชาญไม่เพียงพอ อีกทั้งขาดความต่อเนื่องในการให้ทุนสนับสนุน นอกจากนี้ ยังได้แนะนำให้ศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการตัดตั้งสถาบันวิจัยกลางในด้านนี้
เข้าร่วมเสวนาได้ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะที่ประโยชน์เกี่ยวกับช่องว่างต่าง ๆ ในระบบนิเวศน์งานวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศไทย โดยมีประเด็นสำคัญคือเรื่อง ความต่อเนื่องของการให้ทุนวิจัย การขาดแคลนและการผลิตนักวิจัย รวมถึงความต้องการ Platform กลางด้านการจัดการงานวิจัยและข้อมูล รายละเอียดมีดังต่อไปนี้
- เสนอให้มี Platform ข้อมูลกลางที่ไม่ technical เกินไป เพื่อให้แต่ละศาสตร์ได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน เอื้อต่อกลุ่มผู้ใช้ที่มีหลายระดับ ไม่ใช่แค่นักวิจัยเฉพาะด้าน อีกทั้งเป็นคลังความรู้ด้านงานวิจัยของประเทศ
- ปัจจุบัน ยังไม่มี platform กลาง หรือ website ที่รวบรวมข้อมูล climate ทั้งหมดว่าอยู่ที่ไหนบ้าง ปัจจุบัน สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.) ได้จัดทำคลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ โดยมีเครือข่ายกว่า 60–70 แห่ง และเปิดให้สมาชิกเครือข่าย download ข้อมูลมาใช้ได้
- ในอดีต ภายใต้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จะให้ทุนแบบ multi-year และมีหัวหน้าชุดโครงการกำหนดทิศทางงานวิจัยให้มีความต่อเนื่อง ปัจจุบัน สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) หรือหน่วยงานอื่น ให้ทุนแบบปีต่อปี อีกทั้งหน่วยงานที่ให้ทุนมีแนวโน้มที่จะไม่อนุมัติในกรณีที่ผู้วิจัยเคยได้รับทุนวิจัยไปแล้วในปีก่อน ทำให้นักวิจัยต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนในเรื่องทุนวิจัย รวมถึงโครงการขาดความต่อเนื่องในการสนับสนุน ดังนั้น งานวิจัยที่มีลักษณะ multi-year หรือชุดโครงการขนาดใหญ่จึงมีน้อยลง รวมถึงหากงานวิจัยชาดช่วง ก็จะมีผลให้นักวิจัยไม่ทำต่อ
- ตัวอย่างที่น่าสนใจคือ Economic and Social Research Council (ESRC) Grant ที่อังกฤษ ที่สนับสนุนชุดโครงการใหญ่ที่เป็น multi-year และมีการบูรณาการนักวิจัยหลายสาขา มีโจทย์วิจัยที่ตอบโจทย์ระดับประเทศ
- เสนอให้มีหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการงานวิจัย ประสานกับหน่วยให้ทุน (funding agency) เพื่อลดขั้นตอนการดำเนินงานต่าง ๆ ของนักวิจัยเอง ในปัจจุบัน นักวิจัยต้องดำเนินการทุกขั้นตอน (เขียน proposal + จัดทำ progress report จนถึงสื่อสารงานวิจัย ซึ่งเป็นภาระกับนักวิจัยมาก)
- หน่วยงานกลางควรมีบทบาทในการสร้างความเข้าใจกับ funding agency ถึงบริบทด้านสภาพภูมิอากาศ และความต่อเนื่องของโครงการ
- เป็น platform ที่ช่วยสร้าง collaboration ระหว่างนักวิจัยกันเอง เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูล มีการกำหนดทิศทางการวิจัยที่ชัดเจน งานวิจัยไม่เป็นเบี้ยหัวแตกและไม่ทำซ้ำกัน
- Platform กลางนี้ ควรมาจากการรวมกลุ่มของนักวิจัยที่มีประสบการณ์ สมาคมของนักวิจัยเองต้องให้การยอมรับ รวมถึงมีบทบาทในการสร้างนักวิจัย
- นักวิจัยใหม่ ๆ มีน้อย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความไม่ชัดเจนใน career path
- เสนอให้มี center กลางที่ทำงานด้าน climate change โดยตรง ซึ่งประกอบด้วยทั้งส่วนที่ทำวิจัยและให้การศึกษา
- จำนวนของศักยภาพของนักวิจัยด้าน atmospheric science มีจำกัด ในไทยไม่มีมหาวิทยาลัยที่สอนด้านนี้โดยตรง จึงเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาต่อยอดแบบจำลอง ส่วนใหญ่จึงอาศัยการนำแบบจำลองจากนักวิจัยต่างประเทศมาใช้เท่านั้น
- หลักสูตรด้าน climate change ในมหาวิทยาลัยยังมีน้อย โดยจะเปิดเป็นวิชาเลือกในสาขาวิชาด้านวิทยาศาสตร์มากกว่า แต่ปัญหาสำคัญอยู่ที่ว่า แม้ภาคเอกชนมี demand ต่อบุคคลากรด้านนี้ แต่จะต้องการคนที่มีความรู้หลายแขนงมากกว่า ดังนั้น การพัฒนาหลักสูตรอาจต้อง serve หลายกลุ่มเป้าหมาย เช่น ต้องมีความรู้ด้าน social กับ governance ด้วย
- ภาคองค์กรและท้องถิ่นก็ต้องการเด็กที่มีความรู้หลายด้านเช่นกัน
- ในกรณีหลักสูตรบัณฑิตศึกษา มีปัญหาเรื่องงบประมาณสำหรับวิจัยถูกตัดทอน ซึ่งมีผลให้นักศึกษาปรับเปลี่ยนไปศึกษาด้านอื่น บัณฑิตที่จบด้าน climate change เลยมีจำกัด
- การเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีมุ่งสอน facts กว้าง ๆ จึงทำให้ไม่สามารถทำวิจัยเฉพาะด้านได้ ส่วนในระดับปริญญาโทและเอก ปัญหาสำคัญอยู่ที่ career path ไม่ชัดเจนนอกจากนี้ เนื้องานและผลตอบแทนอาจไม่น่าสนใจ
- การเปิดหลักสูตรทำได้ยาก เนื่องจากต้อง defend กับผู้บริหารมหาวิทยาลัยในมุม marketing ว่านักศึกษาจบใหม่จะได้อะไรและไปทำงานที่ไหน
- ข้อเสนอหนึ่ง คือ สถาบันการศึกษาอาจพิจารณาทำเป็นหลักสูตร diploma โดยผู้เรียนเป็นคนทำงานอยู่ในภาคเอกชน เนื่องจากภาคเอกชนสนใจด้าน SDG อยู่แล้ว จะได้ตอบโจทย์หน่วยงานโดยตรง ไม่ต้องกังวลเรื่อง career path
- การวิจัยด้านนี้ต้องอาศัยการ partner และทำงานร่วมกันระหว่างผู้รู้ด้าน climate change กับศาสตร์อื่น ๆ เพื่อช่วยในด้านการใช้ข้อมูลและแปรผลข้อมูล แต่ปัจจุบัน ยังมีงานวิจัยค่อนข้างน้อยที่เชื่อมโยง climate change กับสาขาอื่น ๆ ด้วยกัน
- เสนอให้มีการจัดทำฐานข้อมูลนักวิจัยที่มีการเปิดเผยชัดเจน
- บทบาทภาคเอกชน ภาคเอกชนน่าจะมีบทบาทมากในการบรรลุเป้าหมายของประเทศ แต่ต้องประเมินถึงกลไกที่จะทำให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วม หัวข้องานวิจัยที่เป็นประโยชน์ มีการกำหนดทิศทางงานวิจัยร่วมกัน และสร้าง alignment ระหว่างเป้างานวิจัยของรัฐและเอกชน
- อาจมองบทบาทของเอกชนในเรื่อง CSR ด้วย ภายใต้งบประมาณของรัฐบาลที่มีจำกัด เน้นความมีส่วนร่วมและรับผิดชอบร่วมกัน
- ความร่วมมือจากภูมิภาค เป็นเรื่องสำคัญ เพราะการปรับตัวต่อ climate change ต้องอาศัยหน่วยงานในพื้นที่ ต้องทราบว่าหน่วยงานไหนเป็นแกนหลักในแต่ละภูมิภาค และหน่วยงานกลางจะสนับสนุนได้อย่างไรบ้าง
- การสื่อสารงานวิจัยยังใช้ภาษา technical ดังนั้น จึงต้องแปลงข้อมูลให้เข้าใจง่าย เพื่อให้คนสามารถนำไปใช้หรือสื่อสารต่อได้ โดยเฉพาะสำหรับคนรุ่นใหม่ ที่ชอบใช้ social media อาจต้องปรับรูปแบบการนำเสนอให้เหมาะสม
กำหนดการ
9:00 | กล่าวต้อนรับ โดย | ||||
Setting up the context ประธาน: กฤษฎ์เลิศ สัมพันธารักษ์ (ที่ปรึกษา สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย)
| |||||
10:45 | Roundtable Discussion
ประธาน | ||||
12:00 | สรุปและจบงาน |